นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม * กรณีรายได้จากการขายปลาสลิดไม่แปรรูป หรือปลาสลิดแห้ง เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี * กรณีขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก) |
|||
ลงทะเบียน Paperless |
ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless | |
ขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ กับกรมประมง |
ออกใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขออนุญาตส่งออกสัตว์น้ำ กับกรมประมง | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
จัดทำรายงานภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ชำระอากรขาเข้า | ยื่นแบบภาษีเงินได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ | ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ | ||
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ปลาตัวเล็กเท่าฝ่ามือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ปลาสลิด” หรือ “ปลาใบไม้” เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย นิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ปลาตัวเล็กๆ ชนิดนี้เมื่อผ่านการถนอมอาหารจนกลายเป็น “ปลาสลิดแปรรูป” แล้ว จะมีรสชาติอร่อยถูกปากคนไทยจนสามารถทำเงินให้กับผู้ที่ทำธุรกิจนี้ได้ไม่น้อย เช่น ปลาสลิดตากแห้ง ปลาสลิดเค็ม และปลาสลิดทอดกรอบ เป็นต้น
หากคุณสนใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบของธุรกิจและวิธีการเสียภาษีอย่างถูกต้องกันสักนิด
ภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของไทยทำให้ปลาสลิดแปรรูปเป็นอาหารที่คนไทยทั่วไปรู้จักและชื่นชอบ ทั้งยังสามารถส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย
แต่ก่อนที่จะเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากปลาสลิดนั้น คุณในฐานะเจ้าของธุรกิจจะต้องเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนธุรกิจเสียก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกดำเนินธุรกิจรูปแบบใด เช่น การประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจปลาสลิดแปรรูปของคนไทยมักมีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรืออาจเป็นธุรกิจที่จดทะเบียน OTOP ด้วย
การจดทะเบียนประเภทธุรกิจ | |
---|---|
บุคคลธรรมดา | จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด |
นิติบุคคล | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
วิสาหกิจชุมชน | จดทะเบียนได้ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร / เกษตรจังหวัด |
สหกรณ์ | จดทะเบียนได้ที่ สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด |
SMEs | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
กลุ่ม OTOP | จดทะเบียนได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต |
หลังจากจดทะเบียนประกอบกิจการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ
แต่กรณีธุรกิจผลิตปลาสลิดแปรรูปเพื่อจำหน่ายนั้น มีบางกรณีที่คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ เว้นแต่คุณต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้เช่นกัน
อัตราภาษีและกรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูปและถนอมอาหาร (ปลาสลิด) |
|
---|---|
นำเข้าปลาสลิด | |
นำเข้าปลาสลิดผลิตเป็นปลาสลิดทอดกรอบ แล้วจำหน่ายในประเทศ | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% |
นำเข้าปลาสลิดผลิตเป็นปลาสลิดทอดกรอบ แล้วส่งออก | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% |
นำเข้าปลาสลิดไม่แปรรูป หรือแปรรูปเป็นปลาสลิดแห้ง มาจำหน่ายในประเทศ | ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ใช้ปลาสลิดในประเทศ | |
นำปลาสลิดในประเทศมาผลิตเป็นปลาสลิดแห้งแล้วจำหน่ายในประเทศ | ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม |
นำปลาสลิดในประเทศมาผลิตเป็นปลาทอดกรอบแล้วจำหน่ายในประเทศ | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% |
นำปลาสลิดในประเทศมาผลิตแล้วส่งออก | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% |
ซึ่งในกรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบรวมถึงต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า เมือมีการขายสินค้าเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย เพียงเท่านี้ คุณก็เป็นผู้ประกอบการที่พร้อมนับเงินจากการธุรกิจนี้แล้ว
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีสูตรเด็ดในการผลิตปลาสลิดแปรรูป และต้องการวางจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ หลังจากคุณมีฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุดิบพร้อมแล้ว คุณก็สามารถเริ่มกระบวนการผลิตปลาสลิดแปรรูปตามกรรมวิธีถนอมอาหาร เพื่อให้ได้ปลาสลิดแปรรูปที่หอมอร่อย มีคุณภาพ ออกมาจำหน่ายได้ทันที
ซึ่งเมื่อคุณเริ่มมีรายได้ ภารกิจเกี่ยวกับภาษีที่คุณต้องดำเนินการไปพร้อมกัน นั่นคือ การจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ
ทั้งนี้ คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
โดยคุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
แม้การแปรรูปปลาสลิดเค็มไปเป็นอาหารประเภทต่างๆ โดยเฉพาะปลาสลิดตากแห้ง ปลาสลิดเค็ม และปลาสลิดทอดกรอบ จะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยและแหล่งน้ำจืดในประเทศก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาชนิดนี้ แต่ในปัจจุบันปริมาณปลาในบ้านเราอาจไม่พอเพียงต่อความต้องการในการบริโภค
ดังนั้น ผู้ที่เข้าสู่ธุรกิจนี้จึงอาจต้องเรียนรู้ขั้นตอนการนำเข้า ซึ่งอาจจะเป็นการนำเข้าปลาสลิดสดเพื่อนำมาเข้ากระบวนการถนอมอาหาร แปรรูปปลาสลิด หรือบางรายอาจนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าแบบใด คุณจะต้องเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร (ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า โดยคุณต้องทำการศึกษาว่าพิกัดอัตราศุลกากรของปลาสลิดอยู่ที่พิกัดใด เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ปลาสลิดแห้ง | 0305.59.90 | 5% |
ปลาสลิดที่ปรุงแต่งที่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านไม่ได้ | 1604.19.30 | 20% หรือ 65 บาท/กิโลกรัม |
เนื้อปลาสลิด สดหรือแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง | 0304.99.00 | 5% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ทั้งนี้ มีขั้นตอนพิเศษเล็กน้อยสำหรับผู้ทำธุรกิจนำเข้าปลาสลิด ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตหรือซากสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์น้ำ ที่อยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลโดยกรมประมง คุณจึงต้องทำเรื่องขออนุญาตนำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน กับกรมประมงก่อนการทำพิธีการนำเข้าด้วย
สำหรับกระบวนการทางภาษีที่เกิดขึ้นในพิธีการนำเข้า คุณมีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษี รายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย ทั้งนี้ หากมีรายได้เกิดขึ้นจากการนำเข้า คุณก็จะมีขั้นตอนทางภาษีที่สำคัญเพิ่มเติมเข้ามา คือ การชำระภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
ความอร่อยของปลาสลิดไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่คุณสามารถส่งออกความอร่อยนี้ไปยังลูกค้าชาวต่างชาติด้วย ทั้งนี้ หากคุณต้องการเป็นผู้ส่งออก คุณสามารถเริ่มต้นขั้นตอนการส่งออกง่ายๆ ด้วยการลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าปลาสลิด หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก) จากนั้นก็สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ด้วย
ทั้งนี้ มีข้อควรระวังในการนำเข้า/ส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูป คือ เนื่องจากการนำเข้าปลาสลิดมีชีวิต หรือซากปลาสลิด อันเป็นประเภทสัตว์น้ำที่อยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลโดยกรมประมง คุณจึงต้องทำเรื่องขออนุญาตนำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน กับกรมประมงก่อนการทำพิธีการนำเข้า หรือส่งออกกับกรมศุลกากรเสมอ ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ หรือสำนักงานประมงจังหวัดที่ปฏิบัติหน้าที่แทนด่านตรวจสัตว์น้ำ ณ ท่าที่นำเข้า/ส่งออก โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมประมง
www.fisheries.go.th
พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ.2524 รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรให้แก่ผู้ส่งออกในรูปของ ‘บัตรภาษี’ ซึ่งสามารถนำไปใช้แทนเงินสดเพื่อชำระค่าภาษีอากรต่างๆ ได้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมศุลกากร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต
โดยที่...
ปลาสลิด พิกัดอัตราศุลกากร 0302.89.24 อัตราเงินชดเชยร้อยละของราคาส่งออก 0.12 ฒ/
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
หากคุณเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้อง คุณก็มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่งและการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ใดๆ จากปลาสลิด คุณยังมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรด้วยการชดเชยค่าภาษีอากร อีกด้วย ติดตามรายละเอียดได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณ...
นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทั้งเครื่องดื่ม...“เครื่องถมและเครื่องเงินลงยา” เป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูงอีก...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ของสะสม ของเก่า ของโบราณ จัดว่าเป็นสิ่งของที่มีอายุขัยมายาวนาน ซึ่งมีมูลค่าสูง
ห...
ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาห...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...