กำลังการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศมีประมาณ 70,000 กิโลกรัม/วัน ธุรกิจเส้นก๋วยเตี๋ยวจึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ ตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงาน การขนส่ง การจำหน่าย กระจายสู่ร้านค้า จนไปถึง ผู้บริโภค โดย "เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่ารายได้อยู่ในลำดับที่ 109 ของธุรกิจในภาคที่ 4 (ข้อมูลจาก ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ปี ภาษี 2555) โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรับจ้างผลิต (OEM) และผลิตให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทอดหนึ่ง ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ของไทยมียอดผลิตกว่า 1,200 ตัน/เดือน
ก๋วยเตี๋ยว...อาหารเส้น ช่วยสร้างอาชีพให้กับคนไทยในหลายๆ กลุ่ม ปัจจุบันอุตสาหกรรมก๋วยเตี๋ยวในประเทศไทย มีผู้ประกอบการกว่า 400 ราย ทั้งในระดับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีมูลค่าการบริโภคภายในประเทศเฉลี่ยต่อปีนับ 10,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกถึง 1,400 ล้านบาท
และยังมีธุรกิจสร้างรายได้อื่นๆ ที่เป็นห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่โรงงานผู้ผลิต ศูนย์กระจายสินค้าของโรงงาน ศูนย์กระจายสินค้าแบบสัมปทาน ร้านค้าส่ง/ปลีก (ยี่ปั๊ว) คนกลาง (broker) ร้านค้าปลีก (ซาปั๊ว) ครัวเรือน (ผู้บริโภค/ร้านขาย ก๋วยเตี๋ยว) ซึ่งการไหลผ่านของผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็นเส้นทางสร้างอาชีพที่ทำเงินได้มหาศาล
เส้นก๋วยเตี๋ยวจัดอยู่ในกลุ่มอาหารมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) สูง จึงเป็นอาหารที่เสียง่าย เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้น เส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วไปจึงมีอายุการเก็บรักษาได้ประมาณ 2-3 วันเท่านั้น
การควบคุมคุณภาพและการยืดอายุของเส้นก๋วยเตี๋ยวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจรายเล็ก รายใหญ่ รายย่อย ไม่ควรมองข้าม โดยอาจจะต้องพิจารณาตั้งแต่การไหลสินค้า เพื่อส่งตรงความอร่อยให้ลือเลื่องทั้งในและต่างประเทศอย่างรวดเร็ว ป้องกันและลดผลกระทบที่จะทำให้อายุของสินค้าเส้นสั้นลง
อย่างไรก็ตาม กระบวนการ "ภาษี" บนทาง "เส้นก๋วยเตี๋ยว" ที่คุณต้องจัดการและดำเนินการ... คือ
ทั้งนี้ เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
ระหว่างกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวนี้มีภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ คือ
ทั้งนี้ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ที่คุณจัดทำ จะใช้บันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละวัน และต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป และเมื่อสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแสดงกับกรมสรรพากรต่อไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
หากคุณคิดจับธุรกิจเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยการสร้างความต่างผ่านการ ‘นำเข้า’ สินค้าในกลุ่มเส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งข้าวเจ้า หรือวัตถุดิบอื่นๆ หลังจากที่คุณมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มขั้นตอนแรกของการนำเข้าได้เลย นั่นคือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศุลกากร
ส่วนขั้นตอนทางภาษีสำหรับผู้นำเข้าเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้น ในพิธีการนำเข้าสินค้าคุณมีรายการที่ต้องชำระอากรขาเข้า/ได้รับยกเว้นภาษีอากรขาเข้า โดยศึกษาพิกัดของสินค้าที่จะนำเข้าให้เข้าใจเพื่อนำมาคำนวณภาษีที่คุณจะต้องชำระ ทั้งนี้ พิกัดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเส้นก๋วยเตี๋ยวคือ พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภท 19.02
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เส้นก๋วยเตี๋ยว | 1902.30.20 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
นอกจากนี้คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อซื้อมา-ขายไป หรือนำเข้าวัตถุดิบไปผลิตสินค้าจำหน่าย ขั้นตอนต่อไปก็คือการยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ และยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปที่สำคัญของไทย จำแนกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ คือ
เส้นก๋วยเตี๋ยว-เส้นหมี่พร้อมปรุงหรือสำเร็จรูป | |
---|---|
ตลาดหลัก | คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ |
สหภาพยุโรป | 28.94% |
สหรัฐอเมริกา | 19.32% |
ลาว | 8.78% |
ฮ่องกง | 7.9% |
ออสเตรเลีย | 5.39% |
ส่วนคู่แข่งสำคัญในการส่งออกของไทยคือเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีความชำนาญด้านการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสูง อีกทั้งมีข้อได้เปรียบด้านแรงงานถูกกว่า ดังนั้น ใครที่กำลังเริ่มกิจการหรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่แล้ว จะต้องหันมาปรับปรุงหรือสร้างลักษณะพิเศษให้กับเส้นก๋วยเตี๋ยวของตัวเองเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเส้นก๋วยเตี๋ยวมีการแข่งขันทางการตลาดสูง และเนื่องจากการส่งออกต้องใช้ระยะทางและเวลาในการเดินทางนาน โดยที่สินค้าต้องการการเก็บรักษาที่ดี ทำให้มีการใช้สารถนอมอาหารมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องพึ่งวัตถุกันเสีย
แต่... เทคนิคง่ายๆ ในการคงความสดให้เส้นก๋วยเตี๋ยวระหว่างขนส่ง อาจแก้ได้โดยใช้ระบบการขนส่งที่ถึงมือผู้รับรวดเร็ว การขนส่งทางรถยนต์ที่มีการปกปิดมิดชิดของหลังคาและประตูรถ ควรมีช่องที่สามารถระบายอากาศได้ดี และจัดเรียงผลิตภัณฑ์ไม่ให้กดทับกัน เพื่อรักษาความสดของเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ดียิ่งขึ้น
ในการส่งออกสินค้าประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรส่งออก (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน
ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
เมื่อ "เส้นก๋วยเตี๋ยว" ของคุณวางจำหน่ายในตลาด หรือมีการส่งออกต่างประเทศ คุณก็จะมีรายได้จากธุรกิจ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ดังนี้
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
เครื่องดื่มประเภท “น้ำชา” นอกจากช่วยดับกระหายคลายง่วงแล้ว ...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง ...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย มักอยู่ตามตลาดหรือแหล่งชุมชน
โดยร้านขายของชำจะไปซื้อ...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...