คลินิกภาษีผ้าไหม

“ผ้าไหม” มรดกแห่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือเป็นสิ่งทอที่มีความงดงามเฉพาะตัว สะท้อนเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันผ้าไหมเป็นสินค้า OTOP และสินค้าส่งออกยอดนิยม โดยมีมูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศในปี พ.ศ.2553 กว่า 683 ล้านบาท ตลาดหลักคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก

ผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทนี้ นอกจากต้องศึกษาทุกขั้นตอนการผลิตอย่างพิถีพิถันแล้ว ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ขั้นตอนการเสียภาษีต่างๆ ไปด้วย เพื่อความถูกต้องและทำหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน และขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานทอผ้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless   ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า   จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ลงทะเบียน Paperless
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
      จัดทำรายงานภาษี
      ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร

ประวัติอันทรงคุณค่า

ผ้าไหมไทย นับว่าเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า เป็นภูมิปัญญาที่น่าภูมิใจของคนไทย และเป็นการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความผูกพันระหว่างธรรมชาติกับวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละภูมิภาค

ณ วันนี้ผ้าไหมไทยจึงมิใช่เป็นเพียงตำนานที่เล่าขาน แต่ทุกเส้นใยที่สอดประสานจนเกิดเป็นลวดลายแห่งศิลปะบนผืนผ้า คือมรดกอันล้ำค่าแห่งภูมิปัญญาของบรรพชนไทย ที่อนุชนรุ่นหลังควรร่วมมือร่วมใจกันส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์ให้อยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไป

เกล็ดความรู้

ผ้าไหมไทยสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
  • ผ้าพื้น: ผ้าทอสีพื้นธรรมดาไม่มีลาย
  • ผ้าเขียนลาย: ส่วนมากเขียนลายทอง
  • ขิด: วิธีการทอเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการทอ
  • จก: วิธีการทอเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษขึ้นลงเป็นลวดลายต่างๆ เป็นช่วงๆ
  • มัดหมี่: นำเส้นไหมมาย้อมสี มัดบริเวณที่ต้องการ เมื่อนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้า
  • ยก: การยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน เพื่อสอดเส้นพุ่งที่เป็นไหมสีอื่น/ดิ้นเงิน/ดิ้นทอง หรือเพิ่มด้ายเส้นพุ่งจำนวน 2 เส้น หรือมากกว่านั้น เข้าไปในผืนผ้า เพื่อทำให้เกิดลวดลายเฉพาะขึ้น
  • แพรวา: การทอผสมกันระหว่างขิดและจกบนผืนผ้าเดียวกัน คำว่า "แพรวา" มาจากความยาวของผ้าที่ยาวประมาณ 1 วา (2 เมตร)

ถักทอเส้นใยแห่งคุณภาพ

ผู้ประกอบการ “ผ้าไหม” ต้องเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนพาณิชย์ตาม “คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499” กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มดำเนินกิจการ ซึ่งปัจจุบันสามารถยื่นจดทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตที่ Click

ขั้นตอนต่อไปคือ การขออนุญาตจัดตั้งโรงงานและขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยแบ่งกลุ่มโรงงานออกเป็น 3 จำพวก ดังนี้

โรงงานจำพวกที่ ลักษณะโรงงาน การขออนุญาต
1. เครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน ซึ่งไม่มีการฟอก ย้อมสี ไม่ต้องขออนุญาต
2. เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน ซึ่งไม่มีการฟอก ย้อมสีและไม่จัดอยู่ในจำพวกที่ 1 ขออนุญาตก่อนดำเนินการ
3. เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50 คน หรือโรงงานทุกขนาดซึ่งมีการฟอกย้อมสี ต้องได้รับอนุมัติก่อนดำเนินการ
โรงงานทุกจำพวกต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียตามข้อกำหนด

จากนั้นต้องขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก (เปลี่ยนจาก 10 หลัก เป็น 13 หลัก เมื่อ 1 ก.พ. 2555) ปัจจุบันฐานข้อมูลนี้ได้ถูกเชื่อมโยงกับ กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการติดต่อกับหน่วยงานราชการทั้ง 3 หน่วย

เรื่องที่คุณอาจดำเนินการลำดับถัดไปคือ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจผลิต/จำหน่ายผ้าไหมอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับจากยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากไม่เกินก็สามารถยื่นขอจดได้ เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร หรือต้องการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร) โดยยื่นจดก่อนวันเริ่มประกอบการ เพราะจะได้ประโยชน์ในการขอคืนภาษีกรณีก่อสร้างโรงงาน/อาคาร หรือซื้ออุปกรณ์สำนักงาน โดยยื่นแบบ ภ.พ.30 (เป็นรายเดือนภาษี) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร

โดยหน้าที่ที่ตามมาหลังคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือ คุณต้องจัดทำรายงานภาษีเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

เกล็ดความรู้

ทั้งนี้ กรณีมีดอกเบี้ยรับจากการให้กรรมการกู้ยืมเงิน คุณต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) เพราะถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ (ตามมาตรา 91/2, 91/5, 91/6) ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะรวม 3.3%

  • ตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล
  • พ.ร.บ.รายได้สุขาภิบาล
  • พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. เมืองพัทยา

โดยคำนวณเป็นรายเดือนภาษี SBT = รายรับ (ฐานภาษี) คูณ อัตราภาษี ตามมาตรา 91/5 และยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ความรู้เกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้อง

ประเภทกิจกรรม
ที่กิจการเกี่ยวข้อง
กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลากร
ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ   การนำเข้า การส่งออก
บุคคล ธรรมดา/นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย
นำเข้า ผลิต และจำหน่ายในประเทศ - -
นำเข้า ผลิต จำหน่ายในประเทศ และส่งออก -
ผลิต และจำหน่ายในประเทศ - - -
ผลิตและส่งออก - -

อัตลักษณ์แห่งการผลิตและจำหน่าย

ในกระบวนการผลิตผ้าไหมเพื่อจำหน่ายนั้น คุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 พร้อมส่งรายงานให้กรมสรรพากร โดยการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อรายงานว่าคุณได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าไปทั้งสิ้นในเดือนภาษีนั้น ตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี และจัดทำ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อแสดงปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปจริง และปริมาณสินค้าที่คงเหลืออยู่ การจัดทำรายงานต้องมีเอกสารประกอบเป็นใบสำคัญรับหรือจ่ายสินค้า ซึ่งควรแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิดและขนาด

ผ้าไหม

ทั้งนี้ ในกรณีที่คุณต้องการนำเข้าวัตถุดิบบางอย่างเพื่อถักทอผ้าไหม คุณควรศึกษาเรื่องการจัดซื้อและนำเข้าวัตถุดิบก่อนเริ่มดำเนินการผลิต ซึ่งคุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 และต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) จากนั้นต้องศึกษาเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับผ้าไหม พร้อมมาตรการควบคุมการนำเข้าผ้าไหม และติดต่อกรมศุลกากรผ่านพิธีการนำเข้า ทางด่านศุลกากรทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ โดยต้องมีเอกสารประกอบ คือ

  • บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  • บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
  • ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) หรือมีหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออก
  • ใบเบิกทาง
  • หนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม
รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผ้าไหม 5007.90.10 17.5%
ไหมดิบ (ยังไม่ได้เข้าเกลียว) 5002.00.00 10%
ด้ายไหม 5004.00.00 5%
รังไหม 5001.00.00 9%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

จากนั้นติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกของและนำของออกอารักขาศุลกากร ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ของกรมศุลกากร โดยผู้ประกอบการต้องจัดเก็บและรักษาเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ส่งข้อมูล

และคุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า"

ผ้าไหมไทย...โกอินเตอร์

นขั้นตอนการ “ส่งออก” หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรส่งออก (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน

ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร โดยส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งผ้าไหมเป็นสินค้ายกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก ประเภทที่ 9 (อัตราอากร 0%) แต่ในกรณีส่งออกผ้าไหมไปยังสหภาพยุโรป คุณจะต้องมี หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จากกรมการค้าต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องผ่านการพิจารณาจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อรับรอง มาตรฐานของสินค้าสิ่งทอ ที่จะส่งออกไปด้วย

ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น พร้อมทั้งต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

รายได้ดี...ยื่นภาษีถูกต้อง

การผลิตผ้าไหมออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผ้าไหม ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผ้าไหม ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี

  • การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดายื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง

    • เงินได้ มกราคม-มิถุนายน เสียภาษีภายในเดือนกันยายน ในแต่ละปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94
    • เงินได้ มกราคม-ธันวาคม เสียภาษีภายในเดือนมีนาคม ปีถัดไป ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90

    ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
    ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

  • การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

    ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง

    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50

    ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
    ตามมาตรา 68, 68 ทวิ และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผ้าไหมต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น ช่างทอ ช่างย้อม พนักงานขาย ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่มีดอกเบี้ยรับจากการให้กรรมการกู้ยืมเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ให้กับกรมสรรพากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

และในกรณีที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี

ภาษีขายและภาษีซื้อ

  • ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้เรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ตามมาตรา 77/1(17)
  • ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ถูกผู้ประกอบการ จดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ และให้หมายความรวมถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า ตามมาตรา 77/1(18)
เช่น ขาย 200 บาท เก็บ vat 7 %
ซื้อสินค้า 100 บาท เสียvat 7%
= 14 บาท
= 7 บาท
ภาษีขาย = 14 บาท

ภาษีซื้อ = 7 บาท

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

ข่าวดี ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม “หน้าที่” ช่วยกัน “เสียภาษี” เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ