คลินิกภาษีสบู่

ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูลค่าการเติบโต ไม่แปรผันไปตามภาวะเศรษฐกิจเพราะผู้หญิงหยุดสวยไม่ได้ และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชายก็หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ และความงามกันมากขึ้น ธุรกิจ "สบู่" จึงมีผู้ประกอบการให้ความสนใจ พิถีพิถันในการคัดสรรสารสกัดที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มี จุดแข็ง จุดขาย แตกต่าง จากคู่แข่ง

เหนือสิ่งอื่นใดคือ ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาเรื่อง "ภาษี" ให้เข้าใจ เพื่อบริหารจัดการอย่างถูกต้อง เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจในอนาคต

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

"ภาษีสบู่" เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ขอมาตรฐาน อย. ออกใบกำกับภาษี ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี จัดทำรายงานภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขอมาตรฐาน อย. ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี     จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี     ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

เปิดกล่องความรู้

"สบู่" จัดเป็นเครื่องสำอางที่จำแนกอยู่ในหมวดตามรูปแบบผลิตภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  • สบู่ก้อน (Bar soap) เกิดจากไขมันหรือน้ำมันทำปฏิกิริยากับด่าง เกิดเป็นไขสบู่ที่เป็นของแข็ง เมื่อจับสบู่แล้วจะรู้สึกเหนียว และเมื่อโดนน้ำจะรู้สึกเรียบลื่น อยู่ในลักษณะที่เป็นก้อน มีรูปร่างตามแต่พิมพ์ที่ใช้หล่อสบู่
  • สบู่เหลว (Liquid soap) มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันกับสบู่ก้อน แต่จัดอยู่ในรูปแบบของเหลว

การทำธุรกิจเกี่ยวกับสบู่นั้น ผู้ประกอบการทุกคนต้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และกรณีคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วเห็นแววว่าผลประกอบการสบู่ของคุณจะสามารถทำเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือไม่แน่ใจรายได้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

การดำเนินธุรกิจ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต
  ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้า กรมสรรพสามิต
นำเข้าสบู่-จำหน่ายในประเทศ       -
นำเข้าสบู่-ส่งออก       -
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตสบู่-จำหน่ายในประเทศ       -
นำเข้าวัตถุดิบ-ผลิตสบู่-ส่งออก       -

หลังจากนั้นลองสำรวจความสนใจและศักยภาพของตนเอง ว่าจะดำเนินธุรกิจไปในทิศทางใด

"นำเข้า" วัตถุดิบ-สบู่สำเร็จรูป

หากตัดสินใจได้แล้วว่าจะ "นำเข้า" ไม่ว่าจะนำเข้าวัตถุดิบหรือสบู่สำเร็จรูปก็ตาม สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก ตาม ระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) กับกรมศุลกากร ซึ่งลงทะเบียนครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อทำ พิธีการนำเข้าทางศุลกากร ตามด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ด้วย

ซึ่งคุณต้องศึกษาเรื่อง พิกัดศุลกากร ที่เกี่ยวข้องกับสบู่ เพื่อจดตัวเลข 8 หลัก มาใช้ในการประเมินราคาการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
สบู่ 3401.11.20 10%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

และก่อนนำเข้าวัตถุดิบหรือสบู่สำเร็จรูปมาจำหน่ายคุณต้องยื่นขอรับหนังสือจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อแจ้งกรมศุลกากร (แบบ สอท.1) พร้อมแนบภาพถ่ายตัวอย่างวัตถุดิบและสบู่สำเร็จรูปที่ขอนำเข้า เมื่อเอกสารได้รับการอนุญาตจากทุกหน่วยงานอย่างสมบูรณ์ ระบบจะทำการปล่อยสินค้าอัตโนมัติ จากนั้นคุณก็สามารถติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกและนำของออกอารักขาศุลกากรได้จากหน่วยงานที่ศุลกากรกำหนดไว้

เปืดกล่องความรู้

  • สบู่สำเร็จรูป และครีมอาบน้ำ ได้รับการยกเว้นอากร แต่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • วัตถุดิบและส่วนผสมของสบู่จะมีชนิด ประเภท แตกต่างกันออกไป ต้องดูรายละเอียดในพิกัดศุลกากร

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “นำเข้า”

ภาษีของ "ผู้ผลิต" สบู่ไทย

หากจะเป็น "ผู้ผลิต" กิจการสบู่ของคุณจะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อไปนี้

  • กรมสรรพากร: ผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา และหรือนิติบุคคล จะต้อง "ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร" กับกรมสรรพากร ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรก เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเถ้าแก่ธุรกิจสบู่ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า: ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: เนื่องจากสบุ่ถือเป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ดังนั้น จึงต้องเกี่ยวข้องกับองค์กรซึ่งมีหน้าที่ควบคุมตรวจสอบอย่าง "อย." นั่นเอง

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

ภาษีของ "ผู้ส่งออก"

มาถึงขั้นตอนการ "ส่งออก" สิ่งที่ต้องทำหลังจดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ตลอดจนจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว คุณต้องทำการ ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ของกรมศุลกากรพร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน

เปืดกล่องความรู้

หลักฐานที่ใช้ในการลงทะเบียน (Paperless)
  • กรณีนิติบุคคลหรือบุคลที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ซึ่งออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
    2. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือ ภ.พ.20 หรือ ภ.พ.09
    3. Bank Statement หรือสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในนามบริษัท ห้างร้าน (ถ้ามี)
    4. สำเนาภาพถ่ายหรือหนังสือรับรองตราสำคัญของบริษัท (บอจ.3) หรือห้างหุ้นส่วน (หส.2)
      **กรณีหนังสือรับรองระบุเงื่อนใขต้องประทับตราสำคัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
    5. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือ Passport ของผู้มีอำนาจลงนาม
  • กรณีสำหรับบุคคลธรรมดา ให้ใช้แบบคำขอฯ หมายบเลข 1-1 และสำหรับนิติบุคคลฯ ให้ใช้แบบคำขอฯ หมายเลข 1 โดยสามารถ Download แบบคำขอฯ ได้ที่ Website ของกรมศุลกากรที่ www.customs.go.th

ผู้ส่งออกต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยานพร้อมกันในคราวเดียว โดยข้อมูลในใบกำกับฯ จะบันทึกรวมกับการบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และเลขที่ใบกำกับฯ จะใช้เลขที่เดียวกับใบขนสินค้า

ให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนยื่นขอรับรองใบขนสินค้าขาออกต่องานธุรการ ส่วนบริการศุลกากร 2 ณ อาคารตรวจสินค้าขาออก (CE) ชั้น 2 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจำลองเอกสารตามอัตราที่กำหนดไว้ในใบแบบ ศ.5 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิมพ์ใบขนสินค้าจากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ซึ่งมีข่อความว่า "ใบขนสินค้าได้พิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร" พร้อมลงนามรับรอง

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น และ... อย่าลืม จัดทำรายงานภาษี ด้วยนะ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

วางจำหน่าย ยอดขายโต

ยอดขายหรือรายได้ที่คุณได้รับจากการนำเข้ามาจำหน่าย ผลิตเพื่อจำหน่าย หรือจากการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศนั้น ทำให้คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสบู่ของคุณ ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์สบู่ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการผลิตสบู่ การบรรจุ การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ หรือสบู่สำเร็จรูป รวมทั้งการซื้อวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายสินค้าของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “จำหน่าย”

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ