“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งนำแร่ดินมา ปั้นขึ้นรูปแล้วเผา และเคลือบผิว จนกระทั่งกลายเป็นถ้วยชามที่มีความสวยงามน่าใช้ หรือมีเอกลักษณ์โดดเด่น เช่น ถ้วยชามตราไก่ ของ จ.ลำปาง เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ตอบรับความต้องการของครัวเรือนทั่วไป เท่านั้น แต่ยังมีตลาดในกลุ่มภัตตาคารและโรงแรมที่รองรับธุรกิจนี้อีกด้วย
นำเข้า | ผลิตและจำหน่าย | ส่งออก | |
---|---|---|---|
จดทะเบียนพาณิชย์ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
ลงทะเบียน Paperlesss | ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน และขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ||
| ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
หากคุณสนใจที่จะเข้าสู่วงการธุรกิจถ้วยชามเซรามิก นอกเหนือจากการศึกษาตลาด และกระบวนการในการผลิตแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจไปพร้อมกันคือ เรื่องของการเริ่มต้นธุรกิจและขั้นตอนทางภาษีเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเงินภาษีกลับมาพัฒนาประเทศ
1. เซรามิกที่ใช้ในการก่อสร้าง (Structural Ceramics): ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้เกี่ยวกับการก่อสร้างบ้านเรือน ถนน ก่อสร้างเกี่ยวกับการระบายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างอื่นๆ เป็นต้น
2. เซรามิกเนื้อละเอียด (Fine Ceramics): ผลิตภัณฑ์เนื้อละเอียดส่วนใหญ่แล้วได้แก่พวกถ้วยชาม ถ้วยกาแฟ ของใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ประเภทงานศิลป์ แต่เดิมใช้คำว่า ไวท์แวร์ (Whitewere) หรือผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสีขาว
ในการประกอบธุรกิจถ้วยชามเซรามิก ขั้นตอนแรกก็คือคุณต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ ตามรูปแบบที่คุณต้องการ (ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคา รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์) เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้ง ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และ ขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสียก่อน
จากนั้นคุณก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากร ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายถ้วยชามเซรามิก เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้)
นอกจากนี้ คุณยังต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่คุณต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจถ้วยชามเซรามิกของคุณด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจจะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร
โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ
หลังจากผ่านขั้นตอนเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะออกแบบและผลิตถ้วยชามเซรามิกที่สวยงามและมีคุณภาพออกมาวางขายในตลาด ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และแบบรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย
ทั้งนี้ เมื่อคุณผลิตถ้วยชามเซรามิกออกวางจำหน่าย ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ ได้แก่
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายถ้วยชามเซรามิกนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ช่างปั้น ช่างเคลือบ ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายถ้วยชามเซรามิก คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจที่ดี คุณสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศได้ด้วยการเสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิต ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้แล้ว และเมื่อถึงเวลาจำหน่ายถ้วยชามเซรามิก คุณสามารถตั้งราคาขายโดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย ซึ่งคุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น
สำหรับกรณีที่ถ้วยชามเซรามิกสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
โดยคุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
หากคุณต้องการนำเข้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หรือวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต รวมไปถึงการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการ<>ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่คุณจะนำเข้าให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ผลิตภัณฑ์ถ้วยชามเซรามิก | 6911.10.00 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
โดยในขั้นตอนการดำเนินการนี้ ผู้ประกอบการอาจมีรายการที่จะต้อง ชำระอากรขาเข้า พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า) ทั้งนี้ การลงรายการ ให้ลงภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และหากมีรายได้เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ คุณจะต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
แม้ว่าต้นทุนในการผลิตถ้วยชามเซรามิกในปัจจุบันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่คุณภาพและความสวยงามของถ้วยชามเซรามิกก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอยู่ ดังนั้น การส่งออกถ้วยชามเซรามิก จึงเป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ช่วยสร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจส่งออกต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าถ้วยชามเซรามิก หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก) จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า
ทั้งนี้ เมื่อมีรายได้กลับเข้ามาแล้ว คุณต้องไม่ลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินกลับไปพัฒนาประเทศ
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"กล้วยตาก นับเป็นอาหารทานเล่นของชาวไทยมาแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเกิ...
สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น” ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากสื่อ โทรทัศน์ส...
ธุรกิจร้านให้เช่ารถมักนิยมเปิดให้บริการในเขตเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพ, เชียงใหม่, ภู...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาห...
ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลกกที่ถูกคัดเลือกให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจ...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
“ผ้าไหม” มรดกแห่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...