หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อมรอบภาชนะเซรามิกหรือเครื่องแก้วต่างๆ ผู้ผลิตต้องมีความรู้ในงานหัตถกรรมที่ต้องใช้ฝีมือและความประณีตสูง เพื่อให้ได้ผลงานที่ละเอียด พิถีพิถัน และสวยงาม ผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้นอกจากต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ "ภาษี" เพื่อให้ธุรกิจจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ยื่นจดทะเบียนสรรพสามิต | ลงทะเบียน Paperless | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ยื่นขอยกเว้นภาษี | ||
ชำระภาษีสรรพสามิต | แจ้งวันและเวลาทำการผลิต | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี | แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน | ขอยกเว้นภาษีสรรพสามิต | |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ยื่นแบบรายการและชำระภาษี | ออกใบกำกับภาษี | จัดทำรายงานภาษี |
จัดทำรายงานภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ||
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ / ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ลวดลายที่นิยมนำมาจักสานในงานหุ้มเซรามิกนี้มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีที่มาจากลายผ้าซิ่น ลายผ้าทอ และลายไทยต่างๆ งานจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายลักษณะ เช่น เครื่องประดับตกแต่ง ของใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นของที่ระลึก ของขวัญ ของฝากแก่ญาติสนิทมิตรสหายทั่วไป
ซึ่งก่อนอื่นผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกต้องยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
สำหรับกรณีที่คุณขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน เพียงเท่านี้คุณก็พร้อมเข้าสู่ธุรกิจเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกแล้ว
เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ/หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีสรรพสามิต จากนั้นแจ้งวันและเวลาทำการผลิต พร้อมแจ้งราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม จัดทำบัญชีและงบเดือนเพื่อแสดงรายการเกี่ยวกับวัตถุดิบ การผลิต การจำหน่ายและยอดคงเหลือสินค้า เมื่อจัดเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยให้ยื่นชำระภาษีสรรพสามิตภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจำหน่ายโดยมีหลักประกัน ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ทั้งนี้ ความเกี่ยวข้องกับ "ภาษีสรรพสามิต" ของกิจการเครื่องจักสานหุ้มเซรามิก ไม่ได้อยู่ที่ "เครื่องจักสาน" แต่เกิดกับ "เซรามิก" หรือ "เครื่องแก้ว" ที่คุณนำมาใช้ต่างหาก
ผลิตภัณฑ์แก้วและเครื่องแก้ว คือ แก้วที่มีส่วนประกอบของตะกั่ว (แก้วเลดคริสตัล) ใช้ทำเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งตกแต่งทั่วไป รวมถึงเครื่องใช้ที่ต้องการความสวยงาม เช่น ลูกปัด แจกัน นาฬิกา แก้ว เป็นต้น ประเภทของแก้วเลดคริสตัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณนำเครื่องแก้วเหล่านี้ไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า คุณสามารถขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตของเครื่องแก้วดังกล่าวได้ โดยต้อง
ส่วนขั้นตอนทางภาษีหลังจากที่คุณผลิตชิ้นงานเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกอออกมาวางจำหน่ายสร้างรายได้แล้ว ภารกิจสำคัญของคุณคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) การชำระภาษีเงินได้ และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
ธุรกิจ "เครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" นั้นถือเป็นงานศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นจึงไม่ได้มีการนำเข้าสินค้าประเภทนี้แบบสำเร็จรูป
แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายเช่นกันที่เลือกจะแตกต่าง ขอใช้วัตถุดิบบางอย่างจากต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตัวเอง ซึ่งหากคุณต้องการนำเข้าวัตถุดิบเช่นกัน นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนกับหน่วยงานดังต่อไปนี้ เพื่อให้เป็นผู้นำเข้าเครื่องแก้วที่ถูกต้อง
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วคิดเป็นอัตราร้อยละ 15 ของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ในกรณีที่ผู้ประกอบการนำเข้าเครื่องแก้วเข้ามาในประเทศ หลังจากยื่นจดทะเบียนภาษีสรรพสามิตแล้ว สามารถชำระภาษีได้ที่ด่านศุลกากรที่นำเข้า โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพสามิต
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
หัตถกรรมจักสานไม่ไผ่หุ้มเซรามิก | 6914.90.00 | 30% |
ไม้ไผ่ (จะผ่า เลื่อยตามยาว ฟอก ขัด หรือไม่ก็ตาม) | 1401.10.00 | ยกเว้นอากร |
ผลิตภัณฑ์เซรามิก | 6914.10.00 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียน Paperless กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน
ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และคุณยังอาจยื่นขอยกเว้น คืนภาษี หรือลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าส่งออกประเภทเครื่องแก้วได้ด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
เครื่องดื่มประเภท “น้ำชา” นอกจากช่วยดับกระหายคลายง่วงแล้ว ...
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐก...
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...