คลินิกภาษีปลาร้าบอง

ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนาดเล็กมาเป็นผู้ผลิตในขนาดกลางและใหญ่ และกลายเป็นสินค้า OTOP รวมทั้งการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศก็เริ่มขยายตัวมากยิ่งขึ้น

“ปลาร้าบอง” เป็นอีกหนึ่งผลผลิตสำคัญจากผลิตภัณฑ์จากปลาร้า ที่กำลังสร้างความฮือฮาให้ตลาด ใครจะเชื่อ... ว่าอาหารพื้นบ้านที่ชาวอีสานเรียกว่า “แจ่วบอง” นี้จะตีตลาดอาหารไทยได้กระจุย สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไทยเป็นกอบเป็นกำ และเมื่อมีรายได้ผู้ประกอบการอย่างคุณก็มีหน้าที่เรื่อง “ภาษี” เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ได้เงินมาเมื่อไรก็เสียภาษีตามหน้าที่คนไทยกันเลย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กรณีมีรายได้จากการขายมากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี
- กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกปลาร้าบอง
ลงทะเบียน Paperlesss ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขออนุญาตนำเข้าสินค้าบางประเภท
(กรมการค้าต่างประเทศ)
จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษี
จัดทำรายงานภาษี  
 
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี  
 
 

ฮู้จัก...ปลาร้าบอง

ปลาร้าบอง หรือ แจ่วบอง ในภาษาอีสานหมายถึง อาหารประเภทน้ำพริก ซึ่งชาวอีสานนิยมรับประทานคู่กับผัก ถือเป็นอาหารหลักที่ทำได้ง่ายเพราะมีเครื่องปรุงไม่มากนัก

ปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวอีสานเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจากความเร่งรีบและการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานในภูมิภาคต่างๆ ทำให้การปรุงอาหารรับประทานเองลดน้อยลง จึงเกิดธุรกิจการผลิต “ปลาร้าบอง” จำหน่ายทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมไปถึงการเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

เกร็ดความรู้

  • ประชากรไทยกว่า 63 ล้านคน บริโภคปลาร้าดิบเฉลี่ย 1.15 กรัม/คน/วัน หรือ 419.75 กรัม/คน/ปี
  • การบริโภคปลาร้าดิบของประชากรทั้งประเทศ 26,000 ตัน/ป
  • อุตสาหกรรมผลิตปลาร้ามีทั้งแบบโรงงานขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมครอบครัว มากกว่า 300 แห่ง

จุดเริ่มต้นของความแซบ

หากคุณคิดให้ปลาร้าบองแซบๆ เป็นสินค้าสร้างรายได้ คุณต้องเริ่มดำเนินการธุรกิจโดยการ จดทะเบียน กิจการตามรูปแบบที่ต้องการ คือ สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เป็นต้น

หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ระบบภาษีด้วยการ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และยื่นขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายปลาร้าบองเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกปลาร้าบองกับกรมศุลกากร) โดยมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

ซึ่งเมื่อคุณทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าด้วยจุดประสงค์อะไรก็ตาม หน้าที่ทางภาษีที่ตามมาคือ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ปลาร้าบอง

ถูกต้องทุกขั้นตอนการผลิต

ปลาร้าบองเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย ผู้ประกอบการผลิตปลาร้าบองอย่างคุณจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 และต้องศึกษาเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมาตรฐาน GMP หรือ Good Manufacturing Practice หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

และก่อนการผลิตปลาร้าบองคุณต้อง ทำการขออนุญาตสถานที่ คุณจะต้องพิจารณารูปแบบธุรกิจของตนเอง เพื่อยื่นจดแจ้งกับหน่วยงานที่ดูแลในเขตพื้นที่ตั้งของโรงงาน ถ้ามีคนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม จำนวน 5 แรงม้าขึ้นไป ให้จดเป็นลักษณะของโรงงาน

หลังจากนั้นจึงขออนุญาตผลิตอาหาร ขอจดทะเบียนอาหารของผลิตภัณฑ์ (แบบ สบ.5) รับเลขสารบบอาหาร พร้อมทั้งต้องแสดงฉลากให้ถูกต้องตามคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

“ส่งออก” เพิ่มช่องทางให้ปลาร้าบอง

ตลาดหลักในการส่งออกปลาร้าของไทย คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และ ประเทศในตะวันออกกลาง โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่สุดแต่ก็มีปัญหามากที่สุด เพราะเป็นประเทศที่เข้มงวดเรื่องความสะอาดปลอดภัยของสินค้าประเภทอาหารที่จะนำเข้า ปลาร้าไทยจึงเข้าประเทศนี้ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

และกรณีที่คุณต้องการ “ส่งออกปลาร้าบอง” สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น ต่อไปหากคุณจะนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ หรือส่งออกปลาร้าบองไปขายยังต่างประเทศก็ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนพิธีการส่งออกโดยส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ปลาร้าบองจะมีอากรขาออกเท่ากับศูนย์โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ การบรรจุสินค้าของคุณต้องดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น และควรปรึกษาหรือติดต่อ Customs Broker ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร โดยคุณควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น

ในขั้นตอนการส่งออกนี้คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป

เกร็ดความรู้

เนื่องจากปลาร้าบอง ถือเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลาร้าที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ จึงยังไม่มีการนำเข้าสินค้าประเภทนี้มากนัก แต่ในกรณีที่คุณต้องการนำเข้าปลาร้าบอง หรือวัตถุดิบ/อุปกรณ์บางอย่างเพื่อการผลิต คุณต้องลงทะเบียน Paperless ศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรปลาร้าบอง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการคำนวณอัตราอากรขาเข้า (การนำเข้าวัตถุดิบบางอย่างที่เป็นพืช ผัก อาจต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อจำกัดของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ปลาร้าบอง 1604.20.99 30% หรือ 100 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก" "นำเข้า"

ปลาร้าบอง...สร้างรายได้

รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายปลาร้าบอง ไม่ว่าจะ “นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย” “ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก” หรือ “เป็นผู้ส่งออก” สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์ปลาร้าบอง ดังนี้

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายปลาร้าบองนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์ปลาร้าบอง ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เกร็ดความรู้

คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายปลาร้าบองของคุณ อาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือ บิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับกรณีที่ปลาร้าบองสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

เกร็ดความรู้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แบบแสดงรายการ วิธีการคำนวณ กำหนดเวลาการยื่นแบบ อัตราภาษี
ภ.พ.30 ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
- หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อให้ชำระส่วนต่างนั้น
- หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะขอคืนเงินสด หรือ ใช้เป็นเครดิตในเดือนถัดไปก็ได้
ตั้งแต่วันที่ 1-15 ของเดือนถัดไป
(ทุกเดือนไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่)
ส่งออก 0%
ทั่วไป 7%

ตามมาตรา 80, 80/1, 82/3, 83, 84, 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากรได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ