เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99% นำมาผลิตเป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์แบบไทยโบราณ ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นเครื่องประดับสำหรับตกแต่งร่างกายและเสื้อผ้าอาภรณ์ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ จี้ ทับทรวง แหวน กำไล ต่างหู ปิ่น ฯลฯ หรือใช้เป็นเครื่องตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ สถาปัตยกรรมชั้นสูง และงานพุทธศิลป์ต่างๆ
การจะก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องทองโบราณ นอกจากต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือที่เป็นมรดกตกทอดแต่ครั้ง โบราณกาลแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษี” เพื่อให้ธุรกิจเครื่องทองโบราณดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน ปูทางไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
แจ้งประกอบการค้าทองคำ | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ลงทะเบียน Paperless | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ขออนุญาตนำเข้าทองคำ | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
|
| ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องทองโบราณต้องยื่นแบบ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ จากนั้น ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และเมื่อคุณ "ขายสินค้า" ไม่ว่าจะประกอบกิจการค้าขายในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กรณีที่คุณมีรายรับไม่ถึงก็ยังสามารถ ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร
นอกจากนี้คุณยังต้อง แจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ ต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
กระบวนการผลิต "เครื่องทองโบราณ" นั้น... ใช้มือทั้งหมด เริ่มจากการใช้ทองคำ 99.99 เปอร์เซ็นต์ หลอมลงในรางเหลี่ยม รอให้แข็งเป็นแท่ง แล้วนำมารีดเป็นเส้นเพื่อนำไปถักเป็นสายสร้อย มีลวดลายที่ถักทอทองเส้นเล็กๆ หลากหลายลาย เช่น ลายถักโป่ง ลายสามเสา หรือตีทองให้เป็นแผ่น เพื่อตีลงบนรางโอที่มีรูกลมๆ ซึ่งเป็นแบบขึ้นทรงลูกประคำ จากนั้นเจาะรูที่หัวท้ายลูกประคำเพื่อร้อยเป็นสายสร้อย
ทั้งนี้ รูปทรงลูกประคำมีหลากหลายแบบ เช่น ทรงตะกร้อ ทรงลูกสน ทรงลูกมะยม และทรงลูกโคม ที่เลียนแบบมาจากโคมไฟโบราณ
เมื่อได้เส้นทองถักและลูกประคำลงยาแล้ว จึงนำมาร้อยและประกอบให้เป็นเครื่องประดับตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าจะชิ้นเล็กๆ อย่างแหวน ต่างหู กำไลข้อมือ สายสร้อย กรอบพระ หรือจะเป็นชิ้นใหญ่ตามที่ลูกค้าสั่งพิเศษ เช่น ทับทรวง รัดเกล้า กำไลแขน กระบังหน้า ไปจนถึงเครื่องประดับตามโบราณวัตถุและโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ทรงคุณค่าคู่บ้านคู่เมือง
ระหว่างกระบวนการผลิตในธุรกิจเครื่องทองโบราณ มีภาษี 2 ประเภทหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณนั่นคือ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ราคาของที่เราซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าผู้ประกอบการเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ผู้ประกอบการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ทุกครั้ง
นอกจากนี้ คุณต้องจัดทำ รายงานภาษีขาย เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน เมื่อสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแสดงกับกรมสรรพากรต่อไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”
การจะเป็นผู้นำเข้าทองคำเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องทองโบราณ นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนกับหน่วยงานดังต่อไปนี้ เพื่อให้เป็นผู้นำเข้าทองคำที่ถูกต้อง
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เครื่องทองโบราณ | 7114.19.00 | 20% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีความประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะกรณีที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณ ต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม แบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”
หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน
ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
ทองคำแท่ง 99.99% ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล LBMA (London Bullion Market Association) ส่วนทองคำแท่ง 96.5% ได้รับการรับรองตามมาตรฐานภายในประเทศ โดยสมาคมค้าทองคำ และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
ทองคำ 99.9% กับทองคำ 96.5% แตกต่างกันที่เปอร์เซ็นต์ค่าความบริสุทธิ์ของทอง ถือว่าเป็นทองที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทั้งสองประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล โดยทองคำ 99.99% เป็นที่นิยมทั่วโลกในระดับสากล ส่วนทองคำ 96.5% เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากกว่า
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
การผลิตเครื่องทองโบราณออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ "นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย" "ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก" หรือ "เป็นผู้ส่งออก" สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องทองโบราณ ดังนี้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เครื่องทองโบราณ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตเครื่องทองโบราณ ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น พนักงานขาย กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดย...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง ...
ธุรกิจร้านอาหาร” มีอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ จำ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
ของสะสม ของเก่า ของโบราณ จัดว่าเป็นสิ่งของที่มีอายุขัยมายาวนาน ซึ่งมีมูลค่าสูง
ห...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ธุรกิจร้านนวดแผนโบราณเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อเท่านั้น ไม่ครอบคลุม การนวดเพื่อ...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาห...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...