คลินิกภาษีการ์เม้นท์

“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต่การผลิตเส้นใย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อม และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่เติบโตอย่างมากในประเทศไทย มีทั้งกิจการขนาดเล็กในครอบครัว จนถึงระดับตั้งโรงงานผลิตเพื่อส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้านบาทต่อปี ซึ่งคุณอาจเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ และช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้ง่ายๆ ด้วยการช่วยกันเสียภาษีอย่างถูกต้อง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: พาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)
  ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน  
ลงทะเบียน Paperless   ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า   จัดทำรายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ จัดทำรายงานภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)  
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี   ยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ในธุรกิจการ์เม้นท์ เถ้าแก่หลายรายเริ่มต้นธุรกิจจากการนำเข้าในลักษณะซื้อมาขายไป จนร่ำรวย หรือนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่าย จนกระทั่งธุรกิจเติบโตจนสามารถส่งออกไปทั่วโลก แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น มีเรื่องสำคัญที่เถ้าแก่ทุกคนจะลืมไม่ได้คือ การจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจและชำระภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องซับซ้อนเกินความสามารถของนักธุรกิจไทยอย่างแน่นอน

เริ่มต้นเรื่อง "การ์เม้นท์"

การ์เม้นท์มีจุดเริ่มต้นไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ นั่นคือ การนับหนึ่งจากขั้นตอนการ จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 30 วัน นับแต่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการแบบใด เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มบุคคล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือ นิติบุคคล จากนั้นก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากร (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) เพียงเท่านี้ คุณก็พร้อมจะทำธุรกิจการ์เม้นท์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า ผลิต/จำหน่าย จนถึงการทำธุรกิจส่งออกก็ตาม

ก้าวสู่การเป็นเจ้าของโรงงาน "การ์เม้นท์"

สำหรับผู้ที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการ์เม้นท์โดยต้องการมีฐานะเป็นผู้ผลิตที่มีโรงงานเป็นของตนเอง สิ่งที่ตามมาหลังจากจดทะเบียนธุรกิจในนามนิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแล้วก็คือ การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามประเภทโรงงานของคุณ ซึ่งพิจารณาจากขนาดเครื่องจักรหรือจำนวนคนงาน

ส่วนขั้นตอนทางภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อคุณเดินเครื่องผลิตและเริ่มจำหน่ายสินค้าออกไป โดยในขั้นตอนนี้ภารกิจสำคัญของคุณคือการจัดทำรายงานภาษี ได้แก่ ภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และ การชำระภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย

ขยายความ

การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานการ์เม้นท์

โรงงาน หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิตประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมการ์เม้นท์ มีรายละเอียดประเภทของโรงงาน ดังนี้

  • โรงงานจำพวกที่ 1: เครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน ซึ่งไม่มีการฟอก ย้อมสี
  • โรงงานจำพวกที่ 2: เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน ซึ่งไม่มีการฟอก ย้อมสีและไม่จัดอยู่ในจำพวกที่ 1
  • โรงงานจำพวกที่ 3: เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50 คน หรือโรงงานทุกขนาดซึ่งมีการฟอกย้อมสี

การ์เม้นท์กับการ "นำเข้า"

หากคุณคิดเริ่มจับธุรกิจการ์เม้นท์ด้วยการนำเข้าสินค้าในกลุ่มสิ่งทอจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูป หลังจากที่คุณมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มขั้นตอนแรกของการนำเข้าได้เลย นั่นคือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่าน พิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศุลกากร

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เสื้อผ้า 62...... 30%
เครื่องนุ่งห่ม 62...... 30%
รองเท้า 64...... 30%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

ส่วนขั้นตอนทางภาษีสำหรับผู้นำเข้าในธุรกิจการ์เม้นท์นั้น ในพิธีการนำเข้าสินค้า คุณมีรายการที่ต้อง ชำระอากรขาเข้า/ได้รับยกเว้นภาษีอากรขาเข้า (ตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า) พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อซื้อมา-ขายไป หรือนำเข้าวัตถุดิบไปผลิตสินค้าจำหน่าย ขั้นตอนต่อไปก็คือการ ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ และ ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและสร้างรายได้ให้กับประเทศ

ขยายความ

การชำระภาษีอากรขาเข้า/ยกเว้นภาษีอากรขาเข้า

ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าการ์เม้นท์สามารถชำระภาษีอากรขาเข้า/ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าได้ ณ ที่ทำการศุลกากร หรือตัดบัญชีผ่านธนาคาร ระบบจะออกเลขที่ชำระอากรในใบนำเข้าสินค้า กรณีสินค้ายกเว้นอากรระบบจะออกเลขที่ยกเว้นอากรในใบขนสินค้าขาเข้าโดยอัตโนมัติ

ส่งออก "การ์เม้นท์" โกยเงินจากต่างแดน

ผู้ประกอบธุรกิจหลายรายอาจเริ่มมองหาตลาดส่งออกหลังทำตลาดในประเทศจนประสบความสำเร็จแล้ว แต่บางรายก็เริ่มต้นด้วยการเจาะตลาดต่างประเทศเลย เนื่องจากมองเห็นลู่ทางที่จะค้าขายกับต่างชาติ

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาขั้นตอนการส่งออก เมื่อคุณมีสินค้าพร้อมแล้ว คุณก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ง่ายๆ โดยเริ่มต้นที่ การลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนมาแล้วไม่ต้องทำการลงทะเบียนอีก) จากนั้นเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า ได้เลย แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้

มีรายได้จากกิจการ

เมื่อ "การ์เม้นท์" ของคุณวางจำหน่ายในตลาด หรือมีการส่งออกต่างประเทศ คุณก็จะมีรายได้จากธุรกิจ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ดังนี้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าการ์เม้นท์ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตสินค้าการ์เม้นท์ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าสินค้าการ์เม้นท์ รวมทั้งการซื้อวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายสินค้าการ์เม้นท์ของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือ คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ "การ์เม้นท์"

หากธุรกิจการ์เม้นท์ของคุณอยู่ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากนโยบายของกรมสรรพากรที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ SMEs โดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับ การชดเชยค่าภาษีอากร อีกด้วย

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ