“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา การปรุงน้ำพริกสูตรเด็ด นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่เจ้าของสูตร มานักต่อนัก เพราะผลตอบแทนจากกำไรมากกว่า 50% ทำให้มีน้ำพริกสูตรใหม่ๆ เกิดขึ้นในท้องตลาดจนสร้างชื่อกระฉ่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อมีรายได้ดีแล้วก็ต้องทำหน้าที่ด้านภาษีให้ครบถ้วนด้วยเช่นกัน
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีมีรายได้จากการขายมากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี - กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกน้ำพริก | |||
ลงทะเบียน Paperless | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ลงทะเบียน Paperless | |
ขออนุญาตนำเข้าสินค้าบางประเภท
(กรมการค้าต่างประเทศ) | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ชำระอากรขาเข้า | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | จัดทำรายงานภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี |
|
| ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
|
|
|
“น้ำพริก” เป็นอาหารไทย ประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง นิยมทานคู่กับผัก โดยโขลกพริกและเครื่องเทศให้ละเอียด ใช้ทานกับข้าวหรือทำน้ำจิ้ม น้ำพริกนั้นมีหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงที่ใส่ลงไป และเมื่อดัดแปลงหรือเพิ่มเติมส่วนผสมพิเศษ ก็จะได้น้ำพริกรสใหม่ที่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามส่วนผสมหลักนั้น โดยแบ่งได้ตามส่วนประกอบทั่วไป และแบ่งประเภทตามวิธีหุงต้ม
คนโบราณมีวิธีการทำให้กะปิไม่เหม็น โดยนำกะปิไปย่างให้สุกก่อนทุกครั้ง ความร้อนจากการปิ้งย่างจะทำให้แคลเซียมในเนื้อกะปิทำงานได้ดีขึ้น
หากคุณต้องการหารายได้งามๆ จากการตำน้ำพริกสูตรเด็ด ก่อนอื่นคุณต้อง จดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบกิจการที่ต้องการ คือ สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เป็นต้น
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ระบบภาษีด้วยการ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และ ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายน้ำพริกเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกน้ำพริกกับกรมศุลกากร)
ซึ่งเมื่อคุณทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ทางภาษีที่ตามมาคือ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
การดำเนินธุรกิจ | กรมสรรพากร | กรมศุลกากร | กรมสรรพสามิต | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ภาษีเงินได้ | กรมสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | ภาษีนำเข้า | ภาษีส่งออก | ภาษีสรรพสามิต | |
ผลิตน้ำพริก-จำหน่ายในประเทศ | - | - | ||||
ผลิตน้ำพริก-ส่งออก | - | ไม่ต้องเสียอากร | - | |||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตน้ำพริก-จำหน่ายในประเทศ | - | |||||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตน้ำพริก-ส่งออก | - |
น้ำพริกหลากรส เมนูคู่ครัวคนไทยทุกยุคสมัย กับเสน่ห์ของกลิ่นและรสชาติที่กลมกล่อมบวกกับความเผ็ดจี๊ดจ๊าด หากไม่อยากลงแรงโขลกเครื่องปรุงที่มีกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนให้เมื่อยมือ น้ำพริกสำเร็จรูป ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อร่อยลงตัว
ด้วยสูตรแท้แต่โบราณที่สามารถทำได้ง่ายๆ จึงมีผู้ผลิตทั้งระดับชาวบ้านจนกระทั่งผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ต่างก็คิดค้นสูตรความอร่อยเฉพาะตัว ช่วยลดขั้นตอนการปรุงที่ยุ่งยาก ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา อีกทั้งยังส่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทานตามแบบฉบับตำรับไทย ให้คนไทยหรือคนทั่วไปนำไปจี้ดจ๊าดกันได้สบายๆ
เมื่อลงแรงโขลกน้ำพริกจนเป็นธุรกิจแล้ว ก็จะมีในเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณเพียงดำเนินการกับกรมสรรพากรเพื่อ ออกใบกำกับภาษี และการ จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้เรียบร้อย แล้วไปนั่งคอยนับกำไรจากธุรกิจได้อย่างสบายใจ
สมัยก่อนเราเคยมีน้ำพริกให้ทานมากกว่า 500 ประเภท แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 200 ประเภท น้ำพริกมีวิธีการทำและวิธีการกินที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นโดย ภาคเหนือมักจะใช้ถั่วเน่าเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำพริก ในขณะที่ภาคอีสานนิยมใช้ปลาร้า และภาคใต้นิยมใช้ปลาบูดู
ขึ้นชื่อว่าน้ำพริกแน่นอนว่าเป็นอาหารท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจึงหาได้จากในประเทศ แต่บางครั้งความต้องการของตลาดก็สำคัญเช่นกัน คุณต้องรู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบทานน้ำพริกอะไร เพื่อจะได้เลือกน้ำพริกถูกปากรสชาติถูกใจ
และเมื่อ “น้ำพริก” ของคุณ ต้องการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง หรือต้องการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าสินค้า คุณอาจลอง นำเข้าวัตถุดิบ เช่น กระเทียม หอมแดง พริกขี้หนูแห้ง และ/หรือ นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องชั่ง เครื่องบด ขวดบรรจุ ถ้วยตวง เครื่องกวน เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
สิ่งที่คุณต้องดำเนินการก่อนการนำเข้าสินค้าประดามีข้างต้น ก็คือ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น ต่อไปหากคุณจะนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ หรือส่งออกน้ำพริกไปขายยังต่างประเทศก็ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก
จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนพิธีการนำเข้า โดยต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ของสินค้าต่างๆ ให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรที่คุณจะต้องชำระ ณ ด่านศุลกากรต่างๆ เช่น ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ เป็นต้น และอาจมีสินค้าบางชนิดที่มี ข้อจำกัดในการนำเข้าของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ คุณจึงต้องไม่ลืมตรวจสอบด้วย
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
พริก | 0709.60.10 | 40% |
น้ำปลา | 2103.90.30 | 5% |
กะปิ | 2103.90.20 | 5% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ที่สำคัญคือคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
ตำน้ำพริกให้ได้เงินแล้ว จะต้องทำการชำระภาษีอากรกับทางกรมศุลกากร 2 กรณี ดังนี้
การหาแหล่งวัตถุดิบ อาจจะทำสัญญารับซื้อจากเกษตรกร เพื่อป้องกันการขาดตลาด หรือนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดในบางฤดูกาลที่อาจมีไม่เพียงพอ หากธุรกิจขยายจนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน
เสน่ห์ของอาหารไทยอยู่ที่ความจัดจ้านในรสชาติ ร้อยละ 98 ของคนทั่วไปจึงนิยมรับประทานน้ำพริกเป็นอาหารจานหลัก ในขณะที่ร้อยละ 64 นิยมรับประทานน้ำพริกเป็นประจำทุกวัน ซึ่งน้ำพริกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือน้ำพริกกะปิ (ร้อยละ 54.5) น้ำพริกปลาร้า (ร้อยละ 12.6) นอกนั้นคือ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกอ่อง
ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตของตลาดส่งออกน้ำพริก อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา เพราะมีคนไทยอยู่อาศัยและมีร้านอาหารไทยมากมาย รองลงมาคือ ตลาดยุโรป และยังมีกลุ่มประเทศ เยอรมนี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
เนื่องจากผู้ผลิตน้ำพริกหลายรายมุ่งผลิตเพื่อการส่งออก แต่ละรายจึงพยายามรักษาสูตรดั้งเดิม และเพิ่มเติมสูตรใหม่ๆ แต่ต้องไม่ลืมที่จะรักษา ความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการผลิต บรรจุหีบห่อ และการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าก่อนนำมาจำหน่าย โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ มีน้ำหนักสุทธิตรงกับที่ระบุไว้ที่ฉลาก พร้อมติด เครื่องหมายและฉลาก ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษาที่เห็นได้ง่ายชัดเจนร่วมด้วย
การส่งออกน้ำพริกนั้นคุณต้องผ่านขั้นตอน พิธีการส่งออกสินค้า การออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประเภทต่างๆ
น้ำพริกส่งออก นอกจากจะไม่ต้องเสียอากรขาออกแล้ว ผู้ส่งออกยังสามารถขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับน้ำพริกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 2103.90.90 ในอัตราร้อยละ 0.19 ของราคาส่งออก
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า" "ส่งออก"
รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายน้ำพริก ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำพริก ดังนี้
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายน้ำพริกนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์น้ำพริกทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายน้ำพริกของคุณ อาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
สำหรับกรณีที่น้ำพริกสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
"ภาษีสุรา" ...ง่าย และได้ช่วยชาติ
ใน...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาห...
ขนมเบเกอรี่” เป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกวัย ถ้าผู้ที่สนใจ ในธุรกิ...
“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่...
ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว...
คือธุรกิจที่บริการด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารสถานที่และทรัพย์สินของ ลูกค้าหรือผู...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
"เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเจ้า ซึ่งสามารถนำมาลวกให้...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณ...
เครื่องเขียนและเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน
และบุคคล...