คลินิกภาษีเครื่องเบญจรงค์

“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สีสันและลวดลายต่างๆ ของเครื่องเบญจรงค์สะท้อนถึงความประณีตละเอียดอ่อนของช่างฝีมือไทย โดยปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ปรับเปลี่ยนจากงานหัตถศิลป์มาเป็น รูปแบบอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบงานเบญจรงค์ ทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับเจ้าของผลงานและประเทศชาติอย่างมาก

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
(กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ชำระอากรขาออก
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร

“เครื่องเบญจรงค์” เสน่ห์หัตถศิลป์ไทยกับก้าวแรกเรื่องภาษี

ธุรกิจการผลิตเครื่องเบญจรงค์ของไทยถือได้ว่าเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนมากมักดำเนินกิจการในครัวเรือน หรือวิสาหกิจชุมชน ซึ่งในส่วนของธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจหลักเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกิจเอสเอ็มอีและระบบภาษี จะช่วยให้ธุรกิจของคุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้การสนับสนุนของรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ลวดลายความรู้

ทำความรู้จัก "เครื่องเบญจรงค์"

เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเซรามิก และใช้เนื้อดินประเภทพอร์ซเลน มีการวาดและเคลือบสีลงไปเพื่อให้มีความเงางาม

โดยสีที่นิยมนำมาเคลือบเครื่องเบญจรงค์ มี 5 สีด้วยกัน คือ ขาว เหลือง ดำ แดง และเขียว(คราม) จึงเรียกว่า เครื่องเบญจรงค์ 5 สี แต่บางครั้งอาจใช้มากกว่า 5 สี เช่น ชมพู ม่วง แสด และน้ำตาล

Benjarong

ขึ้นรูป “เครื่องเบญจรงค์”

ธุรกิจเครื่องเบญจรงค์มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ นั่นคือ ต้องเริ่มจากการจดทะเบียนธุรกิจซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการแบบใด เช่น บุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือ OTOP จากนั้นก็จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีโดยยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการขายเครื่องเบญจรงค์เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกเครื่องเบญจรงค์ ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน เพียงเท่านี้คุณก็พร้อมเข้าสู่ธุรกิจเครื่องเบญจรงค์แล้ว

ลวดลายความรู้

การจดทะเบียนธุรกิจ

  1. สหกรณ์ คุณเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ไหน ให้ไปพบผู้จัดการเพื่อขอใช้ชื่อของสหกรณ์ไปขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตเครื่องเบญจรงค์
  2. วิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (กรมส่งเสริมการเกษตร) หรือเกษตรจังหวัด
  3. บุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตในกรุงเทพฯ
  4. นิติบุคคล จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. กลุ่ม OTOP หากประสงค์จะจดทะเบียน ให้ไปที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต

วาดลายลงสี “เครื่องเบญจรงค์”

ธุรกิจเครื่องเบญจรงค์ส่วนใหญ่มักเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีแรงงานสำคัญคือ ช่างฝีมือ จำนวนไม่มากนัก แต่ถ้ากิจการของคุณเป็นกิจการขนาดกลางที่ต้องตั้งโรงงานผลิตสินค้า คุณจะต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามประเภทโรงงานของคุณ ซึ่งพิจารณาจากขนาดเครื่องจักรหรือจำนวนคนงาน

ส่วนขั้นตอนทางภาษีนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณผลิตชิ้นงานเครื่องเบญจรงค์ออกมาวางจำหน่ายสร้างรายได้แล้ว ซึ่งในขั้นตอนนี้ ภารกิจสำคัญของคุณคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และ การชำระภาษีเงินได้ และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ลวดลายความรู้

การซื้อวัตถุดิบและเครื่องมืออุปกรณ์

ต้นทุนการผลิตเครื่องเบญจรงค์ส่วนใหญ่มักอยู่ที่การซื้อวัตถุดิบ และเครื่องมืออุปกรณ์การผลิต โดยที่ผู้ผลิตมักจะซื้อ

  • “ภาชนะเครื่องเคลือบหรือเครื่องขาว” ที่ปั้นสำเร็จจากโรงงานผลิตเซรามิกในจังหวัดใกล้เคียง คือ จ.ราชบุรี
  • สีเซรามิก และน้ำทองคำ
  • พู่กัน หรือปากกาเข็ม สำหรับเขียนลาย

ทั้งนี้ ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจำหน่ายในประเทศนั้น คุณจะเสียภาษีอัตราร้อยละ 7 โดยมีสิทธิเรียกเก็บภาษีขาย 7% จากลูกค้าได้

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

นำเข้าวัตถุดิบรังสรรค์งานฝีมือ

ในการประกอบธุรกิจเครื่องเบญจรงค์นั้น บางครั้งอาจมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในขั้นตอนนี้ คุณต้องเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทางด่านศุลกากร ทั้ง ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ หรือ ทางไปรษณีย์

สำหรับกระบวนการทางภาษีในขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อนำมาสร้างสรรค์เครื่องเบญจรงค์อันทรงคุณค่านั้น ในพิธีการนำเข้าคุณต้องศึกษาเรื่องพิกัดศุลกากรเครื่องเบญจรงค์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาคำนวณภาษีซึ่งมีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เครื่องเบญจรงค์ 6914.10.00 30%

พิกัดศุลกากรขาเข้าผลิตภัณฑ์โครงการคลินิกภาษีกระทรวงการคลัง คลิก

พร้อมทั้งต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และถ้าหากมีรายได้จากการนำเข้าก็ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้อง

ประโยชน์ของการจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

การจดทะเบียนธุรกิจ

เหตุที่คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพราะรายงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อคุณ เนื่องจากการเสียภาษีจะคิดจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ คุณมีสิทธิถือเป็นเครดิตในเดือนถัดไป หรือขอคืนเป็นเงินสดได้

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

อวดโฉม “เครื่องเบญจรงค์” ในตลาดโลก

คุณค่าของเครื่องเบญจรงค์ไทยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศอีกด้วย ดังนั้น การศึกษาขั้นตอนการส่งออก จึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการมองหาลู่ทางการทำตลาดใหม่

โดยหากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย

แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ คุณสามารถเริ่มธุรกิจส่งออกเครื่องเบญจรงค์ได้ด้วยการลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless จากนั้นเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า ซึ่งในการส่งออกคุณจะต้องชำระอากรขาออก ตามพิกัดศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเบญจรงค์ พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และถ้าหากมีรายได้จากการส่งออกแล้วก็ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย

ลวดลายความรู้

รายงานภาษีซื้อ เป็นแบบรายงานภาษี VAT และสรุปเป็นภาษีซื้อ ทำให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้ถูกเรียกเก็บ VAT จากมูลค่าสินค้า หรือบริการจากผู้อื่นในเดือนภาษีนั้นตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี โดยบันทึกรายการลงในรายงานภาษีซื้อ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร

เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน…กรณีจัดซื้อภายในประเทศ

  1. ใบส่งของ
  2. ใบกำกับภาษีซื้อ
  3. ใบเสร็จรับเงิน

รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นแบบรายงานเพื่อแสดงปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปจริง และปริมาณสินค้าที่คงเหลือยู่ การจัดทำรายงานต้องมีเอกสารประกอบเป็นใบสำคัญรับหรือจ่ายสินค้า ซึ่งควรแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิดและขนาด

เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน…กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ

  1. ใบเสร็จรับเงินตาม มาตรา 86/14 แห่งประมวลรัษฎากร
  2. ใบ Invoice
  3. Packing list, B/L

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

เมื่อมีรายได้เข้ากระเป๋า

การผลิตเครื่องเบญจรงค์ออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องเบญจรงค์ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งเป็นการเสียภาษีประจำปี ดังนี้
  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตเครื่องเบญจรงค์ ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น ช่างปั้น ช่างเขียนลาย พนักงานขาย ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

ลวดลายความรู้

ว่าด้วยเรื่อง “การจ้างงาน” กับ “ภาษี”

กรณีการจ้างแรงงานประเภทอื่นของธุรกิจเครื่องเบญจรงค์ เช่น จ้างเหมาเขียนลายเครื่องเบญจรงค์เป็นรายชิ้น หรือจ้างจัดทำบัญชีของกิจการ ให้เจ้าของกิจการผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับจ้างในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างและนำส่งภาษี พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ “เครื่องเบญจรงค์”

เนื่องจากธุรกิจของคุณเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากนโยบายของกรมสรรพากรที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีโดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าภาษีอากรอีกด้วย ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกัน "เสียภาษี" เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ