คลินิกภาษีผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา

ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังคงมีอยู่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากไม้ยางพารามีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีความสวยงาม จึงเป็นลู่ทางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ

ซึ่งคุณต้องศึกษากระบวนการผลิต คุณสมบัติของไม้ การใช้ประโยชน์ และการนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ได้มากที่สุด และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือการเรียนรู้เรื่องการเสียภาษี ตามหน้าที่อย่างถูกต้อง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียนธุรกิจพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (เมื่อมีรายได้จากการขายเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท)
ลงทะเบียน Paperlesss ขออนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรม
(กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
แสดงใบรับรองถิ่นกำเนิด ขออนุญาตมีวัตถุไวไฟไว้ในครอบครอง จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก (กรมป่าไม้)
ขออนุญาตนำเข้าสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน
(กรมสรรพสามิต)
ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ขอประกอบการโรงงานเกี่ยวกับป่าไม้ (พ.ร.บ.ป่าไม้)  
ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ขอประกอบการแปรรูปไม้อนุญาต
(พ.ร.บ.ป่าไม้)
 
ออกใบกำกับการขนย้ายจากกรมศุลกากร
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี

รู้จัก “ไม้ยางพารา”

ประเทศไทยของเรามีพื้นที่ทำการปลูกไม้ยางพาราประมาณ 12.3 ล้านไร่ โดยมีการนำไม้ยางพารานี้ไปทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ทำให้ความต้องการไม้ยางพารามีอัตราที่เพิ่มขึ้น ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้ที่มีความสวยงาม คงทน แข็งแรง อีกทั้งราคาไม่แพงมากนัก ประกอบกับง่ายต่อการดูแล และยังมีรูปแบบให้เลือกหลากหลายทั้ง Classic Style และ Modern Style

เรื่องนี้ต้องขยาย

สินค้าที่ได้จากการแปรรูปไม้ยางพารา ได้แก่

  1. เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ชุดรับประทานอาหาร ชุดรับแขก
  2. เครื่องครัว ของใช้ในบ้าน ชั้นวางของ กรอบรูป
  3. แผ่นชิ้นไม้อัด (Particle board)
  4. ของเล่นไม้
  5. ไม้เสาเข็มก่อสร้าง
  6. ลังไม้ แท่นรองสินค้า ล้อสำหรับม้วนสายไฟ และอื่นๆ

ก้าวแรกของเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา

หากคิดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา คุณต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกับพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ

จากนั้นจึงยื่นขอมี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และสำหรับกรณีที่คุณขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้อง ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน โดยมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งเมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็มีหน้าที่ต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อประกอบการ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากรต่อไป

หัวใจสำคัญของ “การผลิต”

เมื่อคุณจดทะเบียนธุรกิจ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ/หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่คุณต้องดำเนินการหากจะทำการผลิต “เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา” คือ

  • ขออนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรม กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ขออนุญาตมีวัตถุไวไฟไว้ในครอบครอง
  • ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ขอประกอบการโรงงานเกี่ยวกับป่าไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
  • ขอประกอบการแปรรูปไม้อนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้

เมื่อทำการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะดำเนินการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราได้

เรื่องนี้ต้องขยาย

ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้จะต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.พระราชบัญญัติป่าไม้: การแปรรูปไม้อนุญาต การประกอบโรงงานเกี่ยวกับไม้ การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้หวงห้ามออกนอกเขตที่กำหนด การจัดทำบัญชีไม้แสดงการได้มาและจ่ายไป การจัดทำบัญชีสถิติแสดงการดำเนินการของผู้รับอนุญาตประดิษฐ์ฯ ที่ทำด้วยไม้หวงห้าม การขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก

2.กฎหมายอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การขออนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรม การขออนุญาตมีวัตถุไวไฟไว้ในครอบครอง การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การขออนุญาตผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทยส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิตตามใบสั่งซื้อของลูกค้าที่กำหนดรูปแบบมาให้ และการผลิตโดยมีการดัดแปลงรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ของต่างประเทศ ซึ่งไม้เนื้ออ่อนอย่างไม้ยางพารานี้มีจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนอย่างต่อเนื่อง (วัตถุดิบที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ) แต่วัตถุดิบและวัสดุบางส่วนยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอยู่ เช่น วัสดุที่ใช้ยึดชิ้นงาน กาว ตะปูยิง เป็นต้น

เรื่องนี้ต้องขยาย

กรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา

ขั้นที่ 1: ตัดไม้แบบหยาบ โดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วมาตัดขนาดคร่าวๆ

ขั้นที่ 2: ไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง ปรับหน้าและปรับขนาดไม้ให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการแล้วนำไปเข้าเครื่องไส

ขั้นที่ 3: ตัดขนาดตามแบบของชิ้นงานหลังจากผ่านขั้นตอนการขึ้นรูป

ขั้นที่ 4: เจาะรูเดือยและทำเดือย โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการตัดขนาดมาเจาะรูหรือทำเดือย เพื่อเป็นส่วนยึดกันระหว่างชิ้นงาน

ขั้นที่ 5: ประสานไม้ การอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม

ขั้นที่ 6: ขัดให้เรียบด้วยเครื่องขัดเพื่อลบรอยไสให้เรียบ

ขั้นที่ 7: ชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้

ขั้นที่ 8: ประกอบชิ้นส่วนโดยใช้วัสดุยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น

ขั้นที่ 9: ทำสีตามวิธีการ ตั้งแต่อุดแต่ง ขัดผิว ย้อมสี พ่นรองพื้น ขัดตกแต่งผิว พ่นเคลือบผิวหน้า โดยชิ้นงานจะผ่านขั้นตอนการผลิตตามระบบสายพานลำเลียง

ขั้นที่ 10: ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราคือ คุณจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน)

กรณีนำเข้า
สินค้า/วัตถุดิบ
กรณีนำเข้าไม้/ชิ้นส่วน/อุปกรณ์มาผลิตเฟอร์นิเจอร์แล้วจำหน่ายในประเทศ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
กรณีนำเข้าไม้/ชิ้นส่วนมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ แล้วส่งออก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%
กรณีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราสำเร็จรูปมาจำหน่าย ในประเทศ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
กรณีใช้วัตถุดิบ
ในประเทศ
กรณีนำไม้/ชิ้นส่วนในประเทศมาผลิตแล้วจำหน่ายในประเทศ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
กรณีนำไม้/ชิ้นส่วนในประเทศมาผลิตแล้วส่งออก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%

และเมื่อมีรายได้คุณจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อและ/หรือนำเข้าไม้ยางพารา หรือวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เช่น กาว ตะปูยิง น้ำยาชุบ/เคลือบ และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

และกรณีที่คุณขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

นำเข้าอย่างเข้าใจ

กรณีที่ “ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา” ของคุณ มีการนำเข้าวัตถุดิบ และ/หรือเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ สิ่งที่คุณต้องดำเนินการหลังจดทะเบียนธุรกิจ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และขออนุญาตดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนการผลิตแล้ว

สิ่งแรกที่ต้องทำในการนำเข้าสินค้าใดๆ ก็คือ การ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอมีชื่อเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น (หากคุณจะส่งออกสินค้าก็ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)

จากนั้นคุณจึง ผ่านพิธีการนำเข้า กับกรมศุลกากร ซึ่งคุณต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากร สินค้าที่จะนำเข้าให้ดี เช่น พิกัดอัตราศุลกากรไม้ยางพารา เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา น้ำยาชุบ/เคลือบไม้ กาว ตะปูยิง และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการคำนวณ อัตราอากรขาเข้า

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในสำนักงาน 9403.30.00 20%
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในครัว 9403.40.00 20%
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในห้องนอน 9403.50.00 20%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

โดยขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้านี้มีเอกสารที่คุณต้องแสดงคือ บัญชีราคาสินค้า (Invoice) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) หรือมีหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออก ใบเบิกทาง หนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม

เรื่องนี้ต้องขยาย

ในกิจการเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา มักมีการนำเข้า "สารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน" ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้น คุณต้อง ยื่นขออนุญาตนำเข้าสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน กับกรมสรรพสามิต และศึกษาระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการขอยกเว้นภาษีสำหรับสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 2)

โดยคุณจะมีหน้าที่ใน การจัดทำบัญชีงบเดือน ติดตัวมาด้วย ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ใช้ ต้องจัดทำบัญชีประจำวันแสดงการรับ-จ่ายสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน ตามแบบ สค.03 พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารประกอบการขนส่งเก็บไว้ประจำสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบได้ตลอดเวลา และต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีเหตุที่จะต้องลงรายการนั้นเกิดขึ้น และให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ลงรายการนั้น

2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ใช้ ต้องทำงบเดือนแสดงการรับ-จ่าย และการนำสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอนไปใช้ในอุตสาหกรรม ตามแบบ สค.04 และ สค.04ก และนำส่งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตทราบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จากนั้นจึงทำการติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกของและนำของออกอารักขาศุลกากร โดยทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ของกรมศุลกากร และคุณต้องจัดเก็บและรักษาเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ส่งข้อมูล

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

โกยเงินล้านด้วยการส่งออก

ตลาดของไม้ยางพาราส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ประเทศไทยเองก็ติดอันดับการผลิตไม้ยางพาราเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทยส่วนใหญ่เน้นการใช้แรงงานคน และเครื่องจักรเก่า จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเติมการพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น

และในขั้นตอนการส่งออก สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก กับกรมป่าไม้ จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการส่งออก โดยส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (กรณีที่คุณเคยลงทะเบียน Paperless มาแล้ว หากไม่เคยลงทะเบียน ต้องยื่นขอลงทะเบียนกับกรมศุลกากรก่อน) พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน

ทั้งนี้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ได้รับการยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก ประเภทที่ 9 (อัตราอากรเป็น 0%) ส่วนการบรรจุสินค้าต้องดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาหรือติดต่อ Customs Broker ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร และคุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำสินค้าเข้าไปด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

ประเทศคู่ค้าไม้ยางพารา/เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และปัจจุบันขยายตลาดไปยังประเทศแถบยุโรป เช่น อังกฤษ ซึ่งระบบสั่งซื้อสินค้าในต่างประเทศโดยเฉพาะแถบยุโรป จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น

  • ไม้ที่ใช้ในการผลิตต้องได้รับการรับรอง FSC หรือมีใบรับรองแหล่งไม้ที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการป่าไม้ยั่งยืน
  • กาวที่ใช้ต้องไม่มีฟอร์มมัลดีไฮน์
  • สีที่ใช้ต้องปราศจากสารพิษ
  • เป็นสินค้าที่อนุรักษ์ธรรมชาติ (Eco Labeling) มาตรฐานฉลากเขียว (Green Labeling)

**ปัจจุบันสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดไม้ได้ เฉพาะไม้ที่กรมป่าไม้กำหนดไว้เพียง 22 ชนิด

และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในขั้นตอนของการส่งออกคือ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป โดยต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกัน "เสียภาษี" เพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ