“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่าซึ่งต้องใช้ความชำนาญและความอดทนในการสร้างสรรค์ ลวดลายอ่อนช้อยลงในโลหะเงิน จนกลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ และเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะทำรายได้ให้กับคุณไม่น้อยเลยทีเดียว
นำเข้า | ผลิตและจำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|
จดทะเบียน: นิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ | ||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | ||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | ||
ลงทะเบียน Paperless |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
จัดทำรายงานภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ยื่นขอยกเว้นภาษี (กรณีนำเข้าเงิน ที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นรูปพรรณ) |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบความงดงามอ่อนช้อยสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงวัฒนธรรมของเครื่องประดับเงิน และมีเป้าหมายจะก่อร่างสร้างตัวจากธุรกิจนี้ เราขอแนะนำให้คุณลองศึกษาแนวทางทำธุรกิจเบื้องต้น ที่จะทำให้คุณเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศด้วยการชำระภาษีอย่างง่ายๆ
เครื่องประดับเงิน ถือเป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องเงินจากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงานหัตถกรรมที่ต้องใช้ “ความอดทน” ควบคู่กับ “ฝีมือ”
“เงิน” เป็นโลหะสีขาว มีลักษณะแข็ง สามารถตีแผ่เป็นแผ่นหนาบาง หรือเปลี่ยนรูปทรง และหลอมละลายให้อ่อนตัวได้
เงิน 100% คือ โลหะเงินล้วน ไม่ผสมกับโลหะอื่นใด มีความอ่อนตัวสูง
เงิน 90% คือ เงินผสมโลหะอื่น มีความแข็งกว่าเงิน 100% นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการ
แม้ว่าการประดิษฐ์ผลงานขึ้นมาสักชิ้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจนั้น คุณสามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เริ่มจากการจดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบของการดำเนินกิจการ เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน
การจดทะเบียนธุรกิจ | |
---|---|
บุคคลธรรมดา | จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด |
นิติบุคคล | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
วิสาหกิจชุมชน | จดทะเบียนได้ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร / เกษตรจังหวัด |
สหกรณ์ | จดทะเบียนได้ที่ สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด |
SMEs | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
จากนั้นยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ กรมสรรพากรซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นี้จะกระทำ ในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายเครื่องประดับเงิน เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้ คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน
นอกจากนี้ในกรณีที่คุณต้องการหรือคาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า อันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเครื่องประดับเงินของคุณแล้วละก็ คุณมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด จะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
การดำเนินธุรกิจ | กรมสรรพากร | กรมศุลกากร | ภาษีสรรพสามิต | ||
---|---|---|---|---|---|
ภาษีเงินได้ | กรมสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | ภาษีนำเข้า | ภาษีสรรพสามิต | |
นำเข้าเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | - | ||||
นำเข้าเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | - | ||||
ผลิตเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | - | - | |||
ผลิตเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | - | - | |||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | ยกเว้น | - | |||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | ยกเว้น | - |
เมื่อคุณดำเนินการตามขั้นตอนของกรมสรรพากรเรียบร้อย และมีทีมช่างผู้ชำนาญพร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือและวัตถุดิบ ก็ถึงเวลาฝากฝีมือไว้ในการรังสรรค์ให้โลหะเงินมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำไปอวดสายตาผู้บริโภค
ซึ่งเมื่อภูมิปัญญาเชิงช่างแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นเม็ดเงินแล้ว ในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และแบบรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายเครื่องประดับเงิน คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องประดับเงิน คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ช่างฝีมือ เข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิตเครื่องประดับเงิน ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายเครื่องประดับเงินแสนสวยของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
ในการทำธุรกิจเครื่องประดับเงินนั้น คุณอาจต้องข้องเกี่ยวกับการนำเข้าหลายทาง ได้แก่ การนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาจำหน่ายหรือส่งออก และการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาเพื่อดำเนินการผลิตและจำหน่ายในประเทศหรือส่งออก
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการนำเข้า จะมีรูปแบบที่เริ่มต้นคล้ายกันนั่นคือ คุณต้องเริ่มจาก การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากร สินค้าที่คุณจะนำเข้าให้ดี เช่น เงินที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นรูปพรรณ เครื่องประดับเงินสำเร็จรูป เครื่องจักร ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีหรือขอยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เครื่องประดับเงิน | 7114.11.00 | 20% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
โดยระหว่างนี้คุณในฐานะผู้นำเข้าจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากนั้นเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อซื้อมา-ขายไป หรือนำเข้าวัตถุดิบไปผลิตสินค้าจำหน่ายแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ การยื่นแบบภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจเครื่องประดับเงินของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้อง และช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ
- กรณีเครื่องประดับทำด้วยเงินสำเร็จรูป เสียพิกัด 7114.10.00 อัตราร้อยละ 20 และต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีวัตถุดิบเม็ดเงินนำเข้ามาผลิตเป็นเครื่องประดับเงิน เสียพิกัด 7106.91.00 ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้า แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีเครื่องประดับทำด้วยเงินสำเร็จรูป เสียพิกัด 7114.10.00 อัตราร้อยละ 20 และต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีวัตถุดิบเม็ดเงินนำเข้ามาผลิตเป็นเครื่องประดับเงิน เสียพิกัด 7106.91.00 ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้า แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีการนำเข้า “เงิน” เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยผู้ประกอบการจะต้อง ยื่นแบบ ภ.พ.01.5 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ธุรกิจเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติด้วย ดังนั้น ตลาดส่งออกจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยคุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้ด้วย การลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าเครื่องประดับเงิน หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)
จากนั้นเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า แต่ที่สำคัญเมื่อมีรายได้จากตลาดต่างประเทศกลับเข้ามาแล้ว คุณต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินส่วนหนึ่งไปพัฒนาประเทศ
เครื่องประดับเงิน นอกจากจะมีอัตราอากรขาออกเป็น 0% แล้ว ผู้ส่งออกยังสามารถขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับเครื่องประดับเงิน ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 7113.11 ในอัตราร้อยละ 0.10 ของราคาส่งออกได้อีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ...
ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ท...
“ผ้าไหม” มรดกแห่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือ...
ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
‘ไข่เค็มไชยา” ของขึ้นชื่อประจำ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยความโดดเ...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...