ในการประกอบกิจการนอกเหนือจากความถนัดในวิชาชีพแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความรัก เฉกเช่น “ธุรกิจตุ๊กตาไม้” ที่ผู้ประกอบการหลายรายต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลงรักงานไม้ตั้งแต่วัยเยาว์ จากความชอบแปรรูปมาสู่งานศิลปะที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อีกทั้งยังได้สืบสานงานหัตถกรรมแบบไทยให้คงไว้ยังรุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วย
แต่เรื่องที่ไม่อาจะละเลยได้นั่นคือ การศึกษาเรื่องภาษี เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการเสียภาษีในระหว่างจัดตั้งธุรกิจและหลังจัดตั้ง ธุรกิจที่ถูกต้อง ถือเป็นการทำหน้าที่พลเมืองที่ดีในทุกๆ ปี ให้ภาษีที่เราเสียไปเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ และนำไปพัฒนาชาติบ้านเมือง
การนำเข้า | การผลิต | จำหน่าย | การส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายตุ๊กตาไม้เกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท) กับกรมสรรพากร | |||
ลงทะเบียน Paperless | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ลงทะเบียน Paperless | |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |||
ขออนุญาตนำเข้าไม้ | ขออนุญาตส่งออกฯ | ||
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขอยกเว้นและคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี |
ตุ๊กตาไม้หรืองานการแกะสลักไม้นั้นเป็นหัตถกรรมทำมือที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี และถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนคนไทยในแต่ละภาคและพื้นที่ ด้วยรูปแบบฝีมือและลวดลายที่สะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และสังคม ตุ๊กตาไม้แกะสลักส่วนใหญ่ผลิตมาจากไม้เนื้ออ่อนภายในประเทศ เช่น ไม้มะม่วง ไม้จามจุรี (ฉำฉา/ก้ามปู) ไม้สัก และอื่นๆ แต่สำหรับไม้สักนั้นในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครอง และมีราคาแพงมาก จึงไม่นิยมนำมาผลิตตุ๊กตาไม้แกะสลัก ยกเว้นประเภทเศษไม้สัก เช่น กิ่ง ราก จึงจะนำมาแกะสลักเป็นตุ๊กตาไม้
ผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาไม้แกะสลักนั้นสามารถแยกรูปแบบออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ตุ๊กตาไม้แกะสลักรูปคน ตุ๊กตาไม้แกะสลักรูปสัตว์ เช่น ม้า สุนัข แมว ปลา ฯลฯ และไม้แกะสลักอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน (จาน ชาม ถ้วย ช้อน ถาด ฯลฯ) ชนิดของผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาไม้แกะสลัก
ก่อนจะผลิตตุ๊กตาไม้คุณต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มประกอบกิจการ (ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์) และขอมี เลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ซึ่งปัจจุบันฐานข้อมูลนี้ ได้ถูกเชื่อมโยงกับ กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการติดต่อกับหน่วยงานราชการทั้ง 3 หน่วย
เรื่องที่ควรดำเนินการลำดับถัดไปคือ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณมีรายได้จากการขายตุ๊กตาไม้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือหากไม่เกินแต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือคาดว่าจะทำการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าของคุณ ก็สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน โดยมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
เรื่องของภาษีในขั้นตอนนี้ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่คุณต้องจัดทำ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และเก็บรักษาหลักฐานเพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษี ตามมาตรา 87 และ 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”
ผู้ที่จะส่งออกตุ๊กตาไม้ไปต่างประเทศได้ คือ ผู้ที่เป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร ดังนั้น สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อส่งข้อมูลจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบ Paperless พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน
ตุ๊กตาไม้จัดเข้าพิกัดอัตราอากรขาออก ภาค 3 ประเภทที่ 5 (ข) (1) ยกเว้นอากร การบรรจุสินค้าต้องดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น ควรปรึกษา หรือ ติดต่อ ตัวแทนออกของ (Customs Broker) ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร
ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
โดยทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ซึ่งคุณต้องจัดเก็บและรักษาเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ส่งข้อมูล
ทั้งนี้...
ตุ๊กตาไม้ จัดอยู่ในพิกัด 4421.90.99 ของที่ทำด้วยไม้ (อื่นๆ ) อัตราอากรขาเข้า 20%
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
รวมทั้งคุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า” “ส่งออก”
เมื่อมีผลกำไรเข้ามายังธุรกิจตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงแก่กรมสรรพากร นอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายตุ๊กตาไม้ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการขึ้นรูป แกะสลัก ขนส่ง หรือขั้นตอนอื่นๆ ของการผลิตตุ๊กตาไม้ คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องนำเข้าไม้ ซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต เช่น สิ่ว สี แลคเกอร์ ฯลฯ ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายตุ๊กตาไม้ของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
ธุรกิจร้านอาหาร” มีอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ จำ...
ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจ...
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดย...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทั้งเครื่องดื่ม...ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...