คลินิกภาษีเครื่องปรับอากาศ

“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอาศัย และ อาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งเรารู้จักกันดี      ผู้ประกอบการธุรกิจ เครื่องปรับอากาศในประเทศไทยนั้น มีทั้งนำเข้าเครื่องปรับอากาศ นำเข้าชิ้นส่วนประกอบ เพื่อผลิตและจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ โดยนอกจากต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษี” เพื่อให้ธุรกิจเครื่องปรับอากาศดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า แจ้งวันเวลาทำการผลิต ออกใบกำกับภาษี
(ผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขอยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(เฉพาะชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบในการผลิตสินค้าเครื่องปรับอากาศ)
แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน จัดทำรายงานภาษี
(ผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขอยกเว้น/ขอคืน
ภาษีสรรพสามิต
ชำระภาษีสรรพสามิต
(ศุลกากรรับชำระภาษี แทนกรมสรรพสามิต)
จัดทำบัญชีประจำวัน และงบเดือน   จัดทำรายงานภาษี
จัดทำรายงานภาษี ขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
(สินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิตไว้แล้ว)
  ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร (ศุลกากรจัดเก็บแทน) ชำระภาษีสรรพสามิต  
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

“เครื่องปรับอากาศ” ของ 3 กรมภาษี

กรมสรรพากร: "เครื่องปรับอากาศ" เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการทำงานลักษณะของระบบควบคุมอุณหภูมิ (ทั้งแบบทำความเย็นและทำความร้อน) ควบคุมความชื้น ซึ่งผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น มีระบบการกรองอากาศ ระบบป้องกันเชื้อรา ระบบประหยัดไฟฟ้าหรือสามารถปรับอุณหภูมิได้ตามความต้องการชนิดของเครื่องปรับอากาศ

กรมศุลกากร: "เครื่องปรับอากาศ" หมายถึง เครื่องจักรที่ติดตั้งด้วยพัดลมหรือเครื่องเป่าลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ โดยมีการออกแบบเพื่อเปลี่ยนทั้งอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ (รวมถึงเครื่องจักรที่ไม่สามารถแยกควบคุมความชื้นต่างหากได้) เพื่อคงสภาวะอุณหภูมิและความชื้นที่ต้องการในพื้นที่ปิด สำหรับใช้ในสำนักงาน บ้าน ห้องประชุมสาธารณะ ยานยนต์ ฯลฯ และยังนำไปใช้ในสถานที่ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์บางชนิดทางอุตสาหกรรมที่ต้องการสภาวะบรรยากาศเป็นพิเศษ เช่น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระดาษ ยาสูบ หรืออาหาร เป็นต้น

กรมสรรพสามิต: "เครื่องปรับอากาศ" เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศให้เป็นไปตามความต้องการของพื้นที่หนึ่งๆ อาจเป็นห้อง หรือสถานที่ หรือภายในรถยนต์

ภาพรวมการจัดเก็บภาษีเครื่องปรับอากาศ

กระบวนการ หน่วยงาน
จัดเก็บภาษี
ภาษีที่จัดเก็บ ขั้นตอนสำคัญ
การเปิดกิจการ
กรมสรรพากร
  - การขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรมศุลกากร
จัดเก็บภาษีสรรพสามิต แทนกรมสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มแทนกรมสรรพากร
ภาษีศุลกากร
(นำเข้า)
- การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิคส์ (e-Import) (เฉพาะการนำเข้าครั้งแรก)
- การผ่านพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์
การนำเข้า
กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
- การชำระภาษีสรรพสามิต

กรมสรรพากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
- การจัดทำรายงานภาษี
- การยื่นแบบแสดงรายการ (ใบขนฯ)
การผลิต และจำหน่ายในประเทศ
กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต - การจดทะเบียนภาษีสรรพสามิต
- การแจ้งการผลิตและการขาย
- การชำระภาษีสรรพสามิต

กรมสรรพากร
ภาษีเงินได้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี
- การยื่นแบบแสดงรายการ
การส่งออก
ต่างประเทศ

กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต - ขอยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี

กรมศุลกากร
ภาษีศุลกากร
(ส่งออก)
- การผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิคส์ (e-Export)

กรมสรรพากร
ภาษีเงินได้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี
- การยื่นแบบแสดงรายการ

ปรับสถานะกิจการเครื่องปรับอากาศ

การเริ่มต้นธุรกิจเครื่องปรับอากาศ คุณต้องยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

และต้องดำเนินการทางภาษีเบื้องต้นกับกรมสรรพากร ได้แก่

  • ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าหรือบริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ นำเข้า และส่งออกต่างประเทศ ดังนั้น หากคุณมีรายได้จากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน

รู้เฟื่อง...เรื่องเครื่องปรับอากาศ

ครื่องปรับอากาศแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามการใช้งาน ดังนี้

  1. แบบติดตั้งหน้าต่าง: เป็นเครื่องปรับอากาศที่ชิ้นส่วนทุกชิ้นที่เป็นส่วนประกอบ ติดตั้งรวมกัน มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยไม่นิยมเครื่องปรับอากาศชนิดนี้แล้ว
  2. แบบแยกส่วน: เครื่องปรับอากาศชนิดนี้มีการแยกส่วนประกอบออกเป็น 2 ส่วน คือ
    1. ส่วนที่อยู่ภายในห้องหรืออาคาร เรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ดกระจายลมเย็น
    2. อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่ภายนอกห้องหรือตัวอาคาร เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อน ทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น

    เครื่องปรับอากาศชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 7,000-30,000 บีทียู/ชม. นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทย สำหรับบ้านเดี่ยว หรือตึกแถว โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือติดตั้งแบบตั้งพื้น
  3. แบบมีระบบควบคุมรวมกัน: เป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 5 ตัน หรือ 60,000 บีทียู/ชม.ขึ้นไป เป็นระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ระบบทำความเย็นด้วยน้ำ และมีท่อส่งความเย็นไปยังห้องต่างๆ นิยมใช้สำหรับอาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารจัดแสดงสินค้าหรือศูนย์ประชุมต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

และในกรณีที่มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเครื่องปรับอากาศ คุณก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด จะต้องจัดทำรายงานภาษีเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

รู้เฟื่อง...เรื่องภาษีน่ารู้

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ

  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “ใบกำกับภาษี”
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี”

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

ภาษี “ผู้ผลิต” เครื่องปรับอากาศ

ประเทศไทยของเรานั้นมีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบได้จำนวนมาก และมีราคาถูก ทำให้การผลิตเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันจะใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศกว่าร้อยละ 80 ของต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่เป็นคนไทย ใช้เครื่องหมายการค้าของตนเอง และเครื่องปรับอากาศที่ผลิตได้จะมีขนาดต่ำกว่า 30,000 บีทียู/ชม. แต่หากเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ อาจจะต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 60 จากต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด

รู้เฟื่อง...เรื่องเครื่องปรับอากาศ

เราสามารถแยกประเภทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศภายในประเทศ ออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าอเมริกา มีฐานเดิมมาจากกลุ่มผู้แทนผู้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาในยุคแรก ทำการผลิตโดยใช้ลิขสิทธิ์ หรือโดยการร่วมทุนก่อตั้งโรงงาน
  2. ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อดังของญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นมักจะผลิตเครื่องปรับอากาศด้วย
  3. ผู้ผลิตคนไทย โดยนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สำคัญมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป
  4. ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ เพื่อใช้ในโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูป และส่งออกในรูปชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไปต่างประเทศ

และกรณีที่คุณจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศนี้ นอกเหนือจากการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรแล้ว เมื่อคุณจะเริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศภายในประเทศ คุณต้องขอจดทะเบียนภาษีสรรพสามิตกับกรมสรรพสามิต

พร้อมทั้งแจ้งวันเวลาทำการผลิต รวมถึงแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม และเมื่อคุณเดินเครื่องผลิตและเริ่มจำหน่ายสินค้า คุณมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีประจำวัน และงบเดือน เพื่อใช้ประกอบการยื่นชำระภาษีสรรพสามิตภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจำหน่ายโดยมีหลักประกันให้ ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นชำระภาษีสรรพสามิตได้ 2 วิธี คือ

  1. ชำระภาษี แล้วรับแสตมป์ (จ่ายสด)
  2. ทำสัญญา วางประกัน แล้วรับแสตมป์ ก่อนชำระภาษี (วางเงินประกัน แล้วจ่ายภายหลัง)

เมื่อดำเนินการชำระภาษีสรรพสามิตแล้ว คุณจะได้รับ แสตมป์สรรพสามิตสำหรับปิดบนสินค้า เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่าได้มีการชำระภาษีสรรพสามิตอย่างถูกต้องแล้ว

และเพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจของผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศไทย คุณสามารถยื่น ขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิตสำหรับวัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศ มาหักออกจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียได้อีกด้วย

รู้เฟือง...เรื่องเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี คือ เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • Cooling Unit หรือ Fan Coil Unit หรือ Indoor Unit ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็น (Evaporator) และพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์
  • Condensing Unit ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน (Condenser) พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทั้งนี้ ให้รวมถึง Condensing Unit ที่มีการใช้แผงระบายความร้อนร่วมกัน แต่มีคอมเพรสเซอร์หลายตัว โดยที่คอมเพรสเซอร์แต่ละตัวสามารถทำความเย็นได้ไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศชนิดที่ใช้กับรถยนต์ คิดเป็น อัตราร้อยละ 15 ของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม นอกเหนือจากนั้นได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 86) ลงวันที่ 2 กันยายน 2552

ในกระบวนการผลิตเครื่องปรับอากาศนี้ อาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ คุณต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ตลอดจนการจ้างผลิตสินค้า การให้เช่า และการประกันวินาศภัย เป็นต้น

นอกจากนี้ในกรณีที่คุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน คุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน โดยลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป เมื่อถึงสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”

รู้เฟื่อง...เรื่องเครื่องปรับอากาศ

กรณีเป็น "ผู้นำเข้า" เครื่องปรับอากาศ

การจะเป็นผู้นำเข้าเครื่องปรับอากาศหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศเข้ามาขายในประเทศ นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจดทะเบียนภาษีสรรพสามิตแล้ว

คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless)เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งต่อไปหากคุณจะส่งออกเครื่องปรับอากาศและ/หรือชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศไปยังต่างประเทศ ก็ไม่ต้องลงทะเบียนอีก

จากนั้นจึงดำเนินการตาม พิธีการนำเข้าทางศุลกากร ที่ด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ ซึ่งคุณต้องชำระภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศ ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ณ ด่านศุลกากรขาเข้าด้วย (เจ้าหน้าที่ศุลกากรดำเนินการเก็บภาษีแทนกรมสรรพสามิต)

นอกจากนี้คุณควรศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้า ที่จะนำเข้าว่ามีพิกัดเท่าไร เช่น เครื่องปรับอากาศ และ/หรือชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เพื่อใช้ในการคำนวณ อัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระให้กับกรมสรรพากร (ศุลกากรจัดเก็บแทน) และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปด้วย

รายการเครื่องปรับอากาศ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
แบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง 8415.10.00 30%
ชนิดที่ใช้สำหรับบุคคลในยานยนต์ 8415.20.00 30%
ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ 8415.90.19 10%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า

เมื่อ “ส่งออก” เครื่องปรับอากาศ

หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรส่งออก (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน

และก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่านขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้าของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรต่อไป

นอกจากนี้ คุณยังสามารถยื่น ขอยกเว้น คืนภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าส่งออกประเภทเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย

รู้เฟื่อง...เรื่องภาษีน่ารู้

ปัจจุบันกรมศุลกากรได้มอบสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการสินค้าส่งออก โดยไม่เรียกเก็บค่าอากรขาออกทุกชนิด ยกเว้น

  1. เฉพาะเศษตัด เศษและผงของหนังโคและหนังกระบือ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำหนัง และผลิตหนัง
  2. ไม้และไม้แปรรูป เฉพาะไม้รวก เฉพาะไม้วีเนียร์ และอื่นๆ และสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ยังได้รับสิทธิพิเศษในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 อีกด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

เมื่อมีรายได้จากการจำหน่าย

การผลิตเครื่องปรับอากาศออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องปรับอากาศ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

รู้เฟื่อง...เรื่องภาษีน่ารู้

คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

    โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อการผลิตเครื่องปรับอากาศ ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

ส่วนกรณีที่คุณขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย

ข่าวดี...ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศนะ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ