ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperlesss | จดทะเบียนสรรพสามิต
- แจ้งวันเวลาทำการผลิต - แจ้งราคาขาย - ทำบัญชีประจำวัน และงบเดือน - ยื่นแบบรายการ และชำระภาษีสรรพสามิต |
ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ขอมาตรฐาน อย. | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ขออนุญาตนำเข้ากาแฟตาม พ.ร.บ.กักพืช | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขออนุญาตส่งออกกาแฟ กับกรมการค้าต่างประเทศ | |
รายงานข้อมูลต่อ ICO | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอมาตรฐาน อย. | |
ขอมาตรฐาน อย. | จัดทำรายงานภาษี | ||
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | ||
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ทำจาก "เมล็ดกาแฟคั่ว" ซึ่งได้มาจากต้นกาแฟ ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกต้นกาแฟมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทยนิยมปลูกกาแฟ 2 สายพันธุ์ คือ
การเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟเพื่อจำหน่าย หรือจะผลิตกาแฟสำเร็จรูป ไม่ว่าจะส่งขายในประเทศหรือส่งออกโกอินเตอร์ก็ตาม หน่วยงานภาครัฐที่ผู้ประกอบการจะต้องเข้าไปติดต่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจนั้น ก็คือ...
- กรมสรรพากร: ผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา และ/หรือนิติบุคคล จะต้อง "ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร" กับกรมสรรพากร ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรก เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเถ้าแก่ผลิตภัณฑ์กาแฟ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี และ การจัดทำรายงานภาษี เป็นต้น
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า: ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- กรมสรรพสามิต: ผู้ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์กาแฟจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วันก่อนเริ่มผลิตสินค้าและยื่นแบบรายการภาษีเพื่อชำระภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์กาแฟของคุณมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดคุณสามารถยื่นคำขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตนั้นได้
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: ผลิตภัณฑ์กาแฟแทบทั้งหมด คือ “อาหาร” ที่มีการบริโภคผ่านเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น จึงต้องเกี่ยวข้องกับองค์กร ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและรับรองมาตรฐานอาหารอย่าง “อย.” นั่นเอง
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
การจะเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟ เมล็ดกาแฟ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ นอกจาก การจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้ว คุณยังต้องเกี่ยวข้องกับองค์กรอื่นๆ อีกดังนี้
- กรมศุลกากร: ผู้ประกอบการที่จะนำเข้าวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าใดๆ ก็ตาม ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) จากนั้นจึงทำ พิธีการนำเข้าทางศุลกากร ตามด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ และต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ด้วย
รายการผลิตภัณฑ์กาแฟ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
กาแฟผสมได้ทันที | 2101.11.10 | 60% |
กาแฟสกัด หรือ หัวเชื้อ | 2101.11.90 | 60% |
กาแฟคั่ว บด | 0901.21.20 | 40% หรือ 4 บาท/กิโลกรัม |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
- กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์: ถ้าคุณใช้วัตถุดิบในการผลิตเป็นกาแฟจากต่างประเทศ คุณจะต้องยื่นคำร้องเพื่อขอรับ หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ก่อนการนำเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นชำระภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากร
"กาแฟ" มีรายละเอียดที่แตกต่างจากสินค้าอื่นตรงที่ กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดให้เป็น สินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
โดยในการส่งออกก็จะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับขององค์การกาแฟระหว่างประเทศ (International Coffee Organization: ICO) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้สมาชิกรายงานข้อมูลให้ ICO ทราบ ตามข้อบังคับขององค์การเพื่อติดตามสถานการณ์ส่งออกและนำเข้านั่นเอง
นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์โดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการกรมการค้าภายในประกาศกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม อีกด้วย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้กาแฟเป็น สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้วยเช่นกัน
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่าน "พิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก" กับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตคุณต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร และ ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก (แบบ Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน
ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากรตาม คู่มือพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e–Export) พร้อม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
และเนื่องจาก "กาแฟเป็นสินค้าควบคุมการส่งออก" ดังนั้น ก่อนจะส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟคุณจะต้องติดต่อกับกรมการค้าต่างประเทศเพื่อขออนุญาตส่งออกกาแฟ และยื่นตรวจสอบหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การอนุญาตให้ส่งออกกาแฟ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
การผลิตกาแฟออกจำหน่ายไม่ว่าจะ "นำเข้าเพื่อจำหน่าย" "ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก" หรือ "เป็นผู้ส่งออก" ทั้งกาแฟสดคั่ว หรือกาแฟสำเร็จรูปก็ตาม สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ดังนี้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์กาแฟ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตกาแฟ ไม่ว่าจะการปลูก คั่ว ผลิต บรรจุ ขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ หรือนำเข้าเมล็ดกาแฟ ผลิตภัณฑ์กาแฟ รวมทั้งการซื้อวัตถุดิบอื่น เช่น ปุ๋ย วัสดุอุปกรณ์ ห่อบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
และในกรณีที่มีรายรับจากการขายผลิตภัณฑ์กาแฟได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
ขนมเบเกอรี่” เป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกวัย ถ้าผู้ที่สนใจ ในธุรกิ...
ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาห...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
ธุรกิจร้านนวดแผนโบราณเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อเท่านั้น ไม่ครอบคลุม การนวดเพื่อ...