คลินิกภาษีผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้

น้ำปลา เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร ได้จากการหมักปลากับเกลือซึ่งเป็นกรรมวิธีการแปรรูปที่รู้จักกันทั่วไปใน ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำปลามากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค ทั้งน้ำปลาผสม น้ำปลาจากการหมักสัตว์ประเภทอื่นที่ไม่ใช่ปลา และที่นิยมมากที่สุดคือ น้ำปลาแท้

ในย่างก้าวของธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้นั้นมีเรื่องเกี่ยวกับ “ภาษี” ที่คุณต้องทำความเข้าใจอยู่หลายอย่าง ซึ่งคุณควรดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายน้ำปลาแท้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ขออนุญาตนำเข้าอาหาร ตาม พ.ร.บ.อาหาร (อย.) ขออนุญาตผลิตอาหาร ขออนุญาตจำหน่ายอาหาร/ การแสดงฉลาก ควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ขออนุญาตจำหน่ายอาหาร/แสดงฉลาก ควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และแสดงการจดทะเบียนอาหาร
ลงทะเบียน Paperless จดทะเบียนอาหาร ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร
(ศุลกากรจัดเก็บแทน)
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษี
    ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร


คลินิกภาษีผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้

ตั้งต้นกิจการ

หากต้องการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ คุณต้องเริ่มต้นดำเนินกิจการด้วยการขออนุญาตตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำปลา กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

จากนั้นยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการยื่นคำขอ,b>จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

และหากคุณผลิตน้ำปลาแท้ออกจำหน่ายจนมีรายได้จากการขายน้ำปลาแท้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย หรือกรณีรายได้ของคุณไม่เกินนี้ แต่ต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้เช่นกัน

รู้เฟือง...เรื่อง รายงานภาษี

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ

  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “ใบกำกับภาษี”
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี”

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

เรื่องภาษีของ “ผู้ผลิต” น้ำปลาแท้เพื่อจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ “น้ำปลาแท้” นั้น ได้จากการหมักหรือย่อยปลา ส่วนต่างๆ ของปลา หรือกากของปลา ตามกรรมวิธีการผลิตน้ำปลา ดังนั้น วัตถุดิบที่เป็นหัวใจสำคัญในการผลิตน้ำปลา คือ “ปลาสด” และเพื่อให้ได้น้ำปลาคุณภาพดีผู้ผลิตน้ำปลาส่วนใหญ่นิยมใช้ “ปลากะตักใหญ่” หรือเรียกอีกชื่อว่า “ปลาไส้ตัน” นั่นเอง

เรื่องน้ำปลา น่ารู้

การผลิตน้ำปลาถือเป็นการถนอมอาหารด้วยวิธีการหมักเกลือ การหมักทิ้งไว้นานๆ เช่นนี้เนื้อปลาจะถูกย่อยจนหมดและกลายเป็นกรดอะมิโนที่ละลายอยู่ในของเหลวที่ซึมออกมาจากตัวปลา ทำให้น้ำปลาอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดอะมิโนที่จำเป็นอย่าง “ไลซีน” วิตามินบี 12 และแร่ธาตุต่างๆ

นอกจากนี้กระบวนการหมักยังทำให้เกิดกลิ่นหอมและเกิดรสชาติที่อร่อย เหมาะสำหรับการนำไปปรุงรสอาหาร ส่วนสีน้ำตาลทองของน้ำปลาที่ได้นั้นเกิดจากปฏิกิริยาจากการหมัก ประกอบกับเมื่อน้ำปลาได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นและออกซิเจนในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้สีของน้ำปลาเข้มขึ้นตามไปด้วย

ผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำปลานั้น สามารถแบ่งตามลักษณะการดำเนินธุรกิจได้เป็น 2 ประเภท

  1. ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตผลิตอาหาร แต่ให้ขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารไม่เข้าข่ายโรงงานกับศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินสถานที่ประกอบการ แล้วออกเลขสถานที่ผลิตอาหารไม่เข้าข่ายโรงงานให้
  2. ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการต้อง ขออนุญาตผลิตอาหาร กับศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินสถานที่ประกอบการ แล้วออกใบอนุญาตผลิตอาหารให้

ขั้นตอนต่อไปของผู้ประกอบการผลิตน้ำปลาทั้ง 2 ประเภทคือ ต้องยื่นขอจดทะเบียนอาหาร และขอรับเลขสารบบอาหาร กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เรื่องน้ำปลา น่ารู้

เรื่องควรรู้สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจน้ำปลา
  1. ผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้เป็นสินค้าในหมวดอาหารและยา ที่ต้องบังคับให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  2. โรงงานผลิตน้ำปลาที่มีขนาดการผลิตตามเงื่อนไขต้องจดทะเบียนโรงงานผลิต (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม (สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม) กับกระทรวงอุตสาหกรรม
  3. ต้องขออนุญาตประกอบการ และจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. สลากและเครื่องหมายการค้า ต้องจดทะเบียนและปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดข้อความในฉลาก กับกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

ระหว่างกระบวนการผลิตน้ำปลาแท้จะมีภาษีหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณนั่นคือ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาไส้ตัน เกลือ เครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส และอุปกรณ์ต่างๆ ราคาของที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้จ่ายภาษีในส่วนนี้
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิต อาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ เช่น การคัดแยกปลา กระบวนการหมัก ฯลฯ ซึ่งเรื่องของภาษีที่ต้องดำเนินการคือ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ตลอดจนการจ้างผลิตสินค้า การให้เช่า และการประกันวินาศภัย เป็นต้น

นอกจากนี้คุณจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน โดยต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป เมื่อถึงสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

“นำเข้า” สร้างความอินเตอร์ให้น้ำปลา

เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำปลาจัดเป็นอาหารประเภท “กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน” การจะเป็นผู้นำเข้า “ปลาไส้ต้น” หรือ “เนื้อปลาป่น” เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำปลาแท้ หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาสำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศ คุณจึงต้องขออนุญาตนำเข้าอาหารตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

โดยต้องมี ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนนี้สามารถติดต่อยื่นเรื่องได้ที่ “ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา” หรือ “กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด”

จากนั้นคุณต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) แล้วจึงดำเนินการตาม พิธีการนำเข้าทางศุลกากร ที่ด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ โดยต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรปลาไส้ตัน เนื้อปลาป่น ขวดบรรจุภัณฑ์ เครื่องปรุงรส น้ำปลาแท้สำเร็จรูป หรือวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ ณ ด่านศุลกากร

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ 2103.90.30 5%
ปลากะตักใส่เกลือหรือแช่น้ำเกลือ 0305.63.00 5%
เกลือทะเล 2501.00.90 10%
น้ำตาลทราย 1701.14.00 3.50 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

ทั้งนี้ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”

สร้างชื่อด้วยการ “ส่งออก”

ในการส่งออกน้ำปลาแท้นั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่านขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการลงทะเบียน Paperless กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกสินค้าของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ที่ต้องการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ต้องยื่นเอกสารการจดทะเบียนอาหารที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ด่านศุลกากรขาออก รวมถึงมีการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เพื่อแสดงหลักฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำปลาที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด อีกทั้งยังต้องผ่านการพิจารณาจาก “สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” เพื่อรับรอง มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย

เรื่องน้ำปลา น่ารู้

เรื่อง “มาตรฐาน” น้ำปลาน่ารู้

มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดไว้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ต้องมีกลิ่น และรสชาติของน้ำปลาแท้
  • ต้องใส สะอาด ไม่มีวัตถุอื่นเจือปน ยกเว้นวัตถุที่ได้มาจากกระบวนการหมักทางธรรมชาติเท่านั้น (ต้องไม่เกิน 0.1 กรัมต่อ 1 ลิตร)
  • มีส่วนผสมของเกลือ (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ไม่ต่ำกว่า 200 กรัมต่อ 1 ลิตร
  • ต้องมีปริมาณของโปรตีนไม่ต่ำกว่า 9 กรัมต่อ 1 ลิตร
  • มีกรดอะมิโนไนโตรเจนอยู่ระหว่าง 40-60% ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด
  • มีกรดกลูตามิคต่อปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดอยู่ระหว่าง 0.4-0.8
  • ไม่เจือสีใดๆ ยกเว้นสีที่ได้จากน้ำตาลคาราเมล
  • ไม่ใส่สารให้รสหวานใดๆ ยกเว้นน้ำตาล

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

เมื่อมีการจำหน่ายและรายได้งอกงาม

ก่อนที่คุณจะนำผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ออกวางจำหน่ายได้นั้น คุณต้องดำเนินการกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เกี่ยวกับการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร โดยดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก ดังนี้

  • น้ำปลาแท้ที่ได้จากการหมัก หรือย่อยปลา หรือส่วนของปลา หรือกากของปลาที่เหลือจากการหมัก ตามกรรมวิธีการผลิตน้ำปลา ให้ใช้ชื่อว่า “น้ำปลาแท้
  • กรณีที่มีการใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ ให้แสดงข้อความ “ใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต” ด้วยตัวอักษรเส้นทึบสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร
  • น้ำปลาที่ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล ต้องแสดงข้อความ “ใช้ …… เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล” ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นฉลาก
  • ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด (ถ้ามี)

ทั้งนี้ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายน้ำปลาแท้ ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ดังนี้

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้นั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องภาษี น่ารู้

คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  • ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
  • ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายน้ำปลาแท้จากโรงงานของคุณ อาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับกรณีที่น้ำปลาแท้สร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากรได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย

ข่าวดี...ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ