คลินิกภาษีหินอ่อนและหินแกรนิต

หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ มูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้แก่ มูลค่าการผลิต การบริโภค ค่าภาคหลวง และการจ้างแรงงาน ส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศนั้นได้จากการส่งออกแร่หินไปขายต่าง ประเทศ และถ้าหากคุณสนใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจนี้อย่างจริงจัง นอกจากคุณจะมีโอกาสร่ำรวยจากการประกอบธุรกิจแล้ว คุณยังมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศด้วยการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ
  จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต
(ได้รับการยกเว้นฯ)
   
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
ลงทะเบียน Paperless แจ้งวันเวลาทำการผลิต
(ได้รับการยกเว้นฯ)
ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
แจ้งราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม
(ได้รับการยกเว้นฯ)
จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำบัญชีประจำวัน
(ได้รับการยกเว้นฯ)
  ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ชำระภาษีอากร
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
จัดทำงบเดือน
(ได้รับการยกเว้นฯ)
ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษีสรรพสามิต
(ได้รับการยกเว้นยื่นคำขอ)
ชำระภาษีสรรพสามิต
(ศุลกากรจัดเก็บแทน แต่ได้รับการยกเว้นฯ)
ชำระภาษีสรรพสามิต
(ปัจจุบันยกเว้นภาษี)
จัดทำรายงานภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม      

“หินอ่อนและหินแกรนิต” ทรัพย์ในดินและภาษีช่วยชาติ

จุดเริ่มต้นธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตในประเทศไทยนั้น ในส่วนของหินอ่อนเริ่มมีการผลิตในประเทศเมื่อปี 2499 ในเขต จ.สระบุรี ก่อนจะค่อยๆ ขยายการผลิตไปพื้นที่จังหวัดอื่น จนถึงปัจจุบันมี แหล่งผลิตหินอ่อนที่สำคัญอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่หินแกรนิตเริ่มผลิตในประเทศเมื่อปี 2529 มีแหล่งผลิตที่สำคัญของประเทศอยู่บริเวณภาคเหนือ

ทั้งหินอ่อนและหินแกรนิตที่ผลิตในประเทศไทยจะมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามแหล่งผลิต ตอบสนองลูกค้าที่มีความต้องการหลากหลาย ทั้งยังมีการนำเข้าหินอ่อนและหินแกรนิตที่มีสีสันและลวดลายเฉพาะตัวจากต่างประเทศอีกด้วย จะเห็นได้ว่าธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตนั้นมีเส้นทางที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งผลิตและจำหน่ายในประเทศ นำเข้า ส่งออก

ดังนั้น หากคุณต้องการที่จะเข้าสู่วงการค้าหินอ่อนและหินแกรนิตแล้ว ก่อนอื่นลองศึกษารูปแบบธุรกิจและการเสียภาษีอย่างถูกต้องกันสักเล็กน้อยเพื่อปูทางสู่ความสำเร็จในธุรกิจนี้

ภาพรวมการจัดเก็บภาษีผลิตภัณฑ์หินอ่อนและหินแกรนิต
ตามขั้นตอนการนำเข้า ผลิต จัดจำหน่ายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ

กระบวนการ หน่วยงาน
จัดเก็บภาษี
ภาษีที่จัดเก็บ ขั้นตอนสำคัญ
การเปิดกิจการ
กรมสรรพากร
  - การขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรมศุลกากร
จัดเก็บภาษีสรรพสามิต แทนกรมสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มแทน กรมสรรพากร
ภาษีศุลกากร
(นำเข้า)
- การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิคส์ (e-Import) (เฉพาะการนำเข้าครั้งแรก)
- การผ่านพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์
การนำเข้า
กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
- การชำระภาษีสรรพสามิต

กรมสรรพากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
- การจัดทำรายงานภาษี
- การยื่นแบบแสดงรายการ (ใบขนฯ)
การผลิต และจำหน่ายในประเทศ
กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต - การจดทะเบียนภาษีสรรพสามิต
- การแจ้งการผลิตและการขาย
- การชำระภาษีสรรพสามิต

กรมสรรพากร
ภาษีเงินได้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี
- การยื่นแบบแสดงรายการ
การส่งออก
ต่างประเทศ

กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต - ขอยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี

กรมศุลกากร
ภาษีศุลกากร
(ส่งออก)
- การผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิคส์ (e-Export)

กรมสรรพากร
ภาษีเงินได้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี
- การยื่นแบบแสดงรายการ

เปิดกิจการ “หินอ่อนและหินแกรนิต”

หากคุณต้องการเริ่มต้นธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิต สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การจดทะเบียนธุรกิจซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการแบบใด เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล จากนั้นก็ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร

ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ในกรณีที่คุณต้องการหรือคาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตของคุณแล้วละก็ คุณมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด จะต้องจัดทำรายงานภาษีเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

การจดทะเบียนธุรกิจ
บุคคลธรรมดา จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด
นิติบุคคล จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด
SMEs จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด
Granite

สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ นอกเหนือจากการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรแล้ว เมื่อคุณจะเริ่มผลิตและจำหน่ายหินอ่อนและหินแกรนิตในประเทศ คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต พร้อมทั้งไม่ต้องดำเนินการแจ้งวันเวลาทำการผลิต แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ทำบัญชีประจำวันและ งบเดือน รวมถึงการยื่นแบบและชำระภาษีสรรพสามิต

ขยายความ

ภาษีสรรพสามิต “หินอ่อนและหินแกรนิต”

หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่กำหนดในพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 8 สินค้าอื่นๆ ข้อ 08.09 (3) คือ มีการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าในอัตราร้อยละ 30

ทั้งนี้ เป็นการจัดเก็บจากหินอ่อนและหินแกรนิตที่แปรรูปแล้ว แต่ในปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2540
 

พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยลงรายการภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายหินอ่อนและหินแกรนิต คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการประกอบกิจการเกี่ยวกับหินอ่อนและหินแกรนิต คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อเครื่องจักร หินอ่อน หรือหินแกรนิต รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิต ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายสินค้าของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ขยายความ

คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

นำเข้า “หินอ่อนและหินแกรนิต”

ถึงแม้ว่าในประเทศจะมีการผลิตหินอ่อนและหินแกรนิตเองได้ก็ตาม แต่ความนิยมในคุณภาพหิน สี และลวดลายของหิน ที่ไม่สามารถหาได้ภายในประเทศก็ยังมีอยู่

ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตบางส่วนจึงมีการนำเข้าหินจากต่างประเทศ ซึ่งคุณก็สามารถเรียนรู้ขั้นตอนการนำเข้าเบื้องต้นได้ เริ่มจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทางด่านศุลกากรต่างๆ เช่น ทางอากาศยาน ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ โดยในการนำเข้านั้น คุณต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าขาเข้าหินอ่อนและหินแกรนิตให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ ภายใต้การดูแลของกรมศุลกากร

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
หินอ่อน 6802.91.10 30% หรือ3.75 บาท /kg
หินแกรนิต 6802.93.00 30% หรือ3.75 บาท /kg
Granite

นอกจากนี้ คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อเสียภาษีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้นำเข้าด้วยการยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ซึ่งกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร และจัดเก็บภาษีสรรพสามิตหินอ่อนและหินแกรนิตแทนกรมสรรพสามิต (ปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษี)

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

ส่งออก “หินอ่อนและหินแกรนิต” ตีตลาดต่างประเทศ

Granite

หากคุณมีลูกค้าในต่างประเทศที่ต้องการหินอ่อนลายสวยๆ และหินแกรนิตคุณภาพดีจากเมืองไทย คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้โดยลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าหินอ่อนและหินแกรนิต หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)

Granite

จากนั้นเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย และที่สำคัญเมื่อมีรายได้จากธุรกิจส่งออกหินอ่อนและหินแกรนิตแล้ว คุณต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งกลับมาพัฒนาประเทศด้วย

อย่าลืม! ตรวจสอบสิทธิ์ในการได้รับอัตราชดเชยจากการส่งออกหินด้วยนะ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ “หินอ่อนและหินแกรนิต”

นอกเหนือจากการยกเว้นภาษีสรรพสามิตในการนำเข้า-ส่งออกแล้ว หากธุรกิจหินอ่อนและหินแกรนิตของคุณเป็นธุรกิจในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากนโยบายของกรมสรรพากรที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีโดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าภาษีอากรอีกด้วย ติดตามรายละเอียดได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

ทำตาม “หน้าที่” ช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ