คลินิกภาษีสปา

“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิยมมาก เป็นอันดับต้นๆ ทั้งจากคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยจุดเด่นของบรรยากาศการตกแต่งร้านที่มีเอกลักษณ์ การต้อนรับเอาใจใส่ให้บริการตามวิถีไทย เช่น การนวด สมุนไพรและกลิ่นที่ใช้ ฯลฯ ซึ่งผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว

ธุรกิจสปาจึงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรียกเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ประเทศ อีกทั้งยังสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้อีกเป็นจำนวน มาก

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนพาณิชย์ (กรณีมีการขายสินค้าในสถานที่ให้บริการสปา)
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการบริการเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต
(ผู้ประกอบกิจการให้บริการสปา)
จำหน่าย
(กรณีมีการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ในสปา)
ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless จดทะเบียนสรรพสามิต ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า แจ้งวันและเวลาทำการ / แจ้งราคาค่าบริการ ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี จัดทำบัญชีประจำวัน และรายงานงบเดือน  
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ยื่นแบบฯ และเสียภาษี
 
จัดทำรายงานภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)  
 
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้  
 
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
 

เสียภาษีสบาย สบาย สไตล์... "สปา"

การเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจสปา ไม่ใช่เรื่องยากเกินความเข้าใจ เพียงแค่ใส่ใจกับกฎระเบียบต่างๆ และดำเนินการให้ถูกต้องสู่เส้นทางสายธุรกิจสปา แล้วทำอย่างไรจึงจะเปิดดำเนินการธุรกิจสปาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเสียภาษีได้ครบถ้วนด้วย... ลองมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกัน

เริ่มต้น ค้นคว้า

ผู้ประกอบการธุรกิจสปาควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ ศาสตร์ของสปา เพื่อสร้างความเข้าใจอันเป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจสปาที่ดี จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้ได้รับใบผู้ดำเนินการสปาอย่างถูกต้อง

สปาความรู้

สปา หมายถึง ธุรกิจที่เป็นสถานบริการเพื่อสุขภาพ หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการลูกค้าทั่วไป ด้วยศาสตร์การนวดเพื่อสุขภาพ การปฏิบัติต่อร่างกายเพื่อสุขภาพ และการใช้นํ้าเพื่อสุขภาพ เพื่อปรับสมดุลให้แก่ร่างกายและจิตใจ ซึ่งธุรกิจนี้มีหลายประเภท ได้แก่

  1. Club Spa คือ สปาที่จัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของสถานบริการบริหารร่างกาย หรือศูนย์สุขภาพ ให้ผู้ที่มาออกกำลังกายได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  2. Destination Spa คือ สปาที่มีห้องพักค้างคืน มุ่งปรับหรือฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดัน เป็นการสร้างความสมดุลโดยอาศัยความร้อนและเย็นของน้ำ ที่เรียกกันว่า วารีบำบัด
  3. Medical Spa คือ การนำธรรมชาติบำบัดมาผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์ เป็นโปรแกรมการบำบัดและดูแลสุขภาพโดยผู้ชำนาญทางการแพทย์ (สปาประเภทนี้ำต้องมีใบประกอบโรคศิลป์)
  4. Hotel & Resort Spa เป็นสปาที่อยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว มีการนวดบำบัดและผ่อนคลาย
  5. Mineral Spring Spa คือ สปาน้ำพุร้อนและบ่อน้ำแร่ซึ่งมีแร่ธาตุต่างๆ ช่วยลดอาการเจ็บป่วยบางชนิดได้ เช่น ปวดไขข้อ เป็นต้น
  6. Day Spa คือ สปาที่ใช้ระยะเวลาสั้นและไม่มีห้องพักค้างคืน เน้นเรื่องความสวยงามและผ่อนคลาย มักจะตั้งอยู่ใจกลางเมือง
  7. Home Spa คือ การทำสปาเองที่บ้าน หรือเรียกใช้บริการสปาส่งพนักงานมาให้บริการถึงบ้าน

ให้บริการ "สปา" ...สบาย สบาย

- เลือกรูปแบบสปาที่ใช่: คำถามยอดนิยมในการทำธุรกิจสปาคือ จะเลือกเปิดสปาของตัวเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ดี ซึ่งแต่ละทางเลือกนั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่าต้องการแบบไหน เพราะไม่ว่าจะเปิดธุรกิจเอง เซ้งต่อ หรือซื้อแฟรนไชส์ ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

สปาความรู้

สปาแบบไหน "ใช่" สำหรับคุณ

  • เปิดธุรกิจสปาเอง:
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางของธุรกิจบริการด้านสุขภาพ เช่น เดิมทำอาชีพเสริมสวย หรือธุรกิจนวด แต่ต้องการขยายธุรกิจทำร้านสปาเพิ่มเติม ทางเลือกนี้จะมีอิสระในการตัดสินใจ และงบประมาณอาจจะบานปลายถ้าไม่มีประสบการณ์มาก่อน นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลาในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจให้มั่นคงและต้องหาทุนสำรองในอนาคตไว้ด้วย
  • การเซ้งต่อ:
    จะได้เรียนรู้วิธีการดำเนินธุรกิจเบื้องต้นจากเจ้าของเดิม แต่คุณต้องปรับกลยุทธ์หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องๆ ไป เพราะธุรกิจเดิมนั้นอาจมีปัญหาเจ้าของเดิมถึงต้องขายกิจการ วิธีการนี้เป็นการเริ่มธุรกิจสปาได้รวดเร็ว แต่คุณต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจสปาพอสมควรด้วย
  • แฟรนไชส์:
    ช่วยประหยัดเวลา และมีงบประมาณในการลงทุนอย่างชัดเจน มีผู้ให้คำแนะนำและสอนวิธีการทำธุรกิจให้ แต่ข้อเสียคือคุณจะขาดอิสระในการตัดสินใจบางเรื่อง และต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อความชำนาญนั้น (know-how) รวมทั้งต้องระมัดระวังในการเลือกบริษัทแม่ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการลงทุนธุรกิจสปาด้วย
  • - ทำเลดี มีชัยไปกว่าครึ่ง: ควรเลือกทำเลสถานบริการสปาที่ใกล้ชุมชน ง่ายต่อการมองหา ไม่ลึกลับซับซ้อน มีที่จอดรถให้ลูกค้าที่ขับรถมาใช้บริการ ที่สำคัญต้องตกแต่งอาคารให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น พร้อมทั้งมีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ผ่าน การตรวจสภาพอาคาร จากฝ่ายโยธาฯ ในเขตพื้นที่ที่ตั้งกิจการ

    - เปิดตัวกิจการ: ก่อนเปิดดำเนินการให้บริการสปา คุณต้องทำหน้าที่ด้าน "ภาษี" ก่อน ดังนี้

    • ยื่นขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
    • ดำเนินการ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยทั่วไปการทำธุรกิจให้บริการ สปาที่ไม่ได้ขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่หากสปาของคุณมีการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้วย คุณต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์กิจการตั้งใหม่ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย

    เรื่องนี้ต้องขยาย

    การจดทะเบียนพาณิชย์กิจการตั้งใหม่

    กรณีมีการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในธุรกิจสปานั้นด้วย

    • ต้องทำภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
    • มีค่าธรรมเนียมจดทะเบียน 50 บาท
    • ยื่นแบบคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นิติบุคคล) และสำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ
    • ต่างจังหวัด ยื่นแบบฯ ได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา

    • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน) ซึ่งต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไป
    • จดทะเบียนสรรพสามิตกับกรมสรรพสามิต โดยลักษณะสปาที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่
      1. เป็นสถานบริการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอาบ อบ นวด ตามมาตรา 3 (3) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 หรือ...
      2. มีอ่างอาบน้ำ หรือสถานที่อาบน้ำในห้องเดียวกันกับห้องให้บริการนวด ไม่ว่าจะมีการแยกสัดส่วนระหว่างส่วนที่มีอ่างอาบน้ำหรือสถานที่อาบน้ำกับส่วนให้บริการนวด โดยมีประตูกั้นหรือไม่ก็ตาม หรือ...
      3. จัดให้มีสถานที่ รูป หรือสื่อ เพื่อให้ผู้บริการสามารถเลือกผู้ให้บริการได้

    - เลือกสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพ: หัวใจสำคัญประการหนึ่งของธุรกิจสปาคือ การจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐานไว้บริการลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ปลอดภัยและตอบสนองความพึงพอใจอย่างสูงสุด ซึ่งสปาของคุณอาจใช้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่หาได้ภายในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน แต่การจะนำสินค้าเกี่ยวกับสปาเข้ามาในประเทศนั้นคุณต้องเสียภาษีศุลกากร ให้เรียบร้อยก่อน

    สปาความรู้

    การนำเข้าหรือส่งออก...สินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับ "สปา"

    ตามปกติแล้วหากจะ นำเข้าหรือส่งออก สินค้าใดๆ เข้ามาในประเทศ คุณจะต้องเป็น ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ของกรมศุลกากรเสียก่อน และจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบพิธีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ต่างๆ ของกรมศุลกากรให้ครบถ้วนด้วย โดย...

    • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร โดยลงทะเบียนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    กรณีนำเข้า
    • ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import)
    • จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ
    กรณีส่งออก
    • ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกสินค้า ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออกผ่านระบบพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Export)
    • จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

    **ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

    น่ารู้...พิกัดอัตราศุลกากรเกี่ยวกับ"อ่าง"

    อ่างอาบน้ำ ทำด้วยเซรามิก
    1. ชนิดชนิดพอร์ซเลนหรือชนิดเนื้อละเอียด (ไชน่า) จัดเข้าพิกัด 6910.10.00 อัตรา 30%
    2. อื่น ๆ จัดเข้าพิกัด 6910.90.00 อัตรา 30%
    อ่างอาบน้ำทำด้วยเหล็ก
    1.ทำด้วยเหล็กหล่อ จะเคลือบหรือทำให้ผิวมันด้วยเอนาเมล หรือไม่ก็ตาม จัดเข้าพิกัด 7324.21.00 อัตรา 20%
    2.อื่น ๆ จัดเข้าพิกัด 7324.21.00 อัตรา 20%
    อ่างอาบน้ำทำด้วยพลาสติก
    1.อ่างอาบน้ำทำด้วยพลาสติก จัดเข้าพิกัด 3922.10.00 อัตรา 30%

    **ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

    - คัดสรรผู้ให้บริการสปา: พนักงานหรือลูกจ้างของคุณซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการสปา ควรผ่าน การอบรมหลักสูตรการให้บริการตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และในกรณีที่คุณทำธุรกิจสปาแบบเปิดให้บริการด้านการนวดเพื่อบำบัด วินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ให้บริการสปาของคุณต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่

    เรื่องนี้ต้องขยาย

    คุณสมบัติของ "ผู้ให้บริการสปาที่ดี"

    • ต้องผ่านการอบรมความรู้เฉพาะด้านตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
    • สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างดี และพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา
    • ให้บริการแก่ลูกค้าได้ตามมาตรฐาน และให้บริการที่ลูกค้าพึงพอใจ
    • สุภาพ อ่อนน้อม สนใจ และเอาใจใส่
    • มีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือต่างๆ ให้ครบถ้วน และพร้อมให้บริการตลอดเวลา
    • ผ่านการฝึกอบรมทั้งจากภายในและภายนอกสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ

    ทั้งนี้ มาตรฐานผู้ให้บริการต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 เมษายน 2547

    • เปิดบริการด้วยใจ: เมื่อคุณมีองค์ประกอบของธุรกิจสปาอย่างครบถ้วนตามมาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็สามารถเปิดดำเนินธุกิจได้เลย ซึ่งระหว่างที่ดำเนินธุรกิจนี้คุณจะมีภาระเกี่ยวเนื่องกับภาษีสรรพสามิตโดยต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของรายรับจากการให้บริการ ตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 09.02

    ขณะนี้มีข่าวดีก็คือ กรมสรรพสามิตได้ประกาศยกเว้นภาษีให้แก่ธุรกิจสปาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยให้เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวได้อย่างคึกคักมากยิ่งขึ้น

    เรื่องนี้ต้องขยาย

    ธุรกิจสปาที่ ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ได้แก่

    1. ธุรกิจสปาที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้แก่ สถานบริการประเภทอาบน้ำ หรืออบตัว และนวด ในสถานบริการเสริมความงาม หรือสุขภาพ ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2552 โดยเอกสารที่ใช้ประกอบการขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตสปา ได้แก่ ใบรับรองมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการกำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยมาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ
      ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีจะเป็นไปตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน หากถือว่ามีมาตรฐานตามประกาศจะได้รับการยกเว้นสำหรับรายรับของการให้บริการ อาบน้ำหรืออบตัว และนวด
    2. สปาที่มีรายรับของการให้บริการ อาบน้ำ หรืออบตัว และนวดในสถานศึกษา หรือในวัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
    3. สปาที่มีรายรับของการให้บริการ อาบน้ำ หรืออบตัว และนวด ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

    **ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

    รายได้งอกงาม

    การให้บริการที่มีคุณภาพ สถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน ย่อมนำมาซึ่งรายได้งามๆ อันน่าพึงพอใจ เมื่อเป็นสุขกับผลประกอบการก็อย่าลืมเสียภาษีให้รัฐบาลด้วย เพราะคุณยังมีภาระผูกพันกับการเสีย "ภาษีเงินได้" อยู่นะ

    - ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการบริการสปา คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

    - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการให้บริการสปาต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ซึ่งกระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน จะต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

    - ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสปา ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องให้บริการบ้าง การตั้งราคาค่าบริการอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด (กรณีที่คุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

    ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

    ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

    สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

    ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

    ** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

    **ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

    คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง

    ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ