คลินิกภาษีสุรากลั่นชุมชน

สุรากลั่นชุมชน สุราคนไทย รักษาไว้ให้ ก้าวไกลสู่สากล


หลายคนคงคุ้นหูกับเนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่ร้องว่า “สุรา เขาแปลว่าเหล้า” แต่สุราที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้คือสุรากลั่นชุมชนรสชาติดี ที่สามารถสร้างรายได้ดีด้วย ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการทำสุราขายนั้นสร้างรายได้งามเพียงใด แต่รายได้ทุกบาททุกสตางค์ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับภาษีด้วยเช่นกันเพื่อให้หาย ข้องใจไปทำความรู้จักกับสุรากลั่นชุมชนภาษีสุราแล้วหาช่องทางสร้างรายได้กัน ดีกว่า

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
  เป็นผู้ได้รับอนุญาตฯ จากสรรพสามิต
(ผู้ขออนุญาตผลิตต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง)
คือ สหกรณ์ / นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ / วิสาหกิจชุมชน / กลุ่มเกษตรกร / องค์กรเกษตรกร
   
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายสุรากลั่นชุมชนเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขออนุญาตนำเข้า ขออนุญาตตั้งโรงงาน/ประกอบกิจการโรงงานผลิตสุรากลั่นชุมชน ขอใบอนุญาตขายสุรา ขออนุญาตส่งสุราออกนอกราชอาณาจักร
ลงทะเบียน Paperless ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา ขอใบอนุญาตขนสุรา ขออนุญาตขนสุรา
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า แจ้งวันเวลาทำการผลิต วางจำหน่าย ลงทะเบียน Paperless
ชำระภาษีสุรา จัดทำบัญชีประจำวันและงบเดือน ออกใบกำกับภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ปิดและขีดฆ่าแสตมป์
(ปัจจุบันไม่มีการนำเข้าสุรากลั่นชุมชนมาในราชอาณาจักร)
แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน จัดทำรายงานภาษี
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี การปิดและขีดฆ่าแสตมป์ จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

“สุรา” หลากความหมาย ได้รสชาติที่แตกต่าง

“สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับสุรา หรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา

“เชื้อสุรา” หมายความว่า แป้งเชื้อสุรา แป้งข้าวหมัก หรือเชื้อใดๆ ซึ่งเมื่อหมักกับวัตถุหรือของเหลวอื่นแล้ว สามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสุราได้

“สุราแช่” หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้วแต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรีด้วย

“สุรากลั่น” หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้ว และให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรีด้วย

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

ชี้แจงแถลงไขในความหมายของสุราแต่ละประเภทจนพอเข้าใจไปบ้างแล้ว ไปทำความรู้จักกับสุราใน ความหมายตามนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน 2 ชนิด คือ สุราแช่ กับ สุรากลั่นซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภาษีแตกต่างจากผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

ว่าด้วย... “สุรากลั่น”

สุรากลั่นชุมชน หมายความว่า สุรากลั่นชนิดสุราขาว ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำและขายสุรากลั่นชุมชน ซึ่งสุรากลั่นชุมชนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีแรงแอลกอฮอล์ 28 ดีกรี 30 ดีกรี 35 ดีกรี และ 40 ดีกรี
  2. มีปริมาณเมทิลแอลกอฮอล์ ฟูเซลออยล์ เฟอร์ฟิวรัส เอสเทอร์ แอลดีไฮด์ เอทิลคาร์บาเมต วัตถุเจือปนอาหารประเภทกรดเบนโซอิกหรือเกลือกรดเบนโซอิก และสารปนเปื้อนในน้ำสุรา โดยเฉพาะสารหนูและตะกั่วไม่เกินมาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด

ก่อนโดดลงไปเป็นผู้ประกอบกิจการสุรากลั่นชุมชน ลองสำรวจคุณสมบัติของตัวเองอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจว่าคุณมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่ (หากมีก็สามารถยื่นขออนุญาตทำสุรากลั่นชุมชนกับกรมสรรพาสามิตได้เลย)

  1. เป็นสหกรณ์
  2. เป็นกลุ่มบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทย ตามกฎหมายเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน
  3. เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ใน พื้นที่ที่สถานที่ทำสุรากลั่นชุมชนตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต
  4. เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผู้ถือหุ้นทุกคนมีสัญชาติไทย และมี ภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุรากลั่นชุมชนตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต
  5. เป็นองค์กรเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 และมี ภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุรากลั่นชุมชนตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต

จากนั้นคุณก็ยื่น ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จากนั้นจึงยื่น คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

นอกจากนี้ เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อกรมสรรพากร

แต่หากรายได้จากยอดขายของคุณไม่เกินนี้คุณก็สามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน และในกรณีที่คุณต้องการส่งออกสุรากลั่นชุมชนไปขายยังต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน โดยผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใด จะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วย

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

รายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ คือ
  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “ใบกำกับภาษี”
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงานคือ “สำเนาใบกำกับภาษี และใบกำกับภาษี”

โดยผู้ประกอบการต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

ชิมลางการผลิตสุรากลั่นชุมชน

การปรุงสุราชุมชน มีการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศเป็นส่วนผสมที่ควรคัดคุณภาพ อาทิ ในลูกแป้งเหล้าจะต้องมีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้สาโทมีรสเปลี่ยนหรือเสีย การมีสุขลักษณะของการผลิตที่จะต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะผลิตเพื่อการจำหน่าย หรือเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน ยิ่งต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ เรียกได้ว่าถ้าจะผลิตจำหน่ายทั้งที ต้องให้ได้ GMP ด้วย

ดังนั้น การเลือกทำเลตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตต้องเหมาะสม มีการควบคุมการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้สุรากลั่นชุมชนที่สะอาดปลอดภัย มีการสุขาภิบาลที่ดี มีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดสถานที่ผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

น้ำที่นำมาใช้ในการผสมปรุงแต่งสุรา ควรเป็นน้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าน้ำดื่ม รวมทั้งอุปกรณ์ในการผลิตสุรา เช่น อุปกรณ์การหมัก การกลั่น การเก็บ น้ำสุรา ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นสแตนเลสที่ไม่ได้เชื่อมต่อด้วยตะกั่ว กรณีถังหมักถ้าจะใช้พลาสติกควรเป็นพลาสติกเกรดเอคุณภาพดี ทำด้วยโพลีเอททิลีน ห้ามใช้ถังพลาสติก รีไซเคิล

ทั้งนี้ คุณซึ่งเป็นผู้ขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่อไปนี้

  • ขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชนต่อกรมสรรพสามิต
  • ยื่นขออนุญาตก่อสร้างสถานที่ทำสุรากลั่นชุมชน พร้อมด้วยแผนผังสถานที่ตั้ง รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ เรื่องการทำสุรา ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานนั้นตั้งอยู่
  • ดำเนินการก่อสร้างสถานที่ผลิตภายหลังได้รับแจ้งอนุญาตจากกรมสรรพสามิตภายใน 36 เดือน (หากไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิการได้รับอนุญาตผลิต) และต้องทำหนังสือแจ้งให้กรมสรรพสามิตทราบก่อนเปิดดำเนินการไม่น้อยกว่า 15 วัน

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

สถานที่ผลิตต้องแยกเป็นสัดส่วนจากที่อยู่อาศัยปกติ ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่น แนะนำว่าคุณควรใช้แรงงานผลิตน้อยกว่า 7 คน และใช้เครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หากเกินที่กล่าวมา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับโรงงานต่อไป

และก่อนจะดำเนินการผลิตสุรากลั่นชุมชน คุณซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ต้องยื่นเรื่องทำสัญญาผลิตและขายส่งสุรา กับกรมสรรพสามิต เพื่อดำเนินการผลิตสุราอย่างถูกต้อง จากนั้นส่งตัวอย่างสุราที่ผลิตไม่น้อยกว่า 2 ลิตร (ต้องขอใบขนฯ นำน้ำสุราไปวิเคราะห์ ตามแบบใบขนสุราที่ยังมิได้เสียภาษี) ให้กรมสรรพสามิต หรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่กรมสรรพสามิตให้ความเห็นชอบทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพก่อน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะนำสุรากลั่นออกจากสถานที่ผลิตได้

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

สถิติการผลิตและจำหน่าย

ภาค 8 จังหวัดภูเก็ต ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

ปี สุรากลั่นชุมชน สุราแช่ชุมชน
ปริมาณ (ลิตร) ภาษี (บาท) ปริมาณ (ลิตร) ภาษี (บาท)
2551 555,101.30 19,951,544.17 5,205.70 89,960.00
2552 433,432.30 16,224,801.62 4,262.30 67,786.20
2553 385,584.08 15,226,407.41 8,762.48 92,916.13
2554 319,243.85 12,754,946.39 6,031.85 90,833.55
2555 302,387.97 12,563,560.20 6,775.30 149,648.90

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สถิติการผลิตและจำหน่ายประเภทสุรากลั่นชุมชนและสุราแช่ชุมชน ภาค 8

  • ดำเนินการเสียภาษี ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตสุรากลั่นชุมชนจะต้องเสียภาษีก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง รวมถึงค่าธรรมเนียมประจำปีต่อกรมสรรพสามิต การเก็บภาษีส่วนใหญ่จะกระทำโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราภายใต้การควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ คุณซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุรายังมีหน้าที่ต้อง...
- เสียภาษีสุราอัตราเดียวกันทั้งผลิตในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ ตามประเภทสุรา
- เสียภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย อัตรา 10% ของภาษีสุรา
- เสียเงินเข้ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อัตรา 2% ของภาษีสุรา
- เสียภาษีบำรุงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อัตรา 1.5% ของภาษีสุรา
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำสุราโรงหนึ่ง ปีละ 5,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เก็บหรือรักษาสุราไว้ ณ ที่อื่น ปีละ 1,000 บาท
- ค่าใบอนุญาตให้ทำเชื้อสุราสำหรับใช้ในโรงงานเครื่องจักรกลกำลังรวมต่ำกว่า
  5 แรงม้า/ใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน
ปีละ 250 บาท

แม้การผลิตสุรากลั่นชุมชนจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพและคุณค่าของสินค้า หากสุราธรรมดาไปอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่หรูหราน่าสะสม ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ คุณอาจต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบบางชนิด อาทิ จุก ขวด ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการเรื่องพิธีการนำเข้าสินค้ากับกรมศุลกากรก่อน

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

กรณีนำเข้าสุราหรือวัตถุดิบเพื่อผลิตสุรา

“สุราชุมชน” ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผลิตในชุมชน ดังนั้นการนำเข้าของผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นการนำเข้า “วัตถุดิบ” อื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เช่น ขวดคอคอด จุก ฯลฯ

ซึ่งผู้นำเข้าต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว) จากนั้นจึงเข้าสู่ พิธีการนำเข้าทางศุลกากร โดยคุณต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่นำเข้า ให้ดีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องชำระ ณ ด่านศุลกากรที่คุณนำสินค้าเข้า เช่น ทางอากาศ ทางบก ทางเรือ หรือทางไปรษณีย์

ทั้งนี้ กรณีที่คุณต้องการนำเข้า "สุรา" เพื่อมาจำหน่ายในประเทศ หลังลงทะเบียน Paperless แล้วคุณต้องดำเนินเรื่องทางสรรพสามิต โดยเริ่มจากการ ขอใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ขอใบอนุญาตนำเข้าสุรามาในราชอาณาจักร ยื่นแบบรายการภาษีสุรากลั่นชุมชน (แบบ สบ.103) ชำระภาษีสรรพสามิตก่อนขนสุราผ่านด่านศุลกากร และ แจ้งขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์สุรา รวมทั้ง ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้า ตามพิธีการนำเข้าทางศุลกากร

อนึ่ง การนำเข้าสุรากลั่นชุมชนมาในราชอาณาจักร ปัจจุบันไม่มีการนำเข้า เพราะการทำสุรากลั่นชุมชนของไทยเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำสุรากลั่นชุมชนพื้นบ้านของไทย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรต่างๆ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

“สามจอก สี่จอก กรอกเข้า” ... น้ำเมาก็สร้างรายได้

ก่อนที่คุณจะนำสุราชุมชน ทั้งสุราแช่ และสุรากลั่น ออกวางจำหน่าย ต้องดำเนินการกับกรมสรรพสามิต ดังนี้

  • ขออนุญาตจำหน่ายสุรากลั่นชุมชน
  • แจ้งราคาขายสุรา ณ โรงงานสุรา กรณีผลิตสุรากลั่นชุมชนชนิดหรือประเภทใหม่ ต้องแจ้งราคาขายก่อนดำเนินการขายไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • ปิดแสตมป์สุรา บนปากภาชนะสุรา และแสดง เครื่องหมายรับรองคุณภาพสุรา ตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด รวมทั้งแสดง ฉลากผลิตภัณฑ์สุรา ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ ภาชนะบรรจุสุรา และฉลากสุรากลั่นชุมชนต้องแสดงปริมาณของสินค้าที่หีบห่อ ฉลากต้องมีคำเตือนเป็นภาษาไทยที่มองเห็นได้ง่าย และต้องมีคำเตือนบนฉลาก

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

ฉลากที่ใช้ปิดภาชนะบรรจุสุรา อย่างน้อยต้องมีข้อความดังนี้
  1. ชนิดสุรา
  2. ชื่อสุรา
  3. ชื่อผู้ได้รับอนุญาต
  4. ที่ตั้งของสถานที่ทำสุรากลั่นชุมชน
  5. ส่วนประกอบหลัก หรือวัตถุดิบที่ใช้ทำสุรานั้น
  6. แรงแอลกอฮอล์
  7. ขนาดบรรจุ
  8. วันเดือนปีที่บรรจุ
  9. คำเตือนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  10. ชื่อประเภทผลิตภัณฑ์ว่า "สุรากลั่นชุมชน"
  11. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน (ถ้ามี)

  • คุณต้อง จัดทำบัญชีและงบเดือน เพื่อแสดงจำนวนสุราหรือเชื้อสุราต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • ทั้งนี้ในกระบวนการจำหน่ายสุรากลั่นชุมชนนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ดังนี้

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง ทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจที่คุณจดทะเบียนไว้ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือ บิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับกรณีที่คุณขายสุรากลั่นชุมชนจากโรงงานของคุณจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

เปิดร้านลองลิ้มชิม “สุรากลั่นชุมชน”

รินให้ไกล นำสุราชุมชนไทยส่งออก

สินค้าส่งออกโดยทั่วไปมักมีอัตราอากรส่งออกเป็น 0% "สุรากลั่นชุมชน" ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการส่งสุรากลั่นชุมชนที่ผลิตได้ทั้งสุรากลั่น ไปขายต่างประเทศ คุณอาจ ขอยกเว้นหรือคืนภาษีสุราสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปต่างประเทศ ได้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอและการยกเว้นหรือคืนภาษีสุรา การเก็บสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนและการขนสินค้าดังกล่าวออกจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีไม่เคยนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ มาก่อน คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรก่อน (แต่หากเคยลงทะเบียนแล้วให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป) หลังจากนั้นจึงดำเนินการ ขออนุญาตส่งสุรากลั่นชุมชนที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักร ขออนุญาตขนสุรา แล้วนำใบอนุญาตดังกล่าวไปยื่นต่อศุลกากรใน ขั้นตอนพิธีการส่งออก ตามช่องทางที่จะส่งออกสินค้า คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์

โดยคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของธุรกิจ SMEs

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ