คลินิกภาษีสุราพื้นเมือง "อุ"

“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ในการหมักข้าว พืชสมุนไพร หรือผลไม้ ใส่โอ่งใส่ไหแล้วนำไปฝังดินประมาณ 15 วัน ก็จะได้สุราแช่ที่มีแอลกอฮอล์จากธรรมชาติ โดยสุราหมักหรือสุราแช่ในแต่ละภาคจะมีสูตรแตกต่างกันไปตามภูมิปัญญาของแต่ละ ท้องถิ่น

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ “อุ” ได้รับการรับรองให้เป็นหนึ่งในสินค้าตามโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการผลิตเพื่อบริโภค และใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือน พัฒนาขึ้นเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และขยายช่องทางการค้าไปสู่ระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในหลายชุมชน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

สุราแช่พื้นเมือง

**ผลิตภัณฑ์สุราแช่ “อุ” เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ยังไม่มีการนำเข้า “อุ” แต่อาจมีการนำเข้าหัวเชื้อบ้าง และการส่งออกยังไม่แพร่หลาย


เริ่มต้นกิจการสุราแช่พื้นเมือง “อุ”

  • คุณต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตฯ จากกรมสรรพสามิต (ผู้ขออนุญาตผลิตต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ สหกรณ์ / นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ / กลุ่มวิสาหกิจชุมชน / กลุ่มเกษตรกร /องค์กรเกษตรกร
  • ขออนุญาตตั้งโรงงาน/ประกอบกิจการโรงงานผลิตสุราแช่พื้นเมืองกับกรมสรรพสามิต
  • ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร
  • จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขาย "อุ" เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) กับกรมสรรพากร

การจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์สุราแช่พื้นเมือง “อุ” ต้องเริ่มต้นดำเนินกิจการด้วย การขออนุญาตตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานสุราแช่พื้นเมือง ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานสุรานั้นตั้งอยู่

จากนั้นดำเนินการก่อสร้างสถานที่ผลิตภายหลังได้รับแจ้งอนุญาตจากกรมสรรพสามิตภายใน 24 เดือน (หากไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์การได้รับอนุญาตผลิต) และต้องทำหนังสือแจ้งให้กรมสรรพสามิตทราบก่อนเปิดดำเนินการไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยสถานที่ผลิตต้องแยกเป็นสัดส่วนจากที่อยู่อาศัยปกติ ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่น

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ขออนุญาตเป็นชาวชุมชนในท้องถิ่น และหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอันตรายต่อท้องถิ่น แนะนำให้ผู้ประกอบการใช้แรงงานผลิตน้อยกว่า 7 คน และใช้เครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หากเกินที่กล่าวมา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับโรงงานต่อไป

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

รอบรู้...พระราชบัญญัติสุรา

พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ได้ให้ความหมายของสุราแช่ไว้ว่า “สุราที่ไม่ได้กลั่น และหมายรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว โดยมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี”

สุราแช่และผลิตภัณฑ์มีด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่เป็นสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ สุราแช่พื้นเมือง เช่น อุ สาเก กระแช่ และน้ำตาลเมา เป็นต้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรีก็จัดรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย (ไม่รวมเบียร์)

ทั้งนี้ “ผู้ขออนุญาต” ตั้งโรงงานประกอบกิจการโรงงานสุราแช่พื้นเมือง หมายถึงบุคคลที่ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • เป็นสหกรณ์
  • เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุราตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต
  • เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผู้ถือหุ้นทุกคนมีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุราตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต
  • เป็นกลุ่มบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทย ตามกฎหมายเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน
  • เป็นองค์กรเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร พ.ศ.2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุรา ตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต

จากนั้นคุณต้องทำการ ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงยื่น คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

นอกจากนี้ เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อกรมสรรพากร

แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน และในกรณีที่คุณต้องการส่งออก "อุ" ไปขายยังต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใด จะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

สุราแช่พื้นเมือง

ภาษีของผู้ผลิต “อุ”

ที่มาของชื่อสุราแช่พื้นเมือง “อุ” นั้น มาจากภาชนะที่ใช้บรรจุ ซึ่งคำว่า “อุ” เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง “ไห” ส่วนชื่อเรียกอีกชื่อของเหล้าอุ ที่เรียกว่า “เหล้าช้าง” นั้นมีที่มาจากเวลาดื่มต้องเสียบหลอดสองอันลงไปในไห ทำให้มีลักษณะคล้ายกับงาช้าง นอกจากนี้ เวลาดื่มเหล้าอุพร้อมกันสองคนจากไหใบเดียวกัน ผู้ดื่มจะอยู่ในท่าทางที่มีลักษณะหัวชนกัน คล้ายกับการชนช้างนั่นเอง

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

วิธีการผลิต “อุ”

วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอุได้จากข้าวเหนียวที่นำไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำแกลบมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปนึ่งให้สุก นำออกมาผึ่งลมให้ข้าวเย็น จากนั้นนำหัวเชื้อมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปหมักไว้ในไหมังกรใหญ่ประมาณ 3 คืน นำออกมาบรรจุใส่ไห (อุ) ใช้ใบตองกล้วยปิดปากไหก่อน แล้วนำขี้เถ้าผสมน้ำพอเป็นก้อนปิดทับอีกครั้งหนึ่ง หมักทิ้งไว้อีก 15 วัน อุก็จะก็เริ่มได้ที่ สามารถนำมาดื่มได้ทันที

ก่อนจะทำการผลิต “อุ” คุณซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ต้องยื่นเรื่องทำ สัญญาผลิตและขายส่งสุรา กับกรมสรรพสามิต เพื่อดำเนินการผลิตสุราอย่างถูกต้อง จากนั้นส่งตัวอย่างสุราแช่ให้กรมสรรพสามิต หรือหน่วยงานอื่นที่กรมสรรพสามิตตกลงเห็นชอบทำการ ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะนำสุราแช่ออกจากสถานที่ผลิตได้

ทั้งนี้ คุณยังต้อง จัดทำบัญชีและงบเดือน เพื่อแสดงจำนวนสุราหรือเชื้อสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปอีกด้วย

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

หน่วยงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา

เพื่อให้มีหน่วยงานที่สามารถตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรามากเพียงพอ อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราในการส่งสุราไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลัง จึงกำหนดหน่วยงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา ดังนี้

1. หน่วยงานที่ตรวจเฉพาะสุราแช่ คือ กรมสรรพสามิต กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการหรือหน่วยงานของกรม สถาบันราชภัฏ หรือหน่วยงานของสถาบันดังกล่าว

2. หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่กรมสรรพสามิตให้ความเห็นชอบ เช่น ศูนย์วิจัยการหมักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ระหว่างกระบวนการผลิตในธุรกิจผลิตภัณฑ์สุราแช่พื้นเมือง “อุ” มีประเภทภาษีหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณนั่นคือ

- ภาษีสุรา ผู้ ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตสุราจะต้องเสียภาษีก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตรา ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง รวมถึงค่าธรรมเนียมประจำปีต่อกรมสรรพสามิต การเก็บภาษีส่วนใหญ่จะกระทำโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราภายใต้การควบ คุมของพนักงานเจ้าหน้าที่

นอก จากนี้ คุณซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุรายังมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเก็บเพิ่ม เพื่อกระทรวงมหาดไทย ในอัตรา 10% ของภาษีสุรา และต้องเสียเงินเข้ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในอัตรา 2% ของภาษีสุรา รวมทั้งภาษีบำรุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยในอัตรา 1.5 % ของค่าภาษี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อคุณต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร แกลบ ไห และอุปกรณ์ต่างๆ ราคาของที่เราซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิต อาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือคุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ตลอดจนการจ้างผลิตสินค้า การให้เช่า และการประกันวินาศภัย เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณเรียกเก็บจากผู้ ซื้อสินค้าในแต่ละวัน โดยต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป และเมื่อถึงสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแสดงกับกรมสรรพากร ต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต”


ภาษีจากการจำหน่าย “อุ”

ก่อนที่คุณจะนำอุ หรือผลิตภัณฑ์สุราแช่อื่นๆ ออกวางจำหน่าย ต้องดำเนินการกับกรมสรรพสามิต ดังนี้

  • ขออนุญาตจำหน่ายสุราแช่
  • แจ้งราคาขายสุรา ณ โรงงานสุรากรณีผลิตสุราชนิดหรือประเภทใหม่ ต้องแจ้งราคาขายก่อนดำเนินการขายไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • ปิดแสตมป์สุราบนปากภาชนะสุรา และแสดงเครื่องหมายรับรองคุณภาพสุรา ตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด รวมทั้งแสดงฉลากผลิตภัณฑ์สุราให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ ภาชนะบรรจุสุรา และฉลากสุราแช่พื้นเมืองต้องแสดงปริมาณของสินค้าที่หีบห่อ ฉลากต้องมีคำเตือนเป็นภาษาไทยที่มองเห็นได้ง่าย และต้องมีคำเตือนบนฉลาก
  • หากคุณต้องการจะโฆษณาสรรพคุณสุราแช่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ต้องขออนุญาตโฆษณาต่อกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะทำการโฆษณาได้ตามที่ได้รับอนุญาต
  • คุณต้อง จัดทำบัญชีและงบเดือน เพื่อแสดงจำนวนสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา มีด้วยกันทั้งสิ้น 7 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1: สำหรับขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป

ประเภทที่ 2: สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป

ประเภทที่ 3: สำหรับขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร

ประเภทที่ 4: สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร

ประเภทที่ 5: สำหรับขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่ม ณ สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 10 วัน

ประเภทที่ 6: สำหรับการจำหน่ายสุราที่ผลิตหรือทำขึ้นในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่ม ณ สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 10 วัน

ประเภทที่ 7: สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่มภายในสมาคม หรือสโมสร

ในการผลิต “อุ” ออกจำหน่าย สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์สุราแช่พื้นเมือง ดังนี้

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุราแช่พื้นเมือง ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น พนักงานขาย กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์สุราแช่พื้นเมือง คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

-

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับกรณีที่คุณขาย “อุ” จนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

ถ้าส่ง “อุ” ไปขายต่างประเทศ

สินค้าส่งออกโดยทั่วไปมักมีอัตราอากรส่งออกเป็น 0% “อุ” ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการส่งสุราแช่พื้นเมืองอย่าง “อุ” ที่ผลิตได้ ไปขายต่างประเทศ คุณอาจ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอและการยกเว้นภาษีสุรา การเก็บสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนและการขนสินค้าดังกล่าวออกจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีไม่เคยนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ มาก่อน คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรก่อน (แต่หากเคยลงทะเบียนแล้วให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป) หลังจากนั้นจึงดำเนินการ ขออนุญาตส่งสุราแช่พื้นเมือง “อุ” ออกนอกราชอาณาจักร ขออนุญาตขนสุรา แล้วนำใบอนุญาตดังกล่าวไปยื่นต่อศุลกากรใน ขั้นตอนพิธีการส่งออก ตามช่องทางที่จะส่งออกสินค้า คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์

โดยคุณจะต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

รู้เฟื่อง... เรื่อง 'อุ'

สุราแช่พื้นเมืองอย่าง “อุ” ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

  • ภาษีสุรา ใช้อัตราภาษีเดียวกันทั้งผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ตามประเภทสุรา
  • ภาษีสุราแช่พื้นเมือง ปัจจุบันลดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 25 หรือ 70 บาท/ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
  • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำสุราโรงหนึ่ง ปีละ 5,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เก็บหรือรักษาสุราไว้ ณ ที่อื่น ปีละ 1,000 บาท
  • ค่าใบอนุญาตให้ทำเชื้อสุราสำหรับใช้ในโรงงาน เครื่องจักรกลกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า/ใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน ปีละ 250 บาท
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุราจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย จำนวน 10% ของภาษีสุรา
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุราจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 2% ของภาษีสุรา
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุราจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินบำรุงเข้าองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จำนวน 1.5% ของภาษีสุรา

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

ภาษีจากการจำหน่าย “อุ”

ก่อนที่คุณจะนำอุ หรือผลิตภัณฑ์สุราแช่ อื่นๆ ออกวางจำหน่าย ต้องดำเนินการกับ กรมสรรพสามิต ดังนี้

  • ขออนุญาตจำหน่ายสุราแช่

  • แจ้งราคาขายสุรา ณ โรงงานสุรา กรณีผลิตสุราชนิดหรือประเภทใหม่ ต้องแจ้ง ราคาขายก่อนดำเนินการขายไม่น้อยกว่า 15 วัน

  • ปิดแสตมป์สุราบนปากภาชนะสุรา และแสดงเครื่องหมายรับรองคุณภาพสุรา ตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด รวมทั้งแสดง ฉลากผลิตภัณฑ์สุราให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ของกระทรวงสาธารณสุข คือ ภาชนะบรรจุสุราและฉลากสุราแช่พื้นเมืองต้องแสดงปริมาณ ของสินค้าที่หีบห่อฉลากต้องมีคำเตือนเป็น ภาษาไทยที่มองเห็นได้ง่าย และต้องมีคำเตือน บนฉลาก

  • หากคุณต้องการจะโฆษณา สรรพคุณ สุราแช่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ต้องขออนุญาต โฆษณาต่อกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึง จะทำการโฆษณาได้ตามที่ได้รับอนุญาต

  • คุณต้อง จัดทำบัญชีและงบเดือน เพื่อ แสดงจำนวนสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ