หลายคนคงคุ้นหูกับเนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่ร้องว่า “สุรา เขาแปลว่าเหล้า” แต่สุราที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้คือสุรากลั่นชุมชนรสชาติดี ที่สามารถสร้างรายได้ดีด้วย ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการทำสุราขายนั้นสร้างรายได้งามเพียงใด แต่รายได้ทุกบาททุกสตางค์ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับภาษีด้วยเช่นกันเพื่อให้หาย ข้องใจไปทำความรู้จักกับสุรากลั่นชุมชนภาษีสุราแล้วหาช่องทางสร้างรายได้กัน ดีกว่า
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
เป็นผู้ได้รับอนุญาตฯ จากสรรพสามิต
(ผู้ขออนุญาตผลิตต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง) คือ สหกรณ์ / นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ / วิสาหกิจชุมชน / กลุ่มเกษตรกร / องค์กรเกษตรกร | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายสุรากลั่นชุมชนเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขออนุญาตนำเข้า | ขออนุญาตตั้งโรงงาน/ประกอบกิจการโรงงานผลิตสุรากลั่นชุมชน | ขอใบอนุญาตขายสุรา | ขออนุญาตส่งสุราออกนอกราชอาณาจักร |
ลงทะเบียน Paperless | ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา | ขอใบอนุญาตขนสุรา | ขออนุญาตขนสุรา |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | แจ้งวันเวลาทำการผลิต | วางจำหน่าย | ลงทะเบียน Paperless |
ชำระภาษีสุรา | จัดทำบัญชีประจำวันและงบเดือน | ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ปิดและขีดฆ่าแสตมป์
(ปัจจุบันไม่มีการนำเข้าสุรากลั่นชุมชนมาในราชอาณาจักร) | แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน | จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี |
จัดทำรายงานภาษี | การปิดและขีดฆ่าแสตมป์ | จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ | |
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) | ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
“สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับสุรา หรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
“เชื้อสุรา” หมายความว่า แป้งเชื้อสุรา แป้งข้าวหมัก หรือเชื้อใดๆ ซึ่งเมื่อหมักกับวัตถุหรือของเหลวอื่นแล้ว สามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสุราได้
“สุราแช่” หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้วแต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรีด้วย
“สุรากลั่น” หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้ว และให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรีด้วย
ชี้แจงแถลงไขในความหมายของสุราแต่ละประเภทจนพอเข้าใจไปบ้างแล้ว ไปทำความรู้จักกับสุราใน ความหมายตามนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน 2 ชนิด คือ สุราแช่ กับ สุรากลั่นซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภาษีแตกต่างจากผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
สุรากลั่นชุมชน หมายความว่า สุรากลั่นชนิดสุราขาว ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำและขายสุรากลั่นชุมชน ซึ่งสุรากลั่นชุมชนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
ก่อนโดดลงไปเป็นผู้ประกอบกิจการสุรากลั่นชุมชน ลองสำรวจคุณสมบัติของตัวเองอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจว่าคุณมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่ (หากมีก็สามารถยื่นขออนุญาตทำสุรากลั่นชุมชนกับกรมสรรพาสามิตได้เลย)
จากนั้นคุณก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จากนั้นจึงยื่น คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
นอกจากนี้ เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อกรมสรรพากร
แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน และในกรณีที่คุณต้องการส่งออกสุรากลั่นชุมชนไปขายยังต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใด จะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย
โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ
การปรุงสุราชุมชน มีการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศเป็นส่วนผสมที่ควรคัดคุณภาพ อาทิ ในลูกแป้งเหล้าจะต้องมีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้สาโทมีรสเปลี่ยนหรือเสีย การมีสุขลักษณะของการผลิตที่จะต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะผลิตเพื่อการจำหน่าย หรือเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน ยิ่งต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ เรียกได้ว่าถ้าจะผลิตจำหน่ายทั้งที ต้องให้ได้ GMP ด้วย
ดังนั้น การเลือกทำเลตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตต้องเหมาะสม มีการควบคุมการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้สุรากลั่นชุมชนที่สะอาดปลอดภัย มีการสุขาภิบาลที่ดี มีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดสถานที่ผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
น้ำที่นำมาใช้ในการผสมปรุงแต่งสุรา ควรเป็นน้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าน้ำดื่ม รวมทั้งอุปกรณ์ในการผลิตสุรา เช่น อุปกรณ์การหมัก การกลั่น การเก็บ น้ำสุรา ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นสแตนเลสที่ไม่ได้เชื่อมต่อด้วยตะกั่ว กรณีถังหมักถ้าจะใช้พลาสติกควรเป็นพลาสติกเกรดเอคุณภาพดี ทำด้วยโพลีเอททิลีน ห้ามใช้ถังพลาสติก รีไซเคิล
ทั้งนี้ คุณซึ่งเป็นผู้ขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่อไปนี้
สถานที่ผลิตต้องแยกเป็นสัดส่วนจากที่อยู่อาศัยปกติ ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่น แนะนำว่าคุณควรใช้แรงงานผลิตน้อยกว่า 7 คน และใช้เครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หากเกินที่กล่าวมา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับโรงงานต่อไป
และก่อนจะดำเนินการผลิตสุรากลั่นชุมชน คุณซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ต้องยื่นเรื่องทำสัญญาผลิตและขายส่งสุรา กับกรมสรรพสามิต เพื่อดำเนินการผลิตสุราอย่างถูกต้อง จากนั้นส่งตัวอย่างสุราที่ผลิตไม่น้อยกว่า 2 ลิตร (ต้องขอใบขนฯ นำน้ำสุราไปวิเคราะห์ ตามแบบใบขนสุราที่ยังมิได้เสียภาษี) ให้กรมสรรพสามิต หรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่กรมสรรพสามิตให้ความเห็นชอบทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพก่อน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะนำสุรากลั่นออกจากสถานที่ผลิตได้
ภาค 8 จังหวัดภูเก็ต ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
ปี | สุรากลั่นชุมชน | สุราแช่ชุมชน | ||
---|---|---|---|---|
ปริมาณ (ลิตร) | ภาษี (บาท) | ปริมาณ (ลิตร) | ภาษี (บาท) | |
2551 | 555,101.30 | 19,951,544.17 | 5,205.70 | 89,960.00 |
2552 | 433,432.30 | 16,224,801.62 | 4,262.30 | 67,786.20 |
2553 | 385,584.08 | 15,226,407.41 | 8,762.48 | 92,916.13 |
2554 | 319,243.85 | 12,754,946.39 | 6,031.85 | 90,833.55 |
2555 | 302,387.97 | 12,563,560.20 | 6,775.30 | 149,648.90 |
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สถิติการผลิตและจำหน่ายประเภทสุรากลั่นชุมชนและสุราแช่ชุมชน ภาค 8
- เสียภาษีสุราอัตราเดียวกันทั้งผลิตในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ | ตามประเภทสุรา |
- เสียภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย | อัตรา 10% ของภาษีสุรา |
- เสียเงินเข้ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | อัตรา 2% ของภาษีสุรา |
- เสียภาษีบำรุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย | อัตรา 1.5% ของภาษีสุรา |
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำสุราโรงหนึ่ง | ปีละ 5,000 บาท |
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เก็บหรือรักษาสุราไว้ ณ ที่อื่น | ปีละ 1,000 บาท |
- ค่าใบอนุญาตให้ทำเชื้อสุราสำหรับใช้ในโรงงานเครื่องจักรกลกำลังรวมต่ำกว่า
5 แรงม้า/ใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน | ปีละ 250 บาท |
แม้การผลิตสุรากลั่นชุมชนจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพและคุณค่าของสินค้า หากสุราธรรมดาไปอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่หรูหราน่าสะสม ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ คุณอาจต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบบางชนิด อาทิ จุก ขวด ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการเรื่องพิธีการนำเข้าสินค้ากับกรมศุลกากรก่อน
“สุราชุมชน” ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผลิตในชุมชน ดังนั้นการนำเข้าของผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นการนำเข้า “วัตถุดิบ” อื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เช่น ขวดคอคอด จุก ฯลฯ
ซึ่งผู้นำเข้าต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว) จากนั้นจึงเข้าสู่ พิธีการนำเข้าทางศุลกากร โดยคุณต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่นำเข้า ให้ดีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ ณ ด่านศุลกากรที่คุณนำสินค้าเข้า เช่น ทางอากาศ ทางบก ทางเรือ หรือทางไปรษณีย์
ทั้งนี้ กรณีที่คุณต้องการนำเข้า "สุรา" เพื่อมาจำหน่ายในประเทศ หลังลงทะเบียน Paperless แล้วคุณต้องดำเนินเรื่องทางสรรพสามิต โดยเริ่มจากการ ขอใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ขอใบอนุญาตนำเข้าสุรามาในราชอาณาจักร ยื่นแบบรายการภาษีสุรากลั่นชุมชน (แบบ สบ.103) ชำระภาษีสรรพสามิตก่อนขนสุราผ่านด่านศุลกากร และ แจ้งขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์สุรา รวมทั้ง ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้า ตามพิธีการนำเข้าทางศุลกากร
อนึ่ง การนำเข้าสุรากลั่นชุมชนมาในราชอาณาจักร ปัจจุบันไม่มีการนำเข้า เพราะการทำสุรากลั่นชุมชนของไทยเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำสุรากลั่นชุมชนพื้นบ้านของไทย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรต่างๆ
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
ก่อนที่คุณจะนำสุราชุมชน ทั้งสุราแช่ และสุรากลั่น ออกวางจำหน่าย ต้องดำเนินการกับกรมสรรพสามิต ดังนี้
ทั้งนี้ในกระบวนการจำหน่ายสุรากลั่นชุมชนนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ดังนี้
คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
สำหรับกรณีที่คุณขายสุรากลั่นชุมชนจากโรงงานของคุณจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
สินค้าส่งออกโดยทั่วไปมักมีอัตราอากรส่งออกเป็น 0% "สุรากลั่นชุมชน" ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการส่งสุรากลั่นชุมชนที่ผลิตได้ทั้งสุรากลั่น ไปขายต่างประเทศ คุณอาจ ขอยกเว้นหรือคืนภาษีสุราสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปต่างประเทศ ได้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอและการยกเว้นหรือคืนภาษีสุรา การเก็บสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนและการขนสินค้าดังกล่าวออกจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีไม่เคยนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ มาก่อน คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรก่อน (แต่หากเคยลงทะเบียนแล้วให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป) หลังจากนั้นจึงดำเนินการ ขออนุญาตส่งสุรากลั่นชุมชนที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักร ขออนุญาตขนสุรา แล้วนำใบอนุญาตดังกล่าวไปยื่นต่อศุลกากรใน ขั้นตอนพิธีการส่งออก ตามช่องทางที่จะส่งออกสินค้า คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์
โดยคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"คำว่า “แพทย์ทางเลือก” ตามความหมายที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำ...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว...
สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น” ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากสื่อ โทรทัศน์ส...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งการจะก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้ได้นั้น นอกเหนือจ...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทั้งเครื่องดื่ม...น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...
ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
"ภาษีสุรา" ...ง่าย และได้ช่วยชาติ
ใน...