“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่าซึ่งต้องใช้ความชำนาญและความอดทนในการสร้างสรรค์ ลวดลายอ่อนช้อยลงในโลหะเงิน จนกลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ และเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะทำรายได้ให้กับคุณไม่น้อยเลยทีเดียว
นำเข้า | ผลิตและจำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|
จดทะเบียน: นิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ | ||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | ||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | ||
ลงทะเบียน Paperless |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
จัดทำรายงานภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ยื่นขอยกเว้นภาษี (กรณีนำเข้าเงิน ที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นรูปพรรณ) |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบความงดงามอ่อนช้อยสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงวัฒนธรรมของเครื่องประดับเงิน และมีเป้าหมายจะก่อร่างสร้างตัวจากธุรกิจนี้ เราขอแนะนำให้คุณลองศึกษาแนวทางทำธุรกิจเบื้องต้น ที่จะทำให้คุณเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศด้วยการชำระภาษีอย่างง่ายๆ
เครื่องประดับเงิน ถือเป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องเงินจากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงานหัตถกรรมที่ต้องใช้ “ความอดทน” ควบคู่กับ “ฝีมือ”
“เงิน” เป็นโลหะสีขาว มีลักษณะแข็ง สามารถตีแผ่เป็นแผ่นหนาบาง หรือเปลี่ยนรูปทรง และหลอมละลายให้อ่อนตัวได้
เงิน 100% คือ โลหะเงินล้วน ไม่ผสมกับโลหะอื่นใด มีความอ่อนตัวสูง
เงิน 90% คือ เงินผสมโลหะอื่น มีความแข็งกว่าเงิน 100% นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการ
แม้ว่าการประดิษฐ์ผลงานขึ้นมาสักชิ้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจนั้น คุณสามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เริ่มจากการจดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบของการดำเนินกิจการ เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน
การจดทะเบียนธุรกิจ | |
---|---|
บุคคลธรรมดา | จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด |
นิติบุคคล | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
วิสาหกิจชุมชน | จดทะเบียนได้ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร / เกษตรจังหวัด |
สหกรณ์ | จดทะเบียนได้ที่ สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด |
SMEs | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
จากนั้นยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ กรมสรรพากรซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นี้จะกระทำ ในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายเครื่องประดับเงิน เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้ คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน
นอกจากนี้ในกรณีที่คุณต้องการหรือคาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า อันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเครื่องประดับเงินของคุณแล้วละก็ คุณมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด จะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
การดำเนินธุรกิจ | กรมสรรพากร | กรมศุลกากร | ภาษีสรรพสามิต | ||
---|---|---|---|---|---|
ภาษีเงินได้ | กรมสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | ภาษีนำเข้า | ภาษีสรรพสามิต | |
นำเข้าเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | - | ||||
นำเข้าเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | - | ||||
ผลิตเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | - | - | |||
ผลิตเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | - | - | |||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตเครื่องประดับเงิน-จำหน่ายในประเทศ | ยกเว้น | - | |||
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตเครื่องประดับเงิน-ส่งออก | ยกเว้น | - |
เมื่อคุณดำเนินการตามขั้นตอนของกรมสรรพากรเรียบร้อย และมีทีมช่างผู้ชำนาญพร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือและวัตถุดิบ ก็ถึงเวลาฝากฝีมือไว้ในการรังสรรค์ให้โลหะเงินมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำไปอวดสายตาผู้บริโภค
ซึ่งเมื่อภูมิปัญญาเชิงช่างแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นเม็ดเงินแล้ว ในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และแบบรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายเครื่องประดับเงิน คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องประดับเงิน คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ช่างฝีมือ เข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิตเครื่องประดับเงิน ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายเครื่องประดับเงินแสนสวยของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
ในการทำธุรกิจเครื่องประดับเงินนั้น คุณอาจต้องข้องเกี่ยวกับการนำเข้าหลายทาง ได้แก่ การนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปเข้ามาจำหน่ายหรือส่งออก และการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาเพื่อดำเนินการผลิตและจำหน่ายในประเทศหรือส่งออก
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการนำเข้า จะมีรูปแบบที่เริ่มต้นคล้ายกันนั่นคือ คุณต้องเริ่มจาก การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากร สินค้าที่คุณจะนำเข้าให้ดี เช่น เงินที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นรูปพรรณ เครื่องประดับเงินสำเร็จรูป เครื่องจักร ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีหรือขอยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เครื่องประดับเงิน | 7114.11.00 | 20% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
โดยระหว่างนี้คุณในฐานะผู้นำเข้าจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากนั้นเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อซื้อมา-ขายไป หรือนำเข้าวัตถุดิบไปผลิตสินค้าจำหน่ายแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ การยื่นแบบภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจเครื่องประดับเงินของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้อง และช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ
- กรณีเครื่องประดับทำด้วยเงินสำเร็จรูป เสียพิกัด 7114.10.00 อัตราร้อยละ 20 และต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีวัตถุดิบเม็ดเงินนำเข้ามาผลิตเป็นเครื่องประดับเงิน เสียพิกัด 7106.91.00 ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้า แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีเครื่องประดับทำด้วยเงินสำเร็จรูป เสียพิกัด 7114.10.00 อัตราร้อยละ 20 และต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีวัตถุดิบเม็ดเงินนำเข้ามาผลิตเป็นเครื่องประดับเงิน เสียพิกัด 7106.91.00 ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้า แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีการนำเข้า “เงิน” เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณ ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยผู้ประกอบการจะต้อง ยื่นแบบ ภ.พ.01.5 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ธุรกิจเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติด้วย ดังนั้น ตลาดส่งออกจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยคุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้ด้วย การลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าเครื่องประดับเงิน หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)
จากนั้นเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า แต่ที่สำคัญเมื่อมีรายได้จากตลาดต่างประเทศกลับเข้ามาแล้ว คุณต้องไม่ลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินส่วนหนึ่งไปพัฒนาประเทศ
เครื่องประดับเงิน นอกจากจะมีอัตราอากรขาออกเป็น 0% แล้ว ผู้ส่งออกยังสามารถขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับเครื่องประดับเงิน ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 7113.11 ในอัตราร้อยละ 0.10 ของราคาส่งออกได้อีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ของเล่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ ได้ ซึ่งแต่ละ ช่วงอาย...
"ภาษีสุรา" ...ง่าย และได้ช่วยชาติ
ใน...
ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น” ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากสื่อ โทรทัศน์ส...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
ในปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง อย่างต...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชา...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
คือธุรกิจที่บริการด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารสถานที่และทรัพย์สินของ ลูกค้าหรือผู...
น้ำปลา เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร ได้จากการหมักปลากับเกลือ...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
“ผ้าไหม” มรดกแห่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือ...