คลินิกภาษีเครื่องทองโบราณ

เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99% นำมาผลิตเป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์แบบไทยโบราณ ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นเครื่องประดับสำหรับตกแต่งร่างกายและเสื้อผ้าอาภรณ์ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ จี้ ทับทรวง แหวน กำไล ต่างหู ปิ่น ฯลฯ หรือใช้เป็นเครื่องตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ สถาปัตยกรรมชั้นสูง และงานพุทธศิลป์ต่างๆ

การจะก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องทองโบราณ นอกจากต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือที่เป็นมรดกตกทอดแต่ครั้ง โบราณกาลแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษี” เพื่อให้ธุรกิจเครื่องทองโบราณดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน ปูทางไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
แจ้งประกอบการค้าทองคำ
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขออนุญาตนำเข้าทองคำ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี  
 
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

เริ่มต้นธุรกิจ "ทอง"

ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องทองโบราณต้องยื่นแบบ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ จากนั้น ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

และเมื่อคุณ "ขายสินค้า" ไม่ว่าจะประกอบกิจการค้าขายในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กรณีที่คุณมีรายรับไม่ถึงก็ยังสามารถ ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร

นอกจากนี้คุณยังต้อง แจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ ต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

เรื่องทองน่ารู้

กระบวนการผลิต "เครื่องทองโบราณ" นั้น... ใช้มือทั้งหมด เริ่มจากการใช้ทองคำ 99.99 เปอร์เซ็นต์ หลอมลงในรางเหลี่ยม รอให้แข็งเป็นแท่ง แล้วนำมารีดเป็นเส้นเพื่อนำไปถักเป็นสายสร้อย มีลวดลายที่ถักทอทองเส้นเล็กๆ หลากหลายลาย เช่น ลายถักโป่ง ลายสามเสา หรือตีทองให้เป็นแผ่น เพื่อตีลงบนรางโอที่มีรูกลมๆ ซึ่งเป็นแบบขึ้นทรงลูกประคำ จากนั้นเจาะรูที่หัวท้ายลูกประคำเพื่อร้อยเป็นสายสร้อย

ทั้งนี้ รูปทรงลูกประคำมีหลากหลายแบบ เช่น ทรงตะกร้อ ทรงลูกสน ทรงลูกมะยม และทรงลูกโคม ที่เลียนแบบมาจากโคมไฟโบราณ

เมื่อได้เส้นทองถักและลูกประคำลงยาแล้ว จึงนำมาร้อยและประกอบให้เป็นเครื่องประดับตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าจะชิ้นเล็กๆ อย่างแหวน ต่างหู กำไลข้อมือ สายสร้อย กรอบพระ หรือจะเป็นชิ้นใหญ่ตามที่ลูกค้าสั่งพิเศษ เช่น ทับทรวง รัดเกล้า กำไลแขน กระบังหน้า ไปจนถึงเครื่องประดับตามโบราณวัตถุและโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ทรงคุณค่าคู่บ้านคู่เมือง

ภาษี "ผู้ผลิต" เครื่องทองโบราณ

ระหว่างกระบวนการผลิตในธุรกิจเครื่องทองโบราณ มีภาษี 2 ประเภทหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณนั่นคือ

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ราคาของที่เราซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าผู้ประกอบการเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ผู้ประกอบการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ทุกครั้ง

นอกจากนี้ คุณต้องจัดทำ รายงานภาษีขาย เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน เมื่อสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแสดงกับกรมสรรพากรต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”

ภาษี "ผู้นำเข้า" ทองคำ

การจะเป็นผู้นำเข้าทองคำเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องทองโบราณ นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนกับหน่วยงานดังต่อไปนี้ เพื่อให้เป็นผู้นำเข้าทองคำที่ถูกต้อง

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง: ยื่นเรื่อง ขออนุญาตนำเข้าทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีก่อนจึงจะนำเข้ามาในประเทศได้
  • กรมศุลกากร : ผู้ประกอบการที่จะนำเข้าวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าใดๆ ก็ตาม ต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) จากนั้นจึงดำเนินการตาม พิธีการนำเข้าทางศุลกากร ที่ด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อและ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ อีกด้วย
รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เครื่องทองโบราณ 7114.19.00 20%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

เรื่องทองน่ารู้

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีความประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะกรณีที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณ ต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม แบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”

ภาษี "ผู้ส่งออก" เครื่องทองโบราณ

หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน

ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

เรื่องทองน่ารู้

ทองคำแท่ง 99.99% ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล LBMA (London Bullion Market Association) ส่วนทองคำแท่ง 96.5% ได้รับการรับรองตามมาตรฐานภายในประเทศ โดยสมาคมค้าทองคำ และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค

ทองคำ 99.9% กับทองคำ 96.5% แตกต่างกันที่เปอร์เซ็นต์ค่าความบริสุทธิ์ของทอง ถือว่าเป็นทองที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทั้งสองประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล โดยทองคำ 99.99% เป็นที่นิยมทั่วโลกในระดับสากล ส่วนทองคำ 96.5% เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากกว่า

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

เมื่อมีรายได้จากการจำหน่าย

การผลิตเครื่องทองโบราณออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ "นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย" "ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก" หรือ "เป็นผู้ส่งออก" สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องทองโบราณ ดังนี้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เครื่องทองโบราณ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตเครื่องทองโบราณ ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น พนักงานขาย กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ