‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากผู้ประกอบการไทย เพราะเรามีแหล่งวัตถุดิบ ผลไม้ท้องถิ่นรสชาติแสนอร่อยกระจายอยู่ทุกภูมิภาค
ซึ่งการจะประสบความสำเร็จจากธุรกิจนี้นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง นอกจากความเชี่ยวชาญในการผลิตแล้วคุณยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง “ภาษี” อย่างถูกต้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการนำเข้า หรือผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในไทยและต่างประเทศ ล้วนเป็นวงจรที่เกี่ยวข้องกับภาษีทั้งสิ้น ฉะนั้น
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
เป็นผู้ได้รับอนุญาตฯ จากสรรพสามิต
(ผู้ขออนุญาตผลิตต้องมีคุณสมบัติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง)
|
|||
* ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
* ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายไวน์ผลไม้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
* จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขออนุญาตนำเข้าสุราแช่ประเภทไวน์ | ขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน | ขอใบอนุญาตขายสุรา | ขออนุญาตส่งสุราออกนอกราชอาณาจักร |
ลงทะเบียน Paperless | ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา | ขอใบอนุญาตขนสุรา | ขออนุญาตขนสุรา |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | การแจ้งราคาขาย ณ โรงงาน | วางจำหน่าย | ลงทะเบียน Paperless |
ปิดและขีดฆ่าแสตมป์ | การปิดและขีดฆ่าแสตมป์ | ออกใบกำกับภาษีและจัดทำรายงานภาษี | ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
จัดทำรายงานภาษี | จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
"ไวน์ผลไม้" ที่เราเห็นวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้น ในทางกฎหมายแล้วอยู่ในกลุ่มสุราประเภท "สุราแช่" เนื่องจากในไวน์แต่ละขวดจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ในปริมาณไม่เกิน 15% ของปริมาณไวน์ 1 ขวด ดังนั้น กฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไวน์ผลไม้จึงเป็นกฎหมายเดียวกับผลิตภัณฑ์สุราประเภทอื่นๆ คือ พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 นั่นเอง
ทางเลือกสำหรับธุรกิจไวน์ผลไม้นั้นมีหลากหลาย เจ้าของกิจการบางคนเลือกที่จะเป็น ผู้ประกอบการนำเข้า บางคนเลือกผลิตเองเพื่อขายในประเทศ แต่บางคนก็ต้องการโกอินเตอร์ส่งสินค้าออกไปขายสร้างชื่อเสียงขจรขจายไกลถึงต่างประเทศก็มี ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ต่างมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ... ผู้ประกอบการทุกคนต้อง
**ข้อมูล "ภาษีอากร" เพิ่มเติมที่ "ความรู้ภาษี-กรมสรรพากร"
ผู้นำเข้าไวน์ผลไม้นั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เพียงแต่ต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว) จากนั้นจึงดำเนินเรื่องทางสรรพสามิต
โดยเริ่มจากการขอใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 ขอใบอนุญาตนำเข้าสุราประเภทไวน์ ยื่นแบบรายการภาษีสุรา (แบบ สบ.103) และชำระภาษีสรรพสามิตก่อนขนไวน์ผลไม้ผ่านด่านศุลกากร และแจ้งขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์สุรา ยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตาม พิธีการนำเข้าทางศุลกากร
แต่ในกรณีที่คุณ "เป็นผู้ผลิตไวน์ผลไม้" และขนาดการผลิตของคุณมีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า และมีคนงานน้อยกว่า 7 คน คุณต้อง จดทะเบียนธุรกิจ ในนามสหกรณ์ กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร หรือเป็นนิติบุคคลเท่านั้น จากนั้นจึง ขออนุญาตจำหน่ายสุรา ยื่นขอสร้างโรงงานผลิต ตามแบบฟอร์มของกรมสรรพสามิต
เมื่อโรงงานของคุณเสร็จเรียบร้อยพร้อมรองรับการผลิตที่จะเกิดขึ้น คุณต้องแจ้งกรมสรรพสามิตก่อนล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 15 วัน ว่าคุณจะดำเนินการผลิตแล้ว รวมทั้งต้อง ทำสัญญาว่าด้วยการอนุญาตให้ทำและขายส่งสุรา กับกรมสรรพสามิต ซึ่งต้องระบุว่าจะใช้ผลไม้อะไรเป็นวัตถุดิบผลิตไวน์ และมีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร ให้กรมสรรพสามิตอนุญาตก่อน
พอ "ไวน์ผลไม้" ถูกผลิตออกมาให้เห็นแล้ว คุณต้อง ขอใบอนุญาตขนสุรา ที่ยังมิได้เสียภาษีออกจากสถานที่ผลิตต่อสรรพสามิตท้องที่ เพื่อส่งตัวอย่างไวน์ที่ผลิตได้ไม่น้อยกว่า 2 ลิตร ให้กรมสรรพสามิต หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่กรมสรรพสามิตให้ความเห็นชอบตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ซึ่งกรมสรรพสามิตสามารถตรวจวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยภายใน 12 วันทำการ เมื่อผลการตรวจผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไวน์ผลไม้ของคุณจึงจะได้รับอนุญาตให้ผลิตออกจำหน่าย
แต่... ใช่ว่าจะวางขายได้ทันที คุณต้องกำหนด บรรจุภัณฑ์ ฉลาก และราคา พร้อม แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน ทั้งราคาส่งและราคาปลีก รวมทั้งผลประโยชน์ใดๆ ที่คำนวณเป็นเงินได้ ก่อนการขายไม่น้อยกว่า 15 วัน ให้กรมสรรพสามิตทราบ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี อ้อ... ต้อง ยื่นบัญชีแสดงการผลิตและการรับซื้อวัตถุดิบทุกเดือน ต่อกรมสรรพสามิตภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไปด้วยนะ
บรรจุภัณฑ์: ต้องเหมาะสม สะอาด ปิดสนิท ไม่ทำปฏิกิริยากันระหว่างภาชนะบรรจุและไวน์ และปิดแสตมป์ที่ฝาบรรจุภัณฑ์ได้
ฉลาก: ต้องระบุชนิดสุรา (ไวน์ผลไม้) ชื่อสินค้า ชื่อผู้ได้รับอนุญาต ที่ตั้งสถานที่ผลิต ส่วนประกอบหลักของไวน์ แรงแอลกอฮอล์ ขนาดบรรจุ วันเดือนปีที่บรรจุ และคำเตือนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ราคา: ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี
นอกจากนี้ ก่อนนำสินค้าออกจากโรงงาน คุณต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และรับแสตมป์สุราไปปิดภาชนะบรรจุสุราทันทีที่บรรจุเสร็จภายใต้การควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
ทีนี้... ก็วางขาย ได้ทั่วประเทศแล้ว
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
ถ้า...ส่งออกต่างประเทศ
สินค้าส่งออกโดยทั่วไปมักมีอัตราอากรส่งออกเป็น 0% ไวน์ผลไม้ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการส่งไวน์ผลไม้ที่ผลิตได้ไปขายต่างประเทศ คุณอาจ ขอยกเว้นภาษีสุราสำหรับไวน์ที่จะส่งออกไปต่างประเทศได้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอและการยกเว้นภาษีสุรา การเก็บสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนและการขนสินค้าดังกล่าวออกจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีไม่เคยนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ มาก่อน คุณต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) กับกรมศุลกากรก่อน (แต่หากเคยลงทะเบียนแล้วให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป) หลังจากนั้นจึงดำเนินการ ขออนุญาตส่งสุราแช่ประเภทไวน์ออกนอกราชอาณาจักรขออนุญาตขนส่งสุรา แล้วนำใบอนุญาตดังกล่าว ไปยื่นต่อศุลกากรใน ขั้นตอนพิธีการส่งออก ตามช่องทางที่จะส่งออกสินค้า คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือ ทางไปรษณีย์
โดยคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
เมื่อมีรายได้จากการขายไวน์
การผลิตไวน์ผลไม้ออกจำหน่ายไม่ว่าจะ "นำเข้าเพื่อจำหน่าย" "ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก" หรือ "เป็นผู้ส่งออก" ก็ตาม สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากธุรกิจของคุณ ดังนี้
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEsจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
เครื่องดื่มประเภท “น้ำชา” นอกจากช่วยดับกระหายคลายง่วงแล้ว ...
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลกกที่ถูกคัดเลือกให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ...
ธุรกิจร้านนวดแผนโบราณเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อเท่านั้น ไม่ครอบคลุม การนวดเพื่อ...
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อ...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“เครื่องถมและเครื่องเงินลงยา” เป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูงอีก...
ในปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง อย่างต...