ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังคงมีอยู่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากไม้ยางพารามีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีความสวยงาม จึงเป็นลู่ทางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ
ซึ่งคุณต้องศึกษากระบวนการผลิต คุณสมบัติของไม้ การใช้ประโยชน์ และการนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ได้มากที่สุด และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือการเรียนรู้เรื่องการเสียภาษี ตามหน้าที่อย่างถูกต้อง
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนธุรกิจพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (เมื่อมีรายได้จากการขายเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท) | |||
ลงทะเบียน Paperlesss | ขออนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรม
(กรมโรงงานอุตสาหกรรม) | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ลงทะเบียน Paperless |
แสดงใบรับรองถิ่นกำเนิด | ขออนุญาตมีวัตถุไวไฟไว้ในครอบครอง | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก (กรมป่าไม้) |
ขออนุญาตนำเข้าสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน
(กรมสรรพสามิต) | ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
| ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ขอประกอบการโรงงานเกี่ยวกับป่าไม้ (พ.ร.บ.ป่าไม้) |
| ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี |
จัดทำรายงานภาษี | ขอประกอบการแปรรูปไม้อนุญาต
(พ.ร.บ.ป่าไม้) |
| ออกใบกำกับการขนย้ายจากกรมศุลกากร |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
ประเทศไทยของเรามีพื้นที่ทำการปลูกไม้ยางพาราประมาณ 12.3 ล้านไร่ โดยมีการนำไม้ยางพารานี้ไปทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ทำให้ความต้องการไม้ยางพารามีอัตราที่เพิ่มขึ้น ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้ที่มีความสวยงาม คงทน แข็งแรง อีกทั้งราคาไม่แพงมากนัก ประกอบกับง่ายต่อการดูแล และยังมีรูปแบบให้เลือกหลากหลายทั้ง Classic Style และ Modern Style
สินค้าที่ได้จากการแปรรูปไม้ยางพารา ได้แก่
หากคิดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา คุณต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกับพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
จากนั้นจึงยื่นขอมี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และสำหรับกรณีที่คุณขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้อง ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน โดยมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งเมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็มีหน้าที่ต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อประกอบการ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากรต่อไป
เมื่อคุณจดทะเบียนธุรกิจ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ/หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่คุณต้องดำเนินการหากจะทำการผลิต “เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา” คือ
เมื่อทำการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะดำเนินการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราได้
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้จะต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.พระราชบัญญัติป่าไม้: การแปรรูปไม้อนุญาต การประกอบโรงงานเกี่ยวกับไม้ การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้หวงห้ามออกนอกเขตที่กำหนด การจัดทำบัญชีไม้แสดงการได้มาและจ่ายไป การจัดทำบัญชีสถิติแสดงการดำเนินการของผู้รับอนุญาตประดิษฐ์ฯ ที่ทำด้วยไม้หวงห้าม การขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก
2.กฎหมายอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การขออนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรม การขออนุญาตมีวัตถุไวไฟไว้ในครอบครอง การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การขออนุญาตผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทยส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิตตามใบสั่งซื้อของลูกค้าที่กำหนดรูปแบบมาให้ และการผลิตโดยมีการดัดแปลงรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ของต่างประเทศ ซึ่งไม้เนื้ออ่อนอย่างไม้ยางพารานี้มีจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนอย่างต่อเนื่อง (วัตถุดิบที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ) แต่วัตถุดิบและวัสดุบางส่วนยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอยู่ เช่น วัสดุที่ใช้ยึดชิ้นงาน กาว ตะปูยิง เป็นต้น
ขั้นที่ 1: ตัดไม้แบบหยาบ โดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วมาตัดขนาดคร่าวๆ
ขั้นที่ 2: ไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง ปรับหน้าและปรับขนาดไม้ให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการแล้วนำไปเข้าเครื่องไส
ขั้นที่ 3: ตัดขนาดตามแบบของชิ้นงานหลังจากผ่านขั้นตอนการขึ้นรูป
ขั้นที่ 4: เจาะรูเดือยและทำเดือย โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการตัดขนาดมาเจาะรูหรือทำเดือย เพื่อเป็นส่วนยึดกันระหว่างชิ้นงาน
ขั้นที่ 5: ประสานไม้ การอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม
ขั้นที่ 6: ขัดให้เรียบด้วยเครื่องขัดเพื่อลบรอยไสให้เรียบ
ขั้นที่ 7: ชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้
ขั้นที่ 8: ประกอบชิ้นส่วนโดยใช้วัสดุยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น
ขั้นที่ 9: ทำสีตามวิธีการ ตั้งแต่อุดแต่ง ขัดผิว ย้อมสี พ่นรองพื้น ขัดตกแต่งผิว พ่นเคลือบผิวหน้า โดยชิ้นงานจะผ่านขั้นตอนการผลิตตามระบบสายพานลำเลียง
ขั้นที่ 10: ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราคือ คุณจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน)
กรณีนำเข้า สินค้า/วัตถุดิบ |
กรณีนำเข้าไม้/ชิ้นส่วน/อุปกรณ์มาผลิตเฟอร์นิเจอร์แล้วจำหน่ายในประเทศ | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% |
---|---|---|
กรณีนำเข้าไม้/ชิ้นส่วนมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ แล้วส่งออก | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% | |
กรณีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราสำเร็จรูปมาจำหน่าย ในประเทศ | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% | |
กรณีใช้วัตถุดิบ ในประเทศ |
กรณีนำไม้/ชิ้นส่วนในประเทศมาผลิตแล้วจำหน่ายในประเทศ | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% |
กรณีนำไม้/ชิ้นส่วนในประเทศมาผลิตแล้วส่งออก | อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% |
และเมื่อมีรายได้คุณจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ด้วย
ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อและ/หรือนำเข้าไม้ยางพารา หรือวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เช่น กาว ตะปูยิง น้ำยาชุบ/เคลือบ และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
และกรณีที่คุณขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
กรณีที่ “ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา” ของคุณ มีการนำเข้าวัตถุดิบ และ/หรือเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ สิ่งที่คุณต้องดำเนินการหลังจดทะเบียนธุรกิจ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และขออนุญาตดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนการผลิตแล้ว
สิ่งแรกที่ต้องทำในการนำเข้าสินค้าใดๆ ก็คือ การ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอมีชื่อเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น (หากคุณจะส่งออกสินค้าก็ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)
จากนั้นคุณจึง ผ่านพิธีการนำเข้า กับกรมศุลกากร ซึ่งคุณต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากร สินค้าที่จะนำเข้าให้ดี เช่น พิกัดอัตราศุลกากรไม้ยางพารา เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา น้ำยาชุบ/เคลือบไม้ กาว ตะปูยิง และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการคำนวณ อัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในสำนักงาน | 9403.30.00 | 20% |
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในครัว | 9403.40.00 | 20% |
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชนิดใช้ในห้องนอน | 9403.50.00 | 20% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
โดยขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้านี้มีเอกสารที่คุณต้องแสดงคือ บัญชีราคาสินค้า (Invoice) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) หรือมีหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออก ใบเบิกทาง หนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม
ในกิจการเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา มักมีการนำเข้า "สารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน" ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้น คุณต้อง ยื่นขออนุญาตนำเข้าสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน กับกรมสรรพสามิต และศึกษาระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการขอยกเว้นภาษีสำหรับสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 2)
โดยคุณจะมีหน้าที่ใน การจัดทำบัญชีงบเดือน ติดตัวมาด้วย ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ใช้ ต้องจัดทำบัญชีประจำวันแสดงการรับ-จ่ายสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน ตามแบบ สค.03 พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารประกอบการขนส่งเก็บไว้ประจำสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบได้ตลอดเวลา และต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีเหตุที่จะต้องลงรายการนั้นเกิดขึ้น และให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ลงรายการนั้น
2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ใช้ ต้องทำงบเดือนแสดงการรับ-จ่าย และการนำสารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอนไปใช้ในอุตสาหกรรม ตามแบบ สค.04 และ สค.04ก และนำส่งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตทราบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
จากนั้นจึงทำการติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกของและนำของออกอารักขาศุลกากร โดยทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ของกรมศุลกากร และคุณต้องจัดเก็บและรักษาเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใดๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ส่งข้อมูล
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
ตลาดของไม้ยางพาราส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ประเทศไทยเองก็ติดอันดับการผลิตไม้ยางพาราเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทยส่วนใหญ่เน้นการใช้แรงงานคน และเครื่องจักรเก่า จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเติมการพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น
และในขั้นตอนการส่งออก สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก กับกรมป่าไม้ จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการส่งออก โดยส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (กรณีที่คุณเคยลงทะเบียน Paperless มาแล้ว หากไม่เคยลงทะเบียน ต้องยื่นขอลงทะเบียนกับกรมศุลกากรก่อน) พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ได้รับการยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก ประเภทที่ 9 (อัตราอากรเป็น 0%) ส่วนการบรรจุสินค้าต้องดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาหรือติดต่อ Customs Broker ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร และคุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำสินค้าเข้าไปด้วย
ประเทศคู่ค้าไม้ยางพารา/เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และปัจจุบันขยายตลาดไปยังประเทศแถบยุโรป เช่น อังกฤษ ซึ่งระบบสั่งซื้อสินค้าในต่างประเทศโดยเฉพาะแถบยุโรป จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น
**ปัจจุบันสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดไม้ได้ เฉพาะไม้ที่กรมป่าไม้กำหนดไว้เพียง 22 ชนิด
และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในขั้นตอนของการส่งออกคือ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป โดยต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อ...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
‘ไข่เค็มไชยา” ของขึ้นชื่อประจำ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยความโดดเ...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
"เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเจ้า ซึ่งสามารถนำมาลวกให้...
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเ...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้...