คลินิกภาษีปลากระป๋อง

“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซื้อได้ทั่วไป ทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยปัจจุบันตลาดรวมปลากระป๋องในประเทศไทย มีมูลค่ากว่า 6,200 ล้านบาท แบ่งเป็น ปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรล 5,600 ล้านบาท และปลาทูน่ากระป๋อง 600 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวนี้น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่ต้องการก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ ประกอบธุรกิจปลากระป๋อง

หากคุณเริ่มสนใจธุรกิจนี้ ลองศึกษาขั้นตอนสั้นๆ ในการเริ่มธุรกิจอย่างถูกกฎหมายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชาติด้วยการ ชำระภาษีกันได้เลย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายปลากระป๋องเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
ขออนุญาตนำเข้า "ปลา" ขออนุญาตซื้อสุราสามทับ
(แอลกอฮอล์)
ทำความสะอาดเครื่องมือ/อุปกรณ์
วางจำหน่าย ขออนุญาตส่งออก “อาหาร”
ลงทะเบียน Paperless ออกใบกำกับภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ยื่นขอยกเว้นภาษี ยื่นแบบภาษีเงินได้ ยื่นขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษีี
จัดทำรายงานภาษี  
ยื่นแบบภาษีเงินได้
ยื่นแบบภาษีเงินได้  
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  
 

ปลาอะไรเอ่ย? ... อยู่ในกระป๋อง

ปลากระป๋อง เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก ‘ปลา’ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก โดยปลาที่นิยมใช้ผลิตปลากระป๋อง ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ซึ่งอาจนำมาแปรรูปด้วยการบรรจุในนํ้าเกลือ นํ้ามันพืช ซอสมะเขือเทศ น้ำแร่ หรืออื่นๆ เป็นธุรกิจอาหารที่มีตลาดกว้างขวางเนื่องจากเป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่อง

เปิดกระป๋อง “ป.ปลา”

การทำธุรกิจปลากระป๋องนั้น จุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มภาคภูมิและถูกต้องตามกฎหมายคือ การจดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบของการดำเนินกิจการ เช่น เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล นิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน

การจดทะเบียนพาณิชย์ตามประเภทธุรกิจ
บุคคลธรรมดา จดทะเบียนได้ที่ อบต./เทศบาล พาณิชย์จังหวัด
นิติบุคคล จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด
วิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนได้ที่ สนง.เลขาฯ คณะกรรมการส่งเสริมสิสาหกิจชุมชน / กรมส่งเสริมการเกษตร
สหกรณ์ จดทะเบียนได้ที่ สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด
SMEs จดทะเบียนได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจ พาณิชย์จังหวัด
กลุ่ม OTOP จดทะเบียนได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต

จากนั้นยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกรมสรรพากร ซึ่งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะกระทำในกรณีที่คุณมีรายได้จากการขายปลากระป๋องเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้) นอกจากนี้ คุณยังต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่คุณต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของคุณด้วย

ซึ่งในกรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณจะมีหน้าที่เพิ่มเติมติดมาด้วย นั่นคือ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รวมถึงต้อง ออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า เมื่อมีการขายสินค้าเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

ความรู้บรรจุกระป๋อง

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ

  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ "ใบกำกับภาษี"
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ "สำเนาใบกำกับภาษี"
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ "สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี"

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

จับปลาใส่กระป๋อง...และเริ่มรับเงิน

กระบวนการผลิตปลากระป๋อง เป็นการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหาร (Food Preservation) ด้วยการใช้ความร้อน (Thermal Processing) โดยปลากระป๋องจัดเป็น กลุ่มอาหารที่เป็นกรดต่ำ (Low Acid Food) บรรจุในภาชนะที่ปิดผนึกสนิท (Hermectically Sealed Container) ซึ่งเมื่อคุณเริ่มดำเนินการผลิตตามมาตรฐานและควบคุมคุณภาพได้ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว คุณก็สามารถนับเงินจากธุรกิจนี้ได้เลย

ความรู้บรรจุกระป๋อง

ในขั้นตอนการผลิต กรณีที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ สุราสามทับ (แอลกอฮอล์) มาใช้ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตปลากระป๋องให้ปราศจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์ตามมาตรฐานการรักษาความสะอาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หากความต้องการใช้สุราสามทับปริมาณสูงในแต่ละปีควร ขออนุญาตซื้อสุราสามทับ (แอลกอฮอล์) จากองค์การสุรา ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

ทั้งนี้ สุราสามทับ (แอลกอฮอล์บริสุทธิ์) ที่ได้รับอนุญาตซื้อจากองค์การสุรา เป็นสุราที่ได้ชำระภาษีสุราแล้วในอัตรา 6.00 บาทต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตต้องนำสุราสามทับดังกล่าวไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ณ สถานประกอบการเท่านั้น พร้อมกันนี้ต้องจัดทำเอกสารและหลักฐานประกอบการรายงานเพื่อนำส่งสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ดังนี้

  1. บัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายสุราประจำวัน แบบ 1 (ส.2/80) จัดทำรายงานทุกวัน
  2. ใบขนสุราที่องค์การสุราออกให้ที่มีการขนส่ง จัดทำรายงานทุกวัน (รวบรวมเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานพิจารณาการขอซื้อครั้งต่อไป)
  3. บัญชีงบเดือนแสดงรายการรับ-จ่ายสุราคงเหลือ แบบ 2 (ส.2/81) จัดทำรายงานทุกสิ้นเดือน

ในขั้นตอนนี้คุณมีกระบวนการทางภาษีที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังต้อง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับกรมสรรพากรด้วย

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณซื้อวัตถุดิบหลักคือ “ปลา” ที่คุณใช้ในการผลิตนั้น

- กรณีมีการจัดซื้อวัตถุดิบภายในประเทศ เช่น “ปลาทูน่าสด หรือแช่แข็งเป็นตัว” คุณจะ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535

- กรณีมีการจัดซื้อวัตถุดิบ “ปลาทูน่าชนิดเนื้อปลา” เป็นวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการแปรสภาพจากเดิม คุณจะ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535

ทั้งนี้ เมื่อคุณผลิตปลากระป๋องออกวางจำหน่าย ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ ได้แก่

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายปลากระป๋อง คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

ความรู้บรรจุกระป๋อง

ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจที่ดี คุณสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศได้ด้วยการเสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนผลิต ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้แล้ว และเมื่อถึงเวลาจำหน่ายปลากระป๋อง คุณสามารถตั้งราคาขายโดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย ซึ่งคุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อน เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

สำหรับกรณีที่ปลากระป๋องสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

โดยคุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

“นำเข้า” ขยายการผลิต เพิ่มรายได้

ในปัจจุบันการผลิตปลากระป๋องนั้นมีทั้งการใช้ปลาที่จัดหาภายในประเทศ และสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากปลาทูน่าที่จับได้ภายในประเทศมีเพียงร้อยละ 20-25 เท่านั้น ดังนั้น คุณควรจะศึกษาเส้นทางการนำเข้าซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆ โดยเริ่มจาก การลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่าน พิธีการนำเข้าสินค้า ซึ่งต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากร วัตถุดิบที่คุณจะนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีหรือขอยกเว้นอัตราอากรขาเข้า ยกตัวอย่างเช่น การนำเข้าปลาทูน่าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตปลากระป๋องมักนำเข้าใน 2 ลักษณะ คือ ปลาทูน่าแช่แข็งทั้งตัว และที่เป็นเนื้อปลา ซึ่งมีอัตราการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกัน เป็นต้น

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ปลาซาร์ดีน ที่บรรจุภาชนะอากาศเข้าไม่ได้ 1604.13.11 30% หรือ 100 บาท/กิโลกรัม
ปลาทูนา ที่บรรจุภาชนะอากาศเข้าไม่ได้ 1604.14.11 10% หรือ 15 บาท/กิโลกรัม
ปลาแมคเคอเรลที่บรรจุภาชนะอากาศเข้าไม่ได้ 1604.15.10 30% หรือ 100 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

ทั้งนี้ ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำเข้าจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม จากนั้นเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อซื้อมา-ขายไป หรือนำเข้าวัตถุดิบไปผลิตสินค้าจำหน่ายแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การยื่นแบบภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจคุณดำเนินไปอย่างถูกต้องและช่วยนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ

ความรู้บรรจุกระป๋อง

การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ “การนำเข้าปลาทูน่าแช่แข็งที่เป็นตัว” ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการนำเข้าปลาทูน่าที่เป็นเนื้อปลา เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ มีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการนำเข้า ตามความรับผิดในการเสียภาษี มาตรา 78/2, มาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร และฐานภาษี มาตรา 79/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"


หาตลาดใหม่ส่งออก “ปลากระป๋อง”

หากคุณดำเนินธุรกิจปลากระป๋องในประเทศแข็งแกร่งแล้ว และต้องการส่งออกปลากระป๋องคุณภาพดีของคุณไปเจาะตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้ด้วย การลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนนำเข้าหรือเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรอยู่แล้วไม่ต้องลงทะเบียนอีก)

จากนั้นเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า กับกรมศุลกากร แต่ที่สำคัญเมื่อมีรายได้จากตลาดต่างประเทศกลับเข้ามาแล้ว คุณต้องไม่ลืมจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมทั้ง ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้ เพื่อช่วยกันนำเงินส่วนหนึ่งไปพัฒนาประเทศ

ความรู้บรรจุกระป๋อง

ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง มีอากรขาออกเท่ากับศูนย์โดยอัตโนมัติ ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก ประเภทที่ 9

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของธุรกิจ SMEs

ทำตาม “หน้าที่” ช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ