คลินิกภาษีผ้าทอเกาะยอ

“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ” เป็นผ้าทอพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ด้วยชิ้นงานที่โดดเด่น ประณีตและมีสีสันสวยงาม รวมถึงเทคนิคการทอยกดอกที่มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผ้าทอเกาะยอได้รับเลือกเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 ทำรายได้ให้ชาวสงขลาเฉพาะส่วนที่จำหน่ายในประเทศถึงเดือนละ 200,000 บาท จึงนับว่าผ้าทอเกาะยอเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจทีเดียว

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: บุคคลธรรมดา สหกรณ์ นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ
  ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษี
(ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษี
(ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

“ผ้าทอเกาะยอ” ธุรกิจจากเส้นสายลายผ้า

ธุรกิจ "ผ้าทอเกาะยอ" นั้นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้านสงขลา แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีจุดขาย สามารถใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น ดอกไม้ผ้าเกาะยอ ปกแฟ้มเอกสาร กล่องทิชชู ปลอกหมอน กรอบรูป ฯลฯ ธุรกิจนี้จึงมีโอกาสที่จะต่อยอดและสร้างรายได้ได้อีกมาก

ถักทอความรู้

ลวดลาย...เส้นสายผ้าเกาะยอ

ลายผ้าเกาะยอจำแนกได้ 2 แบบ คือ

  1. ลายผ้าเกาะยอแบบดั้งเดิม เช่น ลายพญาครุฑ ลายหน้านาง ลายดอกโบตั๋น ลายตับเต่า ลายครุฑ-ล้อม ลายดอกรัก ลายเข็มทอง และลายเทพพนม ซึ่งเป็นลายโบราณที่ทอแบบสิบสองตะกอ (ปัจจุบันนี้หาช่างทอแบบสิบสองตะกอไม่ได้อีกแล้ว) ลายคดกริช ลายราชวัตร ลายราชวัตรก้านแย่ง ลายดอกพยอม ลายข้าวหลามตัด ลายโกเถี้ยมหรือลายสมุก ลายตะเครียะ และลายลูกแก้ว
  2. ลายผ้าเกาะยอแบบปัจจุบัน เช่น ลายลูกโซ่ ลายสี่เหลี่ยม ลายดอกมุก ลายดอกจันทน์ ลายลูกหวาย ลายบุหงา ลายดอกโคม ลายลูกสน ลายดอกพิกุล ลายสตางค์ ลายดอกชวนชม

นอกจากนี้ยังมีผ้าเกาะยอบางลายที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เช่น ลายเครือวัลย์และลายทะเลทิพย์ ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเพื่อเนื่องในโอกาสพิเศษที่ทาง จ.สงขลา ได้จัดงานแสงสีเสียงขึ้นในงานทะเลทิพย์ ผ้าเกาะยอลวดลายเหล่านี้บางผืนบางลายได้เก็บรวบรวมไว้ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา

ถักทอธุรกิจ "ผ้าทอเกาะยอ"

ธุรกิจผ้าทอเกาะยอส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรืออาจเป็นการประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเริ่มแรกคุณต้องทำความเข้าใจรูปแบบธุรกิจของคุณก่อน เพื่อดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจให้ถูกต้อง หลังจากจดทะเบียนประกอบกิจการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการขายผ้าทอเกาะยอเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกผ้าทอเกาะยอ ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนเช่นกัน เพียงเท่านี้คุณก็มีธุรกิจผ้าทอเกาะยอเป็นของตัวเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

ถักทอความรู้

การจดทะเบียนธุรกิจ

  1. สหกรณ์ คุณเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ไหน ให้ไปพบผู้จัดการเพื่อขอใช้ชื่อของสหกรณ์ไปขออนุญาตตั้งโรงงาน
  2. วิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (กรมส่งเสริมการเกษตร) / เกษตรจังหวัด
  3. บุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตในกรุงเทพฯ
  4. นิติบุคคล จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. กลุ่ม OTOP หากประสงค์จะจดทะเบียน ให้ไปที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ทอผ้าสร้างชื่อสร้างรายได้

เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการทอผ้าตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ตามแบบของผ้าทอเกาะยอ ที่สร้างชื่อสร้างรายได้ให้กับชาวสงขลามาแล้ว

ในเชิงธุรกิจ เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ คุณมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อใช้สำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถักทอความรู้

หากต้องนำเข้าวัตถุดิบ

ในการกระบวนการผลิต "ผ้าทอเกาะยอ" บางครั้งคุณอาจต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้านั้นมีขั้นตอนง่ายๆ โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทั้งนี้ ในพิธีการนำเข้าคุณต้องศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวกับธุรกิจผ้าทอเกาะยอที่คุณจะนำเข้าให้ดี เช่น เส้นด้าย ฝ้าย เรยอง ไนลอน โพลีเเอสเทอร์ ไหมเทียม และไหมแท้ เป็นต้น เพื่อคำนวณภาษีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผ้าไหม 5007.90.00 17.5%
ผ้าฝ้าย 5209.39.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผ้าทอเกาะยอ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตผ้าทอเกาะยอ ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น ช่างย้อม ช่างทอ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ถักทอความรู้

นานา... รายงานภาษี

  1. รายงานภาษีขาย (สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  2. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  3. รายงานแสดงรายได้และรายจ่าย (สำหรับบุคคลธรรมดาที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

โดยการลงรายการให้ลงภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ ซึ่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการลงรายงานคือ สำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบรับ และหลักฐานการรับชำระเงิน

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า" "จำหน่าย" "ส่งออก"

ส่งออก “ผ้าทอเกาะยอ” โด่งดังในต่างแดน

ผ้าทอเกาะยอเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงในประเทศมาแล้ว โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP” ปี 2549 ซึ่งยืนยันได้ว่า ผ้าทอเกาะยอมีคุณภาพและมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ ดังนั้น การส่งออกจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่นักธุรกิจอย่างคุณควรศึกษาไว้

การส่งออกผ้าทอเกาะยอไปทำรายได้ในต่างแดนนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย

แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ คุณสามารถเริ่มต้นขั้นตอนการส่งออกง่ายๆ ด้วยการลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless จากนั้นก็สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย แต่ที่สำคัญต้องศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าส่งออก "ผ้าทอเกาะยอ" เพื่อใช้ประกอบการชำระ/ยกเว้นภาษี และต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและมีโอกาสได้ช่วยพัฒนาประเทศ

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ “ผ้าทอเกาะยอ”

หากคุณเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้อง คุณก็มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรโดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี โดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า อีกด้วย

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกัน "เสียภาษี" เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ