มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ตลอดทั้งปี ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับมะม่วงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการปลูกเพื่อบริโภคภายในประเทศ ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจเพื่อการส่งออก ต่อยอดสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการธุรกิจมะม่วงอย่างเป็นกอบเป็นกำ
มีรายได้จากผลไม้ไทยๆ แล้ว ก็ต้องทำหน้าที่เสีย "ภาษี" เพื่อพัฒนาแผ่นดินไทยให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย...
จึงจะเรียกว่าครบสูตร
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร) |
|||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ขอยกเว้นภาษี | ออกใบกำกับภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ผ่านด่านตรวจพืช | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ชำระอากรขาเข้า | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบฯ รายการภาษี | ||
ยื่นแบบฯ รายการภาษี |
มะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ เพราะมีเส้นใย สารอาหาร และวิตามินสูง ตลอดจนสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารนานาชนิด หรือสกัดเป็นยาและเครื่องสำอางก็ได้ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตทุกรูปแบบ ทั้งการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออก โดยในปี 2555 ที่ผ่านมา ผลผลิต "มะม่วง" ราว 10 ล้านกิโลกรัม สามารถสร้างมูลค่าจากการส่งออกได้ถึงเกือบ 1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
ผู้ประกอบการธุรกิจมะม่วง ไม่ว่าจะปลูกขายเอง นำเข้า หรือรับจากแหล่งผลิตมาขายต่อ ควรเริ่มต้นเปิดตัวกิจการอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินการยื่นแบบ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
จากนั้นจึง ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย ฯลฯ
ส่วนการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยหลักแล้วผู้ประกอบการที่ขายพืชผลทางการเกษตรที่ไม่แปรรูปจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังสามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ แต่ผู้ที่เลือกจะไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำ รายงานเงินสดรับ-จ่ายในแต่ละปีเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรต่อไป
ประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากความต้องการของตลาดที่มีสูง ผลผลิตมะม่วงภายในประเทศอาจไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการจึงอาจนำเข้ามะม่วงจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา หรือเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค เช่น มะม่วงยักษ์จากไต้หวัน และจีน เป็นต้น
แน่นอนว่าเมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ ผู้ประกอบการต้องผ่านกระบวนการนำเข้าสินค้าจากกรมศุลกากร เริ่มจากลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paper Less) เมื่อลงทะเบียนแล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนการนำเข้าสินค้าตามระเบียบของกรมศุลกากร
เนื่องจากมะม่วงเป็นสินค้านำเข้าประเภทผลไม้ จึงต้องผ่านด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรเสียก่อน เพื่อป้องกันโรค ศัตรูพืช และสารเคมีอันตรายที่อาจปนเปื้อนมากับสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) เข้าสู่ประเทศไทย
และด้วยเหตุที่มะม่วงเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้น หากผู้ประกอบการคนไหนนำเข้ามะม่วงจากต่างประเทศมาขาย ก็ต้องเสียภาษีศุลกากร (อากรขาเข้า) ในอัตราที่สูงถึงกว่า 40% เลยทีเดียว
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
มะม่วงสด | 0804.50.20 | 40% หรือ 33.50 บาท/กิโลกรัม |
มะม่วงอบแห้ง | 0804.50.20 | 40% หรือ 33.50 บาท/กิโลกรัม |
มะม่วงปรุงแต่งอื่นๆ บรรจุภาชนะที่อากาศเข้าออกไม่ได้ | 2008.99.90 | 30% หรือ 25 บาท/กิโลกรัม |
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
หลังจากเก็บเกี่ยวมะม่วง คัดขนาด บรรจุหีบห่อ และขนส่งเดินทาง เตรียมจะส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกมะม่วงต้องมีความรู้ความเข้าใจและดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออกสินค้ากับกรมศุลกากรให้ถูกต้อง ตลอดจนกฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศปลายทาง เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าในต่างแดนต่อไป
เมื่อธุรกิจมะม่วงของคุณสามารถสร้างยอดขายจนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ คุณคือผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นชาวไร่ชาวสวนมะม่วง (ฐานะบุคคลธรรมดา) กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี 2 ครั้งต่อปี ได้แก่
มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดย...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ในปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง อย่างต...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย "กาแฟ"ก็ยังคงรักษาสถานะเครื่อง ดื่มยอด...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...