“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้นเป็นภาชนะก่อนจะนำไปเผาไฟเพื่อให้เกิดความคงทน ในช่วงแรกเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับความนิยมมากก็คือ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เพราะคุณสมบัติของดินบริเวณด่านเกวียนเมื่อนำมาปั้นแล้วเผาด้วยไฟจะกลายเป็น สีแดง แต่ในปัจจุบันความนิยมของเครื่องปั้นดินเผานอกจากความคงทนแล้ว เรื่องสีสันและลวดลายเองก็เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนธุรกิจ: นิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
ลงทะเบียน Paperlesss | ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน และขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | ออกใบกำกับภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ||
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
การปั้นเครื่องปั้นดินเผา แม้จะไม่ยาก แต่ก็ต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความรู้ความสามารถ ยิ่งชำนาญเท่าไร เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตออกมาได้ก็จะยิ่งมีคุณภาพ รวมถึงจำนวนการผลิตต่อวันที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจ สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องของภาษีเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การประกอบธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ขั้นตอนแรกก็คือคุณต้อง จดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบที่คุณต้องการ เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดากลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชนพร้อมทั้ง ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และขอ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสียก่อน
การจดทะเบียนธุรกิจ | |
---|---|
บุคคลธรรมดา | จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด |
นิติบุคคล | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
วิสาหกิจชุมชน | จดทะเบียนได้ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร / เกษตรจังหวัด |
สหกรณ์ | จดทะเบียนได้ที่ สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด |
SMEs | จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด |
กลุ่ม OTOP | จดทะเบียนได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต |
เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จากนั้นคุณก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากร ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายเครื่องปั้นดินเผาเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้)
นอกจากนี้ คุณยังต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่คุณต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของคุณด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจจะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย โดยรายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ
ประเภทกิจกรรม ที่กิจการเกี่ยวข้อง |
กรมสรรพากร | กรมสรรพสามิต | กรมศุลากร | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษีเงินได้ | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ภาษีธุรกิจเฉพาะ | การนำเข้า | การส่งออก | |||
บุคคล ธรรมดา/นิติบุคคล | หัก ณ ที่จ่าย | ||||||
นำเข้า ผลิต และจำหน่ายในประเทศ | - | - | - | ||||
นำเข้า ผลิต จำหน่ายในประเทศ และส่งออก | - | - | |||||
ผลิต และจำหน่ายในประเทศ | - | - | - | ||||
ผลิตและส่งออก | - | - | - |
หลังจากผ่านขั้นตอนเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณและแรงงานฝีมือของคุณจะใส่ความคิดสร้างสรรค์และความชำนาญปั้นดินออกมาทำเงิน ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และแบบรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
เมื่อคุณผลิตเครื่องปั้นดินเผาออกวางจำหน่าย ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ ได้แก่
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผานั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ช่างปั้น และช่างฝีมืออื่นๆ ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายเครื่องปั้นดินเผา คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งในฐานะผู้ประกอบการคุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิตเครื่องปั้นดินเผา ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้แล้ว และเมื่อถึงเวลาจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผา คุณสามารถตั้งราคาขายโดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย ซึ่งคุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น
สำหรับกรณีที่เครื่องปั้นดินเผาสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
เช่น | ขาย 200 บาท เก็บ vat 7 % ซื้อสินค้า 100 บาท เสียvat 7% |
= 14 บาท = 7 บาท |
ภาษีขาย = 14 บาท
ภาษีซื้อ = 7 บาท
|
หากคุณต้องการนำเข้าเครื่องจักร หรือวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตหรือเพิ่มคุณภาพของเครื่องปั้นดินเผา ต้องเริ่มขั้นตอนการนำเข้าด้วยการ ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่าน พิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรสินค้า ที่คุณจะนำเข้าให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีหรือขอยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
เครื่องปั้นดินเผา | 6914.90.00 | 30% |
โดยในขั้นตอนการดำเนินการนี้ ผู้ประกอบการอาจมีรายการที่จะต้อง ชำระอากรขาเข้า พร้อมทั้งจัดทำ รายงานภาษีซื้อรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า) ทั้งนี้ การลงรายการ ให้ลงภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ
คุณภาพของสินค้าไทยยังคงได้รับความมั่นใจจากชาวต่างชาติอยู่ ด้วยความสวยงาม คงทน และราคาไม่สูงจนเกินไป ดังนั้น การส่งออกเครื่องปั้นดินเผาจึงเป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ช่วยสร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้ที่สนใจส่งออกต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าเครื่องปั้นดินเผา หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ตาม คุณต้องไม่ลืมจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินกลับไปพัฒนาประเทศ
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
ร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย มักอยู่ตามตลาดหรือแหล่งชุมชน
โดยร้านขายของชำจะไปซื้อ...
"OTOP" เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำลังเติบโตก้าวสู่การส่งอ...
ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ท...
ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ...
"ภาษีสุรา" ...ง่าย และได้ช่วยชาติ
ใน...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
ธุรกิจร้านให้เช่ารถมักนิยมเปิดให้บริการในเขตเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพ, เชียงใหม่, ภู...
ขนมไทยที่เราคุ้นเคยกันดี นอกจากเป็นของที่มีคุณค่าแล้ว ในเชิงมูลค่า “ขนมไทย”...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...