คลินิกภาษีอาหารฮาลาล ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ

ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชาวมุสลิมจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอนาคตสดใส เพราะมีผู้บริโภคชาวมุสลิมอยู่หลายล้านคนทั่วโลก

“เห็ดหลินจือ” เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่สามารถเข้ามาทำตลาดในกลุ่มอาหารฮาลาลได้ ประกอบกับลักษณะพิเศษของเห็ดหลินจือที่มีสรรพคุณทางยา ใช้บำรุงร่างกาย มีคุณประโยชน์หลากหลาย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ทั้งชาวมุสลิมและผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ดังนั้น ธุรกิจเกี่ยวกับเห็ดหลินจือในกลุ่มอาหารฮาลาล จึงเป็นสิ่งที่เอสเอ็มอีไทยไม่ควรมองข้าม

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ
ขอเครื่องหมายรับรองฮาลาล
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
* กรณีมีรายได้จากการขาย "เห็ดหลินจือแปรรูป" มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี
* กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกเห็ดหลินจือ และผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ
ลงทะเบียน Paperless ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
(กรณีขาย "เห็ดหลินจือไม่แปรรูป" ภายในประเทศ)
ลงทะเบียน Paperless
ขอใบอนุญาตนำเข้า (อย.) ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ จัดทำรายงานภาษี
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
จัดทำรายงานภาษี    

เข้าสู่วงการอาหารฮาลาลด้วยธุรกิจ “เห็ดหลินจือ”

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพชนิดแคปซูล กาแฟสำเร็จรูปผสมเห็ดหลินจือ แชมพูผสมเห็นหลินจือ รวมถึงการจำหน่ายเห็ดหลินจือสด ซึ่งสภาพตลาดโดยทั่วไปนั้น เห็ดหลินจือค่อนข้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในวงกว้างอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม อีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดอาหาร "ฮาลาล" สำหรับผู้บริโภคชาวมุสลิม ที่ยังมีโอกาสอีกมากมายสำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าไปทำเงินในตลาดนี้ หากคุณอยากเริ่มต้นธุรกิจอาหารฮาลาลด้วยเห็ดหลินจือแล้ว ลองมาดูแนวทางการเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องกันสักนิด

เรื่องควรรู้

อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้

ซึ่งการดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล ต้องถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ.2544 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

กรณีที่คุณต้องการจะใช้ “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก่อน

ปรุงอาหารฮาลาล “เห็ดหลินจือ”

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจโดยเฉพาะการค้าขาย มีก้าวแรกง่ายๆ เหมือนกันแทบทุกธุรกิจนั่นคือ การจดทะเบียนธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกดำเนินธุรกิจรูปแบบใด เช่น การประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล แต่ในกรณีที่คุณสนใจนำผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือเข้าสู่วงการอาหารฮาลาล จะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย นั่นคือ การขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเสียก่อน

เรื่องควรรู้

การจดทะเบียนธุรกิจ
  1. สหกรณ์ คุณเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ไหน ให้ไปพบผู้จัดการเพื่อขอใช้ชื่อของสหกรณ์ไปขออนุญาตผลิต
  2. วิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
  3. บุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตในกรุงเทพฯ
  4. นิติบุคคล จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. กลุ่ม OTOP หากประสงค์จะจดทะเบียน ให้ไปที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต
  6. SMEs จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด

หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงในกรณีที่มีรายได้จากการขายอาหารฮาลาล-ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร

ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกเห็ดหลินจือ ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนเช่นกัน โดยเมื่อคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม คุณมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษี เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรต่อไป

เพียงเท่านี้ คุณก็เป็นผู้ทำและจำหน่ายเห็ดหลินจือในวงการอาหารฮาลาลอย่างถูกต้องแล้ว

เรื่องควรรู้

ลักษณะทั่วไปของธุรกิจอาหารฮาลาล
  1. เป็นการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการจำหน่าย
  2. เป็นการประกอบกิจการซื้อสินค้ามาจำหน่าย ซึ่งลักษณะของสินค้าดังกล่าว คือ
  • พืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในสภาพสดหรือ รักษาสภาพไว้มิให้เสีย
  • ส่วนต่างๆ ของสัตว์ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้มิให้เสีย
  • ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป-การนำพืชหรือส่วนต่างๆ ของสัตว์มาทำการปรุงแต่ง แปรรูป หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ด้วยวิธีการถนอมอาหาร

แปรรูป “เห็ดหลินจือ” เจาะตลาดฮาลาลเมืองไทย

หลังจากคุณมีฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และต้องการผลิตเห็ดหลินจือ เป็นอาหารฮาลาลเพื่อจำหน่ายในประเทศ หลังจากคุณปฏิบัติตามมาตรฐานฮาลาลแห่งชาติ และได้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแล้ว คุณสามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากเห็ดหลินจือได้เลย

เรื่องควรรู้

เห็ดหลินจือ เป็นของหายาก มีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน ซึ่งสมัยโบราณเชื่อกันว่า เห็ดหลินจือเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ชะลอความแก่ และยังมีสรรพคุณอีกนานัปการ เห็ดหลินจือนั้นมีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมากกว่า 100 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่นิยมเพราะสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่าลูซิดั่ม (Ganodermalucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง

ทั้งนี้ การจะได้เห็ดหลินจือที่มีคุณภาพที่ดีนั้น ตัวเห็ดหลินจือเองจะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความชื้น แสงสว่าง และสารอาหารที่ได้รับ

ส่วนขั้นตอนการแปรรูป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะถือเป็นกระบวนการที่จะสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากตัวเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ การบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจไม่แพ้กัน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้ดี เพราะว่าความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้ เนื่องจากเห็ดหลินจือค่อนข้างไวต่อความชื้น

ซึ่งเมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าแล้ว อย่าลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย เพื่อนำไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ ภาษีเงินได้ และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ทั้งนี้ เห็ดหลินจือ (สภาพ สด หรือแห้ง) ที่คงรักษาสภาพไว้เพื่อไม่ให้เสีย ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)ก แห่งประมวลรัษฎากร แต่ เห็ดหลินจือแปรรูป บรรจุภาชนะจำหน่าย ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.28/2535

ดังนั้น หากสินค้าที่คุณขาย (ภายในประเทศ) เป็น "เห็ดหลินจือที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป" คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรื่องควรรู้

ว่าด้วย... อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ สารพันเห็ดหลินจือ
  • กรณีนำเข้าเห็ดหลินจือมาผลิตแล้วจำหน่ายในประเทศ หรือ กรณีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายในประเทศ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • กรณีนำเข้าเห็ดหลินจือมาผลิต หรือปลูก แล้วส่งออก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%
  • กรณีนำเข้าเห็ดหลินจือมาจำหน่าย หรือปลูกเห็ดหลินจือเพื่อจำหน่ายในประเทศ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีนำเห็ดหลินจือในประเทศมาผลิต แล้วจำหน่ายในประเทศ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • กรณีนำเห็ดหลินจือในประเทศมาผลิต แล้วส่งออก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”

ว่าด้วยการนำเข้า “เห็ดหลินจือ”

ทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือที่วางขายในท้องตลาดค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งมีทั้งการนำเข้าและผลิตในประเทศ และการนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็รรูป

ในกรณีที่ธุรกิจของคุณต้องมีการใช้เห็ดหลินจือสายพันธุ์ต่างประเทศ หรือคุณต้องการนำเข้าวัตถุดิบอื่น รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต ปลูก หรือแปรรูปเห็ดหลินจือ รวมถึงนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาจำหน่าย/ส่งออกโดยตรง คุณสามารถดำเนินการได้โดยเริ่มต้นจาก การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากร ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการขอใบอนุญาตนำเข้า เห็ดหลินจือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. )

ต่อมาจึงผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า โดยคุณจะต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่คุณจะนำเข้า ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหลินจือ วัตถุดิบอื่น หรือวัสดุอุปกรณ์ใดๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เห็ดหลินจือ 0712.39.90 40%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

ทั้งนี้ นอกจากคุณต้องรับผิดชอบชำระอากรขาเข้าแล้ว ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และ รายละเอียดสินค้าคงเหลือด้วย เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่คุณต้องชำระต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”

สถิติการนำเข้า-ส่งออก (เห็ดหลินจือ)

ปีภาษี ยอดขายรวม (บาท) ยอดส่งออก (บาท) ยอดนำเข้า (บาท)
2555 210,909,624.02 6,827,389.00 68,737,480.00
2554 230,292,189.49 14,906,535.00 64,231,775.00
2553 198,452,241.32 13,104,180.00 62,384,344.00
2552 156.604,574.22 4,786,372.00 68,412,246.00

ส่งออก "เห็ดหลินจือ" สู่ตลาดฮาลาลระดับโลก

เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในกล่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ประกอบกับตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดใหญ่ ด้วยจำนวนผู้บริโภคชาวมุสลิมที่มีอยู่หลายล้านคนทั่วโลก ดังนั้น การส่งออกเห็ดหลินจือในกลุ่มอาหารฮาลาลไปทำตลาดในต่างประเทศ จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำเงินให้กับคุณได้ไม่น้อย

งหากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย

แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ คุณสามารถเริ่มธุรกิจส่งออกได้โดยการลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless จากนั้นก็สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้ แต่ที่สำคัญเมื่อธุรกิจของคุณสร้างรายได้แล้วต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ เพื่อช่วยนำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศด้วย

เรื่องควรรู้

รายงานที่ต้องจัดทำ
  1. รายงานภาษีขาย (สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  2. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  3. รายงานแสดงรายได้และรายจ่าย (สำหรับบุคคลธรรมดาที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

    การลงรายการให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการลงรายงาน

  • สำเนาใบกำกับภาษี
  • Invoice
  • Packing List
  • สำเนาใบขนสินค้าขาออก
  • หลักฐานการรับชำระเงิน

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

รายได้งอกงาม... ต้องชำระภาษี

การผลิต “อาหารฮาลาล-ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ” ออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องควรรู้

คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิต จำหน่าย "อาหารฮาลาล-ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ" ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต "อาหารฮาลาล-ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ" ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

และในกรณีที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ “เห็ดหลินจือ”

หากคุณเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้อง นอกเหนือจากการยกเว้น/ ลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกแล้ว หากคุณเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือเอสเอ็มอี ที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้านบาท คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และการคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า อีกด้วย ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม “หน้าที่” ช่วยกัน “เสียภาษี” เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ