คลินิกภาษีผ้าบาติก

“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี จากนั้นจึงระบาย แต้ม หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีลงไปบนผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามตาม ต้องการ แม้ว่าการทำผ้าบาติกของไทยจะได้รับการเผยแพร่องค์ความรู้มาจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ชาวไทยก็สามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์และวิถีชีวิตความเป็นไทยลงไปบนผ้าบาติก ด้วยความวิจิตรบรรจงได้อย่างงดงาม จนกลายเป็นสินค้าที่มีเสน่ห์เฉพาะ และสร้างรายได้ให้กับเอสเอ็มอีไทยได้ไม่น้อย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: บุคคลธรรมดา สหกรณ์ นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)
ลงทะเบียน Paperless ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี ขอยกเว้นขอคืนภาษี
ยื่นแบบภาษีเงินได้ จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบภาษีเงินได้
  ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

“ผ้าบาติก” การถ่ายทอดอัตลักษณ์สู่ผืนผ้า

อุตสาหกรรมผ้าบาติกในประเทศไทยนั้นมีการผลิตกันมานานแล้ว โดยเฉพาะหลายจังหวัดในภาคใต้ รวมถึงตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งการประยุกต์ผ้าบาติกไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผืนผ้าที่ใช้ประดับบ้าน ฯลฯ ล้วนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี และขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้คุณมีธุรกิจผ้าบาติกที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังมีโอกาสช่วยชาติด้วยเงินภาษี คือ...

ริเริ่มเติมลายผ้า

การเริ่มต้นธุรกิจของผ้าบาติกไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ นั่นคือต้องจดทะเบียนธุรกิจให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ว่าจะจดในรูปแบบของบุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือนิติบุคคล

จากนั้นก็ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ในกรณีที่คุณต้องการหรือคาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจผ้าบาติกของคุณแล้วละก็ คุณมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด จะต้องจัดทำรายงานภาษีเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

“ผ้าบาติก” คุณค่าที่สร้างสรรค์ด้วยคุณภาพ

ความเข้าใจในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลต่อความเร็วในการสร้างสรรค์ผลงานผ้าบาติก แต่ผ้าบาติกจะมีคุณค่าและมูลค่าได้มากเพียงใด ขึ้นอยู่กับความบรรจงในการแต่งแต้มลงสีและลวดลายบนผ้า สิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวเนื่องกันในเชิงรายได้ เพราะยิ่งผลิตได้เร็ว มีคุณภาพสูง และมีความสวยงาม โดดเด่น ก็ยิ่งทำให้ผ้าบาติกของคุณขายได้จำนวนมากและมีราคาสูงตามไปด้วย

ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของผ้าบาติกที่ผลิตได้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. แบ่งตามเทคนิคในการผลิต
    • บาติกลายเขียน
    • บาติกลายพิมพ์
    • ผ้าบาติกพิมพ์สี
    • ผ้าบาติกเพ้นท์สี
  2. แบ่งตามชนิดของผ้าบาติก
    • บาติกธรรมดา
    • บาติกลาซิม
    • บาติกเขียนสี
    • บาติกโซโล
    • บาติกชั้นเดียว

แต่งแต้มความรู้

หากต้องนำเข้าวัตถุดิบ

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตผ้าบาติก ต้องเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)กับกรมศุลกากร (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น) จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ทางด่านศุลกากรช่องทางต่างๆ เช่น ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ เป็นต้น

ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินการนี้ คุณอาจมีรายการที่จะต้องชำระอากรขาเข้า ตามพิกัดอัตราศุลกากร เช่น พิกัดอัตราศุลกากรของผ้า สี หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผ้าบาติก

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผ้าบาติก 5209.39.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

พร้อมทั้งต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบทั้งนี้ การลงรายการให้ลงภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการ จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อใช้สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเงินได้ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่งแต้มความรู้

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ
  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายผ้าบาติก คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการสร้างสรรค์ลายผ้า หรือขั้นตอนอื่นๆ ของกระบวนการผลิตผ้าบาติก คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตผ้าบาติก ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้

และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายสินค้าของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

โดยคุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

ส่งออก “ผ้าบาติก” ไปตลาดโลก

หากคุณกำลังมองตลาดต่างประเทศเอาไว้ หรือเห็นช่องทางดีๆ ที่จะสามารถส่งผ้าบาติกไปสู่ตลาดโลกได้ ก็ไม่ควรพลาดโอกาสทองที่ว่านี้ เพราะสินค้าไทยได้รับการยอมรับด้านคุณภาพ ได้รับความเชื่อมั่นจากนานาประเทศในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

โดยขั้นตอนการส่งออกเริ่มต้นจากการลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำ Paperless ในตอนนำเข้าเท่านั้น) จากนั้นจึงเริ่มต้นพิธีการส่งสินค้าออกพร้อมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ “ผ้าบาติก”

ในกรณีที่คุณดำเนินธุรกิจมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน ธุรกิจของคุณก็มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีเงินได้จากยอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า ติดตามรายละเอียดได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม “หน้าที่” ช่วยกัน “เสียภาษี” เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ