คลินิกภาษีรีสอร์ท

ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจากธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างมากมายและรวดเร็ว หากคุณอยู่ในทำเลดีๆ และคิดจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ “รีสอร์ท” ก็นับเป็นช่องทางที่มีโอกาสสร้างเม็ดเงินได้ไม่น้อย ดังนั้น การลงทุนในธุรกิจรีสอร์ท เป็นการลงทุนที่น่าสนใจธุรกิจหนึ่ง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

  • ขออนุญาตจัดตั้งโรงแรม (รีสอร์ท)
  • ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (มีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)
  • จัดทำรายงานภาษี
  • ยื่นแบบภาษีเงินได้
  • ยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

**หมายเหตุ: กิจการ "รีสอร์ท" เป็นกิจการให้บริการ ไม่มีนำเข้า ส่งออก และจำหน่าย (จะมีเฉพาะมีการขายสินค้าภายในรีสอร์ทเท่านั้น)

Resort

รีสอร์ท (Resort) เป็นสถานที่พักตากอากาศสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การบริการส่วนใหญ่คล้ายกับโรมแรม แต่อาคารสถานที่จะกลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่า และลงทุนน้อยกว่า ทั้งยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นได้อีก อาทิ ธุรกิจ OTOP ธุรกิจสปา ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

ดังนั้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจทำเงินตัวนี้ ต้องลองศึกษาและทำความเข้าใจขั้นตอนการตั้งต้นธุรกิจและเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

เข้าสู่วงการธุรกิจ "รีสอร์ท"

ธุรกิจรีสอร์ทจัดเข้าลักษณะธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ซึ่งจะต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงแรม โดยคุณสามารถติดต่อยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงแรม (รีสอร์ท) ได้ที่อำเภอท้องที่ที่รีสอร์ทตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ) หรือขอรับทราบรายละเอียดได้ที่

  1. สำนักงานจังหวัด ซึ่งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
  2. กองตรวจราชการและเรี่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำหรับในเขตกทม. ติดต่อที่ กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จากนั้นจึงจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีโดยยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (หากรายได้ไม่เกินแต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน) เพียงเท่านี้คุณก็ก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจรีสอร์ทแล้ว

ขยายความ

  • ในกรณีที่รีสอร์ทของคุณมีบริการ "สปา" รวมอยู่ด้วย คุณต้องจดทะเบียนสรรพสามิต (สปา) กับกรมสรรพสามิต (ทั้งนี้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หน้า "คลินิกภาษีสปา")

โดยลักษณะสปาที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่

  1. เป็นสถานบริการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอาบ อบ นวด ตามมาตรา 3 (3) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 หรือ...
  2. มีอ่างอาบน้ำ หรือสถานที่อาบน้ำในห้องเดียวกันกับห้องให้บริการนวด ไม่ว่าจะมีการแยกสัดส่วนระหว่างส่วนที่มีอ่างอาบน้ำหรือสถานที่อาบน้ำกับส่วนให้บริการนวด โดยมีประตูกั้นหรือไม่ก็ตาม หรือ...
  3. จัดให้มีสถานที่ รูป หรือสื่อ เพื่อให้ผู้บริการสามารถเลือกผู้ให้บริการได้
  • ในกรณีธุรกิจให้บริการรีสอร์ทที่ไม่ได้ขายสินค้า จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่หาก รีสอร์ทของคุณมีการขายสินค้าด้วย คุณต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์กิจการตั้งใหม่ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย โดย...
  1. ต้องทำภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
  2. มีค่าธรรมเนียมจดทะเบียน 50 บาท
  3. ยื่นแบบคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นิติบุคคล) และสำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ
  4. ต่างจังหวัด ยื่นแบบฯ ได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา

"รีสอร์ท" มนต์เสน่ห์แห่งงานบริการ

มื่อคุณขออนุญาตจัดตั้งโรงแรม (รีสอร์ท) และได้ก่อสร้างตกแต่งรีสอร์ทอย่างสวยงามเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่รีสอร์ทของคุณจะเปิดให้บริการและสร้างรายได้กลับเข้ากระเป๋า ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีกระบวนการทางภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง คือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย (กรณีคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

และกรณีที่ธุรกิจรีสอร์ทของคุณมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพื่อให้เงินภาษีของคุณได้ช่วยพัฒนาท้องถิ่นและประเทศให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะท้ายที่สุดแล้วนักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลเข้ามาสร้างรายได้ให้กับธุรกิจรีสอร์ทของคุณอย่างต่อเนื่อง

ขยายความ

ภาษีรีสอร์ท

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากบริการ "รีสอร์ท" หรือจากการขายสินค้าใดๆ ในรีสอร์ท คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการให้บริการรีสอร์ทต้องมีการว่าจ้างแรงงาน พนักงาน และบุคลากรด้านต่างๆ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการคุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

ข่าวดีภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกัน "เสียภาษี" เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ