นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียน: บุคคลธรรมดา สหกรณ์ นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
ลงทะเบียน Paperless ขั้นตอนพิธีการส่งออก จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ออกใบกำกับภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดทำรายงานภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless ขั้นตอนพิธีการส่งออก ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ธุรกิจ "ผ้าทอเกาะยอ" นั้นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้านสงขลา แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีจุดขาย สามารถใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น ดอกไม้ผ้าเกาะยอ ปกแฟ้มเอกสาร กล่องทิชชู ปลอกหมอน กรอบรูป ฯลฯ ธุรกิจนี้จึงมีโอกาสที่จะต่อยอดและสร้างรายได้ได้อีกมาก
ลายผ้าเกาะยอจำแนกได้ 2 แบบ คือ
นอกจากนี้ยังมีผ้าเกาะยอบางลายที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เช่น ลายเครือวัลย์และลายทะเลทิพย์ ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเพื่อเนื่องในโอกาสพิเศษที่ทาง จ.สงขลา ได้จัดงานแสงสีเสียงขึ้นในงานทะเลทิพย์ ผ้าเกาะยอลวดลายเหล่านี้บางผืนบางลายได้เก็บรวบรวมไว้ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา
ธุรกิจผ้าทอเกาะยอส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรืออาจเป็นการประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเริ่มแรกคุณต้องทำความเข้าใจรูปแบบธุรกิจของคุณก่อน เพื่อดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจให้ถูกต้อง หลังจากจดทะเบียนประกอบกิจการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการขายผ้าทอเกาะยอเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกผ้าทอเกาะยอ ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนเช่นกัน เพียงเท่านี้คุณก็มีธุรกิจผ้าทอเกาะยอเป็นของตัวเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการทอผ้าตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ตามแบบของผ้าทอเกาะยอ ที่สร้างชื่อสร้างรายได้ให้กับชาวสงขลามาแล้ว
ในเชิงธุรกิจ เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ คุณมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อใช้สำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในการกระบวนการผลิต "ผ้าทอเกาะยอ" บางครั้งคุณอาจต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้านั้นมีขั้นตอนง่ายๆ โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทั้งนี้ ในพิธีการนำเข้าคุณต้องศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวกับธุรกิจผ้าทอเกาะยอที่คุณจะนำเข้าให้ดี เช่น เส้นด้าย ฝ้าย เรยอง ไนลอน โพลีเเอสเทอร์ ไหมเทียม และไหมแท้ เป็นต้น เพื่อคำนวณภาษีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ผ้าไหม | 5007.90.00 | 17.5% |
ผ้าฝ้าย | 5209.39.00 | 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
โดยการลงรายการให้ลงภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ ซึ่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการลงรายงานคือ สำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบรับ และหลักฐานการรับชำระเงิน
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า" "จำหน่าย" "ส่งออก"
ผ้าทอเกาะยอเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงในประเทศมาแล้ว โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP” ปี 2549 ซึ่งยืนยันได้ว่า ผ้าทอเกาะยอมีคุณภาพและมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ ดังนั้น การส่งออกจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่นักธุรกิจอย่างคุณควรศึกษาไว้
การส่งออกผ้าทอเกาะยอไปทำรายได้ในต่างแดนนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย
แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ คุณสามารถเริ่มต้นขั้นตอนการส่งออกง่ายๆ ด้วยการลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless จากนั้นก็สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย แต่ที่สำคัญต้องศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าส่งออก "ผ้าทอเกาะยอ" เพื่อใช้ประกอบการชำระ/ยกเว้นภาษี และต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและมีโอกาสได้ช่วยพัฒนาประเทศ
หากคุณเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้อง คุณก็มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรโดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี โดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า อีกด้วย
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดย...
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจ...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
เครื่องดื่มประเภท “น้ำชา” นอกจากช่วยดับกระหายคลายง่วงแล้ว ...
คำว่า “แพทย์ทางเลือก” ตามความหมายที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำ...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...
ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...