คลินิกภาษีถ้วยชามเซรามิก

“เซรามิก” หรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งนำแร่ดินมา ปั้นขึ้นรูปแล้วเผา และเคลือบผิว จนกระทั่งกลายเป็นถ้วยชามที่มีความสวยงามน่าใช้ หรือมีเอกลักษณ์โดดเด่น เช่น ถ้วยชามตราไก่ ของ จ.ลำปาง เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ตอบรับความต้องการของครัวเรือนทั่วไป เท่านั้น แต่ยังมีตลาดในกลุ่มภัตตาคารและโรงแรมที่รองรับธุรกิจนี้อีกด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิตและจำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียนพาณิชย์
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
ลงทะเบียน Paperlesss ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน และขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบภาษีเงินได้
 
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

“ถ้วยชามเซรามิก” ทรัพย์จากผืนดิน

หากคุณสนใจที่จะเข้าสู่วงการธุรกิจถ้วยชามเซรามิก นอกเหนือจากการศึกษาตลาด และกระบวนการในการผลิตแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจไปพร้อมกันคือ เรื่องของการเริ่มต้นธุรกิจและขั้นตอนทางภาษีเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเงินภาษีกลับมาพัฒนาประเทศ

ขยายความ

รูปแบบของผลิตภัณฑ์เซรามิกสามารถแยกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. เซรามิกที่ใช้ในการก่อสร้าง (Structural Ceramics): ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้เกี่ยวกับการก่อสร้างบ้านเรือน ถนน ก่อสร้างเกี่ยวกับการระบายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างอื่นๆ เป็นต้น

2. เซรามิกเนื้อละเอียด (Fine Ceramics): ผลิตภัณฑ์เนื้อละเอียดส่วนใหญ่แล้วได้แก่พวกถ้วยชาม ถ้วยกาแฟ ของใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ประเภทงานศิลป์ แต่เดิมใช้คำว่า ไวท์แวร์ (Whitewere) หรือผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสีขาว

เข้าสู่วงการธุรกิจ “ถ้วยชามเซรามิก”

ในการประกอบธุรกิจถ้วยชามเซรามิก ขั้นตอนแรกก็คือคุณต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ ตามรูปแบบที่คุณต้องการ (ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคา รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์) เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้ง ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และ ขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสียก่อน

จากนั้นคุณก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากร ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายถ้วยชามเซรามิก เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้)

นอกจากนี้ คุณยังต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่คุณต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจถ้วยชามเซรามิกของคุณด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าในจุดประสงค์ใด เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจจะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร

ขยายความ

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ
  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “ใบกำกับภาษี”
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี”

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

ออกแบบให้สวย ผลิตให้ได้คุณภาพ

หลังจากผ่านขั้นตอนเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะออกแบบและผลิตถ้วยชามเซรามิกที่สวยงามและมีคุณภาพออกมาวางขายในตลาด ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และแบบรายงานการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย

ขยายความ

ชนิดของเซรามิก

  1. เอิร์ทเทนแวร์ (Earthenware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ มีความดูดซึมน้ำปานกลางถึงสูงสุด
  2. สโตนแวร์ (Stoneware) เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบ ส่วนใหญ่ทำมาจากดินประเภทสโตนแวร์ และเผาให้ความดูดซึมน้ำต่ำ แต่เนื้อดินยังไม่โปร่งใส
  3. ผลิตภัณฑ์ขาวโปร่งแสง (China) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโปร่งแสง(Translucent)มีความดูดซึมน้ำต่ำ หรืออาจเป็นศูนย์ จะชุบเคลือบในครั้งแรกหรือเผาเคลือบในครั้งที่สองที่อุณหภูมิเท่ากันหรือต่ำกว่าอุณหภูมิเผาดิบ

ทั้งนี้ เมื่อคุณผลิตถ้วยชามเซรามิกออกวางจำหน่าย ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ ได้แก่

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายถ้วยชามเซรามิกนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ช่างปั้น ช่างเคลือบ ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายถ้วยชามเซรามิก คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

ขยายความ

ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจที่ดี คุณสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศได้ด้วยการเสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิต ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้แล้ว และเมื่อถึงเวลาจำหน่ายถ้วยชามเซรามิก คุณสามารถตั้งราคาขายโดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย ซึ่งคุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

สำหรับกรณีที่ถ้วยชามเซรามิกสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

โดยคุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"


หากคุณต้องการนำเข้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หรือวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต รวมไปถึงการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการ<>ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่คุณจะนำเข้าให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้า

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผลิตภัณฑ์ถ้วยชามเซรามิก 6911.10.00 30%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

โดยในขั้นตอนการดำเนินการนี้ ผู้ประกอบการอาจมีรายการที่จะต้อง ชำระอากรขาเข้า พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า) ทั้งนี้ การลงรายการ ให้ลงภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และหากมีรายได้เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ คุณจะต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและสร้างรายได้ให้กับประเทศ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

ส่งออกเซรามิกไทยไปต่างถิ่น

แม้ว่าต้นทุนในการผลิตถ้วยชามเซรามิกในปัจจุบันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่คุณภาพและความสวยงามของถ้วยชามเซรามิกก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอยู่ ดังนั้น การส่งออกถ้วยชามเซรามิก จึงเป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ช่วยสร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจส่งออกต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนในการนำเข้าถ้วยชามเซรามิก หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก) จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า

ทั้งนี้ เมื่อมีรายได้กลับเข้ามาแล้ว คุณต้องไม่ลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินกลับไปพัฒนาประเทศ

ขยายความ

ภาษีกับการส่งออกถ้วยชามเซรามิก

  • ในขั้นตอนการส่งออก คุณชำระภาษีอากรของทุกหน่วยงานโดยผ่านกับทางศุลกากร
  • การยกเว้นภาษีอากร กรณีสินค้ายกเว้นอากรจะออกเลขที่ยกเว้นอากรโดยอัตโนมัติ
  • ถ้วยชามเซรามิกจัดเข้าพิกัดอัตราอากรขาออก ภาค 3 ประเภทที่ 9 ไม่ต้องเสียอากร
  • อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออกร้อยละ 0

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ