ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ขออนุญาตผลิต / ขอจดทะเบียนอาหาร/ผลิตภัณฑ์/ฉลาก/ มาตรฐานอาหาร (กรมโรงงานอุตสาหกรรม / อย. / พาณิชย์จังหวัด) |
ลงทะเบียน Paperless | |
ขออนุญาตนำเข้า วัตถุดิบ/เครื่องจักร |
ออกใบกำกับภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขออนุญาตส่งออกกล้วยตาก | |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |||
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ | |
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
การทำกล้วยตากไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งไปกว่านั้น ทางการแพทย์ยังถือว่ากล้วยตากเป็นอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้คนไทยกำลังหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น หลายๆ พื้นที่และตำบลของประเทศจึงเริ่มผลิตกล้วยตากเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกกันอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันนี้กล้วยตากเป็นหนึ่งในสินค้า OTOP ที่ได้รับความสนใจจากคนไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก แต่การจะกระโดดเข้าสู่ธุรกิจนั้น ต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการจดทะเบียนและขั้นตอนการชำระภาษีอย่างถูกต้องเสียก่อน
แม้ว่าขั้นตอนการทำกล้วยตากจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณก็ควรศึกษาตั้งแต่แรกว่า การประกอบกิจการของตนเองเหมาะสมกับรูปแบบใด โดยสามารถเลือกจดทะเบียนธุรกิจได้ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล สหกรณ์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน หรือคุณอาจจดทะเบียน OTOP ด้วยก็ได้
ขั้นตอนถัดมาเป็นการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการขายกล้วยตากเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักร หรือต้องการส่งออกกล้วยตาก ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน
ระหว่างอยู่ในกระบวนการผลิตกล้วยตาก ไม่ว่าจะเป็นการตากแดด ใส่น้ำเกลือ อบน้ำผึ้ง หรือเคลือบช็อกโกแลต สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมก็คือ การทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย ขั้นตอนนี้มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะคุณจะต้องนำไปใช้สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
รวมทั้งการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่จะมาพร้อมกับรายได้ของคุณ
ในการกระบวนการผลิต "กล้วยตาก" บางครั้งคุณอาจต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น กล้วยสายพันธุ์ต่างๆ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ช็อกโกแลต หรือวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งการนำเข้านั้นมีขั้นตอนง่ายๆ โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น) และอาจมีสินค้าบางชนิดที่มีข้อจำกัดในการนำเข้าของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ คุณจึงต้องไม่ลืมตรวจสอบด้วย
จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทั้งนี้ ในพิธีการนำเข้าคุณต้องศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวกับธุรกิจกล้วยตากที่คุณจะนำเข้าให้ดี เพื่อคำนวณภาษีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
กล้วยสด | 0803.90.00 | 40% หรือ 33.50 บาท/กิโลกรัม |
กล้วยตาก | 0803.90.00 | 40% หรือ 33.50 บาท/กิโลกรัม |
พิกัดศุลกากรขาเข้าผลิตภัณฑ์โครงการคลินิกภาษีกระทรวงการคลัง คลิก
พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการด้วย
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า" "จำหน่าย"
ขนมและอาหารไทยถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากนานาชาติอย่างมาก หากคุณมีกล้วยตากที่มีคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ได้มาตรฐาน สวยงาม และสามารถเก็บไว้ได้นาน การส่งสินค้าไปขายต่างประเทศย่อมไม่ใช่เรื่องที่เหนือบ่ากว่าแรงแต่ประการใด
อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย
แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องเริ่มที่การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร ก็จะสามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย แต่ต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เรียบร้อย พร้อมทั้งชำระภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”
กิจการผลิตและจำหน่ายกล้วยตากนับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่ต่างจากธุรกิจประเภทอื่นๆ นั่นคือ
ถ้าหากคุณเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาตั้งแต่แรก ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้จากยอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี โดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
และในกรณีที่คุณส่งออกกล้วยตากไปทำตลาดในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าภาษีอากรอีกด้วย ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่...
ของเล่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ ได้ ซึ่งแต่ละ ช่วงอาย...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
ธุรกิจร้านอาหาร” มีอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ จำ...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...
"เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเจ้า ซึ่งสามารถนำมาลวกให้...
“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ท...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...