ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งการจะก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้ได้นั้น นอกเหนือจากความสามารถของชาวนาไทยแล้ว ธุรกิจ "โรงสีข้าว" ยังเป็นกระดูกสันหลังสำคัญที่ทำให้ไทยประสบความสำเร็จในการเป็นครัวโลก
ดังนั้น หากคุณต้องการเข้าสู่วงการโรงสีข้าว หรืออยู่ในธุรกิจนี้และต้องการให้โรงสีข้าวของคุณเติบโตอย่างเข้มแข็งมาก ขึ้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบเล็กๆ ที่เรียกว่า "ภาษี" ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของคุณยั่งยืนและยังช่วยพัฒนาประเทศอีกด้วย
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนพาณิชย์ | |||
ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน | |||
ขออนุญาตประกอบกิจการค้าข้าว | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก) | |||
ลงทะเบียน Paperless | ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ชำระอากรขาเข้า | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ / ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี |
ประเภทกิจกรรม ที่กิจการเกี่ยวข้อง |
กรมสรรพากร | กรมศุลกากร | กรมสรรพสามิต | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษีเงินได้ | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ภาษีธุรกิจเฉพาะ | อากรแสตมป์ | การนำเข้า | การส่งออก | ||||
กิจการโรงสีข้าว | บุคคลธรรมดา | นิติบุคคล | หัก ณ ที่จ่าย | ||||||
1. นำเข้าเครื่องจักรเพื่อผลิตและส่งออก และเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก | - | - | - | ||||||
2. สีข้าวบรรจุถุงขายในประเทศ | - | - | - | - | - | ||||
3. การขายผลพลอยได้จากการ สีข้าว , รับจ้างบรรทุก , เช่าโกดัง | - | - | - | - | - | ||||
4. รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ | - | - | - | - | - | - |
โรงสีข้าวเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ได้หลายทาง โดยมีรายได้หลักมาจาก
นอกจากนี้ ยังมีรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ ได้แก่ ค่าเช่าโกดังหรือคลังสินค้า การรับจ้างบรรทุกขนส่ง การขายผลพลอยได้จากการสีข้าว และรายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ "ภาษี" ที่สอดแทรกอยู่ในการทำธุรกิจแต่ละขั้น ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
การเริ่มต้นธุรกิจโรงสีข้าวมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวต้องจดพาณิชย์) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการในฐานะบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรืออาจรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ก็ได้
ขั้นที่ 2 ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ขั้นที่ 3 ขออนุญาตประกอบกิจการค้าข้าว กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
การแบ่งขนาดโรงสีข้าว สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ดูแล ดังนี้
เมื่อคุณดำเนินการทั้ง 3 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว อีกขั้นหนึ่งที่จะทำให้คุณมีธุรกิจโรงสีที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของรัฐรวมถึงรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างสะดวกก็คือ
แต่กรณีกิจการโรงสีข้าวนั้นคุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยกเว้นกรณีนำเข้าเครื่องจักรเพื่อผลิตและส่งออก และเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก) เว้นแต่คุณต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เพียงเท่านี้ ไม่ว่าคุณจะสีข้าวเพื่อจำหน่ายในประเทศ ส่งออก หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ก็สามารถทำได้แล้ว
หากธุรกิจโรงสีข้าวของคุณต้องเกี่ยวข้องกับการนำเข้า หลังจากที่คุณมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มขั้นตอนแรกของการนำเข้ากับกรมศุลกากรได้เลย นั่นคือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า โดยต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าขาเข้าให้ดีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้า เช่น การนำเข้าเครื่องจักร หรือการนำเข้าข้าวเปลือก
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ข้าวเปลือก | 1006.10.00 | 2.75 บาท/กิโลกรัม |
ข้าวกล้อง (ข้าวหอมมะลิไทย) | 1006.20.10 | 2.75 บาท/กิโลกรัม |
ข้าวหอม (ข้าวหอมมะลิไทย) | 1006.30.40 | 2.75 บาท/กิโลกรัม |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
เมื่อผ่านขั้นตอนตั้งต้นธุรกิจโรงสีข้าว และติดตั้งเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตหรือสีข้าว เพื่อจำหน่ายข้าวสาร รวมทั้งรับรู้รายได้อื่นๆ ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจโรงสี ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าวเปลือก ขายข้าวสารบรรจุถุง รับจ้างสีข้าว เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว หรือให้เช่าโกดัง รับจ้างบรรทุกขนส่ง ตลอดจนการขายผลพลอยได้จากการสีข้าว
ส่วนขั้นตอนทางภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคุณมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อรายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีคุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/ภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ คุณสามารถบรรเทาภาระภาษีได้ด้วยการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
โดยเมื่อมีรายได้จากกิจการโรงสีข้าว ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าวเปลือก ขายข้าวสารบรรจุถุง รับจ้างสีข้าว เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว หรือให้เช่าโกดัง รับจ้างบรรทุกขนส่ง ตลอดจนการขายผลพลอยได้อื่นๆ คุณจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังนี้
(สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ)
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต” “จำหน่าย”
ประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งเบื้องหลังที่สำคัญคือธุรกิจ "โรงสีข้าว" นั่นเอง และเมื่อจะส่งออกข้าว คุณต้องดำเนินการเหมือนขั้นตอนการนำเข้า โดยเฉพาะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่ต้องลงทะเบียน Paperless หากเคยทำการลงทะเบียนแล้ว (หากยังไม่เคยลงทะเบียน Paperless คุณต้องลงทะเบียนก่อน)
แล้วจึงเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า การผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกในระบบ e-Export ซึ่งจะต้องมีการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ด้วย
กิจการโรงสีที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องจดก่อนเริ่มประกอบกิจการ เพื่อประโยชน์ในการขอคืนภาษีซื้อ
ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้คำนวณจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ ในแต่ละเดือนภาษี
โดยหากมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ภาษีที่เหลือมีสิทธิขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบฯ โดยอาจขอคืนเงินสด หรือขอคืนเครดิตยกยอดไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป
ทั้งนี้ ข้าวเป็นสินค้าควบคุมการส่งออก ต้องมีใบอนุญาตและ/หรือหนังสือรับรองการส่งออกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงพาณิชย์)
ซึ่งมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ให้ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ทั้งที่เป็นข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวนึ่ง และรำ เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิด)
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”
ในบางครั้งโรงสีข้าวอาจมีรายได้อื่นๆ เช่น รายได้ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมาจากการให้กู้ยืมเป็นครั้งคราว แต่ไม่ได้เป็นการประกอบกิจการกู้ยืมอย่างจริงจัง ในกรณีนี้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3
นอกจากนี้ หากคุณเป็นกิจการโรงสีข้าวที่มีการทำตราสาร เช่น ทำสัญญาจ้างก่อสร้าง ต่อเติมโรงสีข้าว การให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงิน หรือให้เช่าทรัพย์สิน ฯลฯ คุณมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ด้วย
อากรแสตมป์สำหรับโรงสีข้าว ยกตัวอย่างเช่น สัญญาจ้าง จำนวนเงินทุก 1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท กรณีอื่นๆ ดูรายละเอียดตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเ...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
น้ำปลา เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร ได้จากการหมักปลากับเกลือ...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อ...
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...