คลินิกภาษีผ้าฝ้ายทอขิด

ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิดส่วนใหญ่นิยมใช้วัตถุดิบจากเส้นใยฝ้ายมากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมาก็คือเส้นใยไหม นำมาทอเป็นเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ ปลอกหมอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าม่าน เสื้อ ผ้าซิ่น กระเป๋า ฯลฯ

ผ้าทอชนิดนี้แพร่หลายในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและทักษะทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าชนิดอื่นๆ ด้วยเทคนิคกรรมวิธีการทอที่ซับซ้อน ประกอบกับผู้ทอต้องใช้เวลา ความอดทน และความละเอียดลออเป็นอย่างมาก

การจะก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจผ้าฝ้ายทอขิด นอกจากต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือที่แสดงถึงภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ "ภาษี" อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอนด้วย เพื่อปูทางไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ขออนุญาตตั้งโรงงาน/ประกอบกิจการโรงงานทอผ้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จัดทำรายงานภาษี การรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
จัดทำรายงานภาษี จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบและเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ ลงทะเบียน Paperless
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร เตรียมการยื่นแบบฯ และเสียภาษี   ขั้นตอนพิธีการส่งออก
      จัดทำรายงานภาษี
      ยื่นแบบฯ และเสียภาษีกับกรมสรรพากร

ความรู้เกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้อง

ประเภทกิจกรรม
ที่กิจการเกี่ยวข้อง
กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลากร
ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ     การนำเข้า การส่งออก
บุคคล ธรรมดา/นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย
นำเข้า ผลิต และจำหน่ายในประเทศ - -
นำเข้า ผลิต จำหน่ายในประเทศ และส่งออก -
ผลิต และจำหน่ายในประเทศ - - -
ผลิตและส่งออก - -

เริ่มต้นธุรกิจ

ผู้ประกอบการธุรกิจผ้าฝ้ายทอขิดต้องเริ่มต้นกิจการด้วย การขออนุญาตตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานทอผ้ากับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

จากนั้น ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

และเมื่อคุณขายสินค้า... ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยที่หากคุณมีรายรับไม่ถึงจำนวนดังกล่าว ก็ยังสามารถ ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร หรือจดไว้เผื่อคุณคิดจะเป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกผ้าฝ้ายทอขิด

เรื่องนี้ต้องขยาย

กฎหมายโรงงานอุตสาหกรรมน่ารู้

กรมโรงงานอุตสาหกรรมแบ่งโรงงานอุตสาหกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

โรงงานจำพวกที่ 1: มีเครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน ไม่มีการฟอก/ย้อมสี ไม่ต้องขออนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการโรงงาน

โรงงานจำพวกที่ 2: มีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน ไม่มีการฟอก/ย้อมสี และไม่จัดอยู่ในโรงงานจำพวกที่ 1 ต้องขออนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการโรงงานกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

โรงงานจำพวกที่ 3: มีเครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า และคนงานเกิน 50 คน หรือโรงงานทุกขนาดซึ่งมีการฟอก ย้อมสี ต้องดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม อนุมัติการดำเนินกิจการ

ภาษี "ผู้ผลิต" ผ้าฝ้ายทอขิด

คำว่า "ขิด" เป็นภาษาพื้นบ้านอีสาน มาจากคำว่า "สะกิด" ดังนั้น "ผ้าขิด" จึงเป็นการเรียกขานชื่อผ้าตามกระบวนการทอ คือ ผู้ทอใช้ไม้เก็บขิดสะกิดช้อนเครือเส้นยืนขึ้นเป็นจังหวะตามลวดลายตลอดหน้าผ้า และพุ่งกระสวยสอดเส้นพุ่งพิเศษและเส้นพุ่งเข้าไปตลอดแนวเครือเส้นยืนที่ถูกงัดช้อนขึ้น ช่วงจังหวะของความถี่ห่างที่เครือเส้นยืนถูกกำหนดไว้ด้วยไม้เก็บขิดจึงเกิดเป็นลวดลายขิดขึ้น

ลักษณะเฉพาะของผ้าทอลายขิด สังเกตได้จากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด อาจเหมือนกันทั้งผืนหรือไม่เหมือนกันทั้งผืนก็ได้ แต่ต้องมีลายซ้ำที่มีจุดจบแต่ละช่วงของลายเห็นได้ชัด

ลวดลายผ้าทอขิดส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่ผู้ทอได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเชื่อ เช่น ลายแมงป่อง ลายช้าง ลายพญานาค ลายดอกแก้ว ลายดอกจันทน์ ฯลฯ ในปัจจุบันอาจแบ่งกลุ่มลายผ้าทอลายขิดได้เป็น 4 ประเภท คือ ขิดลายสัตว์ ขิดลายพันธุ์ไม้ ขิดลายสิ่งของเครื่องใช้ และขิดลายเบ็ดเตล็ด

เรื่องนี้ต้องขยาย

เรื่องผ้าน่ารู้

กรรมวิธีในการทอผ้าลายขิด

วิธีทอผ้าเก็บขิดหรือเก็บดอก ต้องมีอุปกรณ์หลักคือ ไม้ค้ำกว้างประมาณ 4 นิ้ว ยาวขนาด 2 ศอก และมีไม้ขนาดเล็กเป็นไม้สอด ใช้สำหรับเก็บขิดให้เป็นลายต่างๆ วิธีการทอผ้าขิดสามารถทำได้ดังนี้

1.คัดไม้ขิดโดยไม่มีการเก็บตะกอ เหมาะสำหรับการทอลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมาก และต้องการเปลี่ยนลวดลายบ่อยๆ ไม้ขิดที่เก็บลวดลายจะเรียงกันไปตามลำดับบนเครือเส้นยืนซึ่งอยู่ด้านหลังฟืม

2.เก็บขิดเป็นตะกอลอย วิธีนี้ต้องผ่านการคัดไม้ขิดก่อน จากนั้นใช้ด้ายเก็บลายตามไม้ขิดที่คัดไว้ทุกเส้น เรียกว่า "เก็บตะกอลอย" วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีแรกคือไม่ต้องเก็บขิดทุกครั้งที่ทอ แต่ใช้วิธียกตะกอลอยไล่ไปแต่ละไม้จนครบ ช่วยให้ทอลวดลายซ้ำๆ กันได้โดยไม่ต้องเก็บลายใหม่ทุกๆ ครั้ง

3.เก็บตะกอแนวตั้ง การเก็บตะกอแนวตั้งพัฒนามาจากการเก็บขิดแบบดั้งเดิม ช่วยให้ทอได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และสามารถทอลวดลายซับซ้อนที่ต้องใช้จำนวนตะกอมากๆ ได้

ระหว่างกระบวนการผลิตในธุรกิจผ้าฝ้ายทอขิดนี้มีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ คือ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อคุณต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกี่ทอ ฝ้าย เส้นด้าย เส้นใยต่างๆ สีย้อมผ้า และอุปกรณ์ต่างๆ ราคาของที่เราซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิต อาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ผู้ประกอบการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ตลอดจนการจ้างผลิตสินค้า การให้เช่า และการประกันวินาศภัย เป็นต้น

นอกจากนี้ หากคุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อบันทึกจำนวนยอดขายสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คุณได้เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละวัน และต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายสินค้าออกไป และเมื่อสิ้นเดือนคุณต้องรวมยอดขายและภาษีขายเพื่อยื่นแสดงกับกรมสรรพากรต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

ภาษี "ผู้นำเข้า" เส้นใยและสิ่งทอ

การจะเป็นผู้นำเข้าเส้นใยและสิ่งทอ เช่น ฝ้าย และไหม เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้าทอลายขิด นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการที่จะนำเข้าวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าใดๆ ก็ตาม ต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า (ลงทะเบียน Paperless) กับกรมศุลกากรเสียก่อน (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) จากนั้นจึงดำเนินการตาม พิธีการนำเข้าทางศุลกากรที่ด่านศุลกากรหรือช่องทางที่นำเข้ามา ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อีกด้วย

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ไม่ได้ฟอก 5209.19.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม
ฟอกแล้ว 5209.29.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม
ย้อมสี 5209.39.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

นอกจากนี้คุณยังควรศึกษา โครงสร้างและพิกัดอัตราภาษีเกี่ยวกับสิ่งทอ เพื่อรับทราบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในกรณีที่เป็นสินค้าที่เข้าข่ายอยู่ในเขตการตกลงการค้าเสรีด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

เมื่อมีรายได้จากการจำหน่าย

การผลิตผ้าฝ้ายทอขิดออกจำหน่าย ไม่ว่าจะ "นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย" "ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก" หรือ "เป็นผู้ส่งออก" สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผ้าฝ้ายทอขิด ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอขิด ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี

  • การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดายื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง
    • เงินได้ มกราคม-มิถุนายน เสียภาษีภายในเดือนกันยายน ในแต่ละปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94
    • เงินได้ มกราคม-ธันวาคม เสียภาษีภายในเดือนมีนาคม ปีถัดไป ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90
    ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
    ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
     
  • การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50
    ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
    ตามมาตรา 68, 68 ทวิ และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการจำหน่ายผ้าฝ้ายทอขิดต้องมีการว่าจ้างแรงงาน เช่น พนักงานขาย กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่มีดอกเบี้ยรับจากการให้กรรมการกู้ยืมเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ให้กับกรมสรรพากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการตั้งราคาขายสินค้า คุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

และในกรณีที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ