"OTOP" เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำลังเติบโตก้าวสู่การส่งออกอย่างเข้มแข็ง ด้วยความโดดเด่น ของผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์จากความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย
ปัจจุบัน "OTOP" เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างแพร่หลาย มีผลิตภัณฑ์กว่า 70,000 รายการจาก ทั่วประเทศ และมีผู้ประกอบการหลายรายที่กำลังพัฒนาสู่การแข่งขันและเป็นดาวเด่นในตลาด สากล
หากคุณกำลังวางแผนที่จะนำภูมิปัญญามาสร้างมูลค่าในแบบของ "OTOP" ชั้นนำ ต้องไม่ลืมที่จะทำความเข้าใจเรื่อง "ภาษี" เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่สูญเสียสิทธิประโยชน์ที่ "คุณพึงจะได้รับ"
OTOP คือธุรกิจที่เติบโตจากโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (ONE TAMBON ONE PRODUCT) โดยมีการแบ่งสินค้า OTOP ออกเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
อาหาร | เครื่องดื่ม | ผ้า/เครื่องแต่งกาย | ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก | สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร |
OTOP นั้นถือเป็นธุรกิจหนึ่งในวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากภาครัฐมากมาย และการเริ่มต้นธุรกิจ OTOP ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าพร้อมแล้ว... ลุยกันเลย
ผู้ประกอบการธุรกิจ OTOP ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชุมชน เจ้าของเพียงคนเดียว หรือผู้ประกอบการขาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) หรือวิสาหกิจชุมชน (SMCE) ต้องรู้ว่าสินค้า OTOP ที่ตนเองจะดำเนินการผลิตนั้น เป็นสินค้าประเภทชุมชน หรือประเภท SMEs เพราะคุณต้องนำข้อมูลตรงนี้ไปขอ จดทะเบียน OTOP กับสำนักงานพัฒนาชุมชน จากนั้นต้อง ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ของกรมสรรพากรเมื่อคุณมีรายได้จากการขายสินค้าในธุรกิจ OTOP เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการนำเข้า-ส่งออกสินค้า OTOP ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน)
OTOP เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ริเริ่มจากการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตสินค้าคุณภาพ แต่สินค้าบางชนิดอาจต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบมาเป็นส่วนผสม ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเรียนรู้ขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบก่อน โดยต้องมี การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ทั้งยังต้องผ่าน พิธีการนำเข้าสินค้า โดยศึกษาพิกัดศุลกากรสินค้าที่จะนำเข้าให้ดีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้าที่คุณต้องจ่าย ณ ด่านศุลกากรทางบก ทางเรือ ทางอากาศ หรือทางไปรษณีย์ เพื่อนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคุณจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วย
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”
ก่อนลงมือผลิตคุณต้องรู้ข้อจำกัดในการผลิตสินค้า OTOP ก่อน คือจะต้องไม่เป็นสินค้าเลียนแบบ ดัดแปลง นำเข้า หรือนำเข้ามาดัดแปลง หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องไม่ใช้วัตถุดิบที่ผิดกฎหมาย ไม่ก่ออันตรายอย่างร้ายแรงต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดต่อประเพณีวัฒนธรรมไทย และในกรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับจะต้องได้รับอนุญาตผลิตอย่างถูกต้อง พร้อมกันนี้คุณจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
แต่ละชุมชน ตำบล ท้องถิ่นของประเทศไทยนั้น มีผลิตภัณฑ์ OTOP มากมาย ซึ่งบางผลิตภัณฑ์มีคณภาพคับแก้ว จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น
อ๊ะๆ... ไม่ต้องอิจฉา แค่ตั้งใจ OTOP ของคุณก็ติดดาวได้
เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจากการขายสินค้า OTOP ผู้ประกอบการทุกคนต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ดังนี้
คุณต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากรได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" “จำหน่าย”
ผู้ประกอบการ OTOP บางคน ไม่มองการจำหน่ายในประเทศอย่างเดียว แต่จะหาลู่ทางการส่งออกสินค้าไปเจาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งหากคุณลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร แบบ Paperless มาแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอน การผ่านพิธีการส่งออกสินค้า ได้เลย
อ้อ... อย่าลืมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นะ
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”
"OTOP" ถือเป็นธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ก้าวเข้ามาในธุรกิจนี้จึงได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย โดยกรมสรรพากรได้ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ประโยชน์ทางธุรกิจด้วยวิธีการ เช่น
โดยรัฐก็เห็นความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ เพื่อการประหยัดพลังงาน ส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจหรือนโยบายด้านสังคม จึงยอมให้คุณหักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99...
คำว่า “แพทย์ทางเลือก” ตามความหมายที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำ...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
ธุรกิจร้านให้เช่ารถมักนิยมเปิดให้บริการในเขตเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพ, เชียงใหม่, ภู...
ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ...
ร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย มักอยู่ตามตลาดหรือแหล่งชุมชน
โดยร้านขายของชำจะไปซื้อ...
จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิ...
“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
"OTOP" เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำลังเติบโตก้าวสู่การส่งอ...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...