หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกชั้นนำติด 1 ใน 10 อันดับสินค้าที่ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศไทยตลอดมา และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียน: สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม -กรณีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งแปรรูปเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี -กรณีขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก |
|||
ลงทะเบียน Paperless | ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณี "กุ้งสด" ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless | |
ขออนุญาตนำเข้า | ออกใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขออนุญาตส่งออก | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีนำเข้ากุ้งสด) |
ยื่นแบบภาษีเงินได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | ||
ชำระอากรขาเข้า | ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | จัดทำรายงานภาษี | ||
ยื่นแบบรายการภาษี | ยื่นแบบรายการภาษี |
การถนอมอาหารคุณภาพของอาหารทะเลที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การเก็บวัตถุดิบไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำมากๆ เพื่อยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์และลดการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ ผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง จึงเป็นอาหารที่ต้องเก็บรักษาด้วยกระบวนการแช่แข็งที่อุณหภูมิระดับ -18 องศาเซลเซียส เพื่อคงความสด สะอาด และสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน
ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งต้องจดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบที่จะดำเนินกิจการ คือ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทางภาษีโดย ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันฐานข้อมูลนี้ได้ถูกเชื่อมโยงกับสำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการติดต่อกับหน่วยงานราชการทั้ง 3 แห่ง
เรื่องที่ควรดำเนินการลำดับถัดไปคือ หากคุณมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งแปรรูปเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าคุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้อง ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้)
และ/หรือคุณต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้เช่นกัน โดยคุณมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
ซึ่งในกรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณต้อง จัดทำรายงานภาษี รวมถึงต้อง ออกใบกำกับภาษี ให้ลูกค้าเมื่อมีการขายสินค้าเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ
สำหรับเจ้าของธุรกิจผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง ซึ่งต้องการวางจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ หลังจากคุณมีฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุดิบพร้อมแล้ว คุณก็สามารถเริ่มกระบวนการผลิตตามกรรมวิธีถนอมอาหารแบบ ‘แช่แข็ง’ ได้เลย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพออกมาจำหน่ายได้ทันที
กรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้สุราสามทับ (แอลกอฮอล์) เพื่อทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตกุ้งแช่แข็งให้ปราศจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์ตามมาตรฐานการรักษาความสะอาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยมีความต้องการใช้ปริมาณสูงในแต่ละปีคุณควรเสนอเรื่องเพื่อขออนุญาตซื้อสุราสามทับ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่ เพื่อขออนุญาตซื้อสุราสามทับ จากองค์การสุรา กรมสรรพสามิต
ในกระบวนการผลิตนี้ คุณอาจใช้กุ้งจากท้องทะเลไทย หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าโดยการนำเข้ากุ้งแช่แข็งสำเร็จรูป และ/หรือนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตและจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศก็ได้
กรณีคุณต้องการนำเข้ากุ้งแช่แข็ง หรือวัตถุดิบที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตจากต่างประเทศ คุณต้องยื่นจดแจ้งกับกรมศุลกากร ใน 3 ขั้นตอน คือ
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
กุ้งแช่แข็ง | 0306.17.90 | 5% (รมควัน 20%) |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
จากนั้นติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกของและนำของออกอารักขาศุลกากร ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ได้ที่ของกรมศุลกากร
นอกจากนี้ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสียจากภาษีขายหักภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ คุณมีสิทธิถือเป็นเครดิตในเดือนถัดไปหรือขอคืนเป็นเงินสดได้
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
ซึ่งเมื่อคุณเริ่มมีรายได้จากธุรกิจผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง ภารกิจเกี่ยวกับภาษีที่คุณต้องดำเนินการไปพร้อมกัน นั่นคือ การจัดทำ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
อย่างไรก็ตาม มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการประกอบกิจการกุ้งแช่แข็งที่คุณควรทราบเพิ่มเติม คือ
- ในการผลิต “กุ้งแช่แข็ง” หากคุณใช้ “กุ้งสด” ภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อเป็นการรักษาสภาพไว้ไม่ให้เสีย คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535 (เลขที่หนังสือ กค 0706/พ.3537)
- ในการผลิต “กุ้งแปรรูปแช่แข็ง” เช่น ชุบเกล็ดขนมปัง กุ้งต้มแช่แข็ง ที่ใช้กุ้งสดทั้งภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศมาผลิตเป็นกุ้งแปรรูปแช่แข็งเพื่อเป็นการรักษาสภาพไว้ไม่ให้เสีย คุณไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535) และมีหน้าที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
“ผลิตภัณฑ์กุ้งส่งออก” ของไทย ที่สำคัญคือ กุ้งสดแช่เย็นจนแข็ง กุ้งชุบแป้ง กุ้งชุบเกล็ดขนมปัง กุ้งคอกเทล กุ้งชุบแป้งทอดแช่แข็ง และกุ้งแห้ง
โดยในปี พ.ศ.2546 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย มีปริมาณ 119,436 ตัน มูลค่า 35,951 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.38 และ 50.02 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกกุ้งทุกชนิด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.24 และ 4.43 ตามลำดับ โดยมีตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ในขั้นตอนการส่งออกคุณสามารถเริ่มต้นขั้นตอนการส่งออกง่ายๆ ด้วย การลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้ากุ้งแช่แข็ง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)
จากนั้นก็สามารถเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า โดยส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น
ที่สำคัญต้องไม่ลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
และเมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ดังนี้
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่าย “ผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง” ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่คุณต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต “กุ้งแช่แข็ง” ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้า เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
และในกรณีที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชา...
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลกกที่ถูกคัดเลือกให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณ...
ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย "กาแฟ"ก็ยังคงรักษาสถานะเครื่อง ดื่มยอด...
“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทั้งเครื่องดื่ม...โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...