คลินิกภาษีลำไยอบแห้ง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต่างซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน จาก จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน แหล่งลำไยอบแห้งขึ้นชื่อที่สุดของเมืองไทย นับเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการในแถบนั้นต่างให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากการจำหน่ายในประเทศแล้ว ยังสามารถกระจายสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย และแน่นอน... เรื่องภาษียังเป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบกิจการลำไยอบแห้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการเสียภาษีอย่างถูกต้อง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียนธุรกิจ: สหกรณ์ นิติบุคคล บุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เฉพาะเข้าหลักเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) กับกรมสรรพากร
ลงทะเบียน Paperlesss   ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้าสินค้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี ยื่นคำขอคืนภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้รับการยกเว้นภาษี)
ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ยื่นคำขออนุญาตบรรจุจากกรมศุลกากร
การเก็บรักษาบัญชี รายงานและเอกสาร ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ออกใบกำกับการขนย้ายจากกรมศุลกากร
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี   จัดทำรายงานภาษี
    การเก็บรักษาบัญชี รายงานและเอกสาร
    ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี

ของกินเล่นแบบไทย... “ลำไยอบแห้ง”

ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง มีแหล่งผลิตในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เป็นส่วนใหญ่ จะมีบ้างในพื้นที่จังหวัดอื่นในภาคเหนือ โรงงานผลิตลำไยอบแห้งจะซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยมาทำการอบแห้งและจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งลูกค้าที่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมถึงการส่งออกไปต่างประเทศ

ลำไยอบแห้ง

จุดเริ่มต้นของความอร่อย

จดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบที่ดำเนินกิจการ คือ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เป็นต้น จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนภาษีโดย ขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เฉพาะกิจการที่แปรรูปลำไยอบแห้งชนิดบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม และส่งออก หรือแบบมีฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาทเท่านั้น) ส่วนผู้ประกอบการที่ผลิตลำไยอบแห้งเพียงอย่างเดียว จะได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน

การเดินทางของวัตถุดิบ

โดยปกติ “ลำไยอบแห้ง” มักใช้วัตถุดิบภายในประเทศที่มีปลูกกันมากใน จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปาง อยู่แล้ว ก็มีบางกรณีเช่นกันที่วัตถุดิบดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ หรือผู้ประกอบการบางคนอยากให้สินค้าของตนเองแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อสร้างส่วนแบ่งการตลาดและเกิดมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ จึงทำการนำเข้า “ลำไย” และ/หรือวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมาจากต่างประเทศ

ซึ่งในขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบ คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เสียก่อน โดยทำการลงทะเบียนครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อให้มีชื่อเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกอยู่ในระบบของกรมศุลกากรนั่นเอง

เกร็ดความรู้

การลงทะเบียน Paperless คุณสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนก็ได้ (รายละเอียดตามประกาศกรมศุลกากรที่ 28/2555 ลงวันที่ 20 มกราคม 2555 เรื่องการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร)

จากนั้นดำเนิน ขั้นตอนพิธีการนำเข้าสินค้า โดยคุณต้องศึกษาเรื่อง "ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิ์ชำระภาษีในโควต้าตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้าลำไยอบแห้ง ปี 2555 ถึงปี 2557 (พ.ศ. 2555) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555" เพื่อยื่นขอหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ และประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เฉพาะสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) หรือภาคีแกตต์ 1947 หรือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

และอย่าลืม... การจะนำเข้าสินค้าอะไรก็แล้วแต่ คุณต้องศึกษาและมีความรู้เรื่อง พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ เช่น พิกัดศุลกากรลำไย กระป๋อง ฉลาก เป็นต้น

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ลำไยอบแห้ง 0813.40.10 40% หรือ 33.50 บาท/กิโลกกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

นอกจากนี้ เมื่อมีการนำเข้าสินค้าและ/หรือวัตถุดิบอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจลำไยอบแห้ง คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ปรุงให้อร่อย...พร้อมจำหน่าย

การเรียนรู้เรื่องภาษีในขั้นตอนนี้ไม่ยุ่งยาก ให้จดไว้ว่า... ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรให้ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อและใช้อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากรในการลงรายงานภาษีซื้อ ใบขนสินค้าขาเข้า เพียงแค่ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จากกรมสรรพากร เพื่อจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐาน เพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษี ตามมาตรา 87, 87/3 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต” “นำเข้า”

ส่งต่อความอร่อย

มาถึงขั้นตอนการส่งต่อความอร่อยสู่ลิ้นชาวต่างชาติ ด้วยการส่งออกสินค้า ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออกผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (หลังจากผ่านการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และลงทะเบียน Paperless มาแล้ว) พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน

ทั้งนี้ ลำไยอบแห้งมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออกในอัตราร้อยละ 0 ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 39/2550 เรื่อง คู่มือระบบพิธีการศุลกากรส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Export) นอกจากนี้ลำไยอบแห้งจัดเข้าพิกัดอัตราอากรขาออกภาค 3 ประเภทที่ 9 ไม่ต้องเสียอากร แต่ผู้ประกอบการต้องจัดทำใบกำกับสินค้า (Invoice) เป็นใบกำกับภาษี โดยสามารถแสดงราคาสินค้าหรือบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศและให้คำนวณฐานภาษี ตามราคา F.O.B. ในการนี้การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548

ส่วนการบรรจุสินค้าต้องดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น หรือปรึกษา/ติดต่อ Customs Broker ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น

ที่สำคัญอย่าลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่การจำหน่ายสินค้าออกไป เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

ว่าด้วยเรื่องรายงานภาษี

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ

  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “ใบกำกับภาษี”
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี”

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นทุกปี ควรเสียภาษีอย่างไร

เมื่อมีผลกำไรเข้ามายังธุรกิจตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงแก่กรมสรรพากร ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่าย ‘ลำไยอบแห้ง’ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่คุณต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องที่ควรรู้

คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต “ลำไยอบแห้ง” ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

และในกรณีที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ