"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั้นดีอุดมด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ ราคาย่อมเยา ที่สำคัญคือปลากะตักสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้หลากหลาย ทั้งปลากรอบรสต่างๆ กะปิ และน้ำปลาคุณภาพดี และที่ได้รับความนิยมในตลาดทั้งในและนอกประเทศอย่าง มาเลเซีย ศรีลังกา ฮ่องกง ฯลฯ ก็คือ "ปลากะตักตากแห้ง"
ฮิตทั้งตลาดไทยตลาดเทศขนาดนี้...ต้อง "เสียภาษี" อย่างไรบ้างนะ...ตามมาดูกัน
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้ถึงเกณฑ์ คือ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี) | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | จดทะเบียนพาณิชย์ | ออกใบกำกับภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ | เสียภาษีโรงเรือน | จัดทำรายงานภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ขอมาตรฐาน อย. | จัดทำรายงานภาษี | |
จัดทำรายงานภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ยื่นแบบรายการภาษี | |
ยื่นแบบรายการภาษี | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
"กะตัก" เป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า "ปลาฉิ้งฉั้ง" หรือ "บูร่า" (ลูกปลากะตัก) ถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของแนวชายฝั่งอันดามัน ในระดับความลึก 5-70 เมตร โดยพบมากแถบ จ.สตูล จ.พังงา และ จ.ระนอง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงาที่สามารถทำประมงได้เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งปลากะตักส่วนใหญ่ที่จับได้จะนำมาต้มตากแห้งเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย
ปลากะตักสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากทำปลาแห้งแล้วยังนำไปทำปลากรอบรสต่างๆ เช่น ปลากะตักรสกระเทียมพริกไทย รสโนริสาหร่าย รสพิซซ่า แสะสามารถนำมาทำกะปิ น้ำปลา ซึ่งปลากะตักนั้นเป็นปลาที่ใช้ในการทำน้ำปลาแท้ที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะน้ำปลาที่ได้จะมีกลิ่นหอม รสดี สีค่อนข้างแดง โดยปลาที่ใช้ต้องสดและต้องคัดล้างสะอาดเพื่อให้ได้น้ำปลาที่มีคุณภาพ
เช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจอื่นๆ หัวใจสำคัญประการแรกของผู้ประกอบการธุรกิจปลากะตักตากแห้งทุกคนคือ การยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร นั่นเอง
และ "ปลากะตักตากแห้ง" ยังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.29/2535 อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการต้องการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือยื่นทางอินเตอร์เน็ตก็ได้
ผู้ประกอบการ "ปลากะตักตากแห้ง" ต้องเริ่มต้นจากการจดทะเบียนผู้ประกอบการ โดยดำเนินการยื่นแบบ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล ล้วนต้องมีหน้าที่ จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
เมื่อจดทะเบียนผู้ประกอบการแล้วจึงยื่นขออนุญาตดำเนินการตั้งโรงเรือน หรือโรงงานผลิตปลากะตักตากแห้งอย่างถูกต้อง โดยยื่นเอกสาร เสียภาษีโรงเรือน ณ สำนักงานเขตในพื้นที่ที่โรงเรือนหรือโรงงานตั้งอยู่
อีกหนึ่งกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพ นอกจากการเลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีแล้ว กระบวนการผลิตปลากะตักตากแห้งยังต้องมีความปลอดภัยและได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่น ขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
ติ๊ต่างว่า... คุณอยากคิดต่าง สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าของตัวเอง จึงเลือกจะ "นำเข้า " ปลากะตัก เพื่อนำมาผ่านกระบวนการผลิตกลายเป็น "ปลากะตักตากแห้ง " คุณต้อง ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยติดต่อดำเนินการได้ที่ ฝ่ายทะเบียน ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หรือฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น) และเมื่อลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกแล้วจึงดำเนินการใน ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ตามระเบียบของกรมศุลกากร
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาสดหรือเนื้อปลานั้นนับเป็นสินค้าที่ควบคุมการนำเข้าโดยกรมประมง คุณจึงต้องมี เอกสารใบอนุญาตการนำสัตว์น้ำเข้าราชอาณาจักรประกอบการตรวจสอบเอกสารของกรมศุลกากรด้วย
จากนั้นจึง จัดทำรายงานภาษีซื้อ ตลอดจน รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และ รายละเอียดสินค้าคงเหลือ เพื่อยื่นเสนอต่อกรมสรรพากรต่อไป โดยมีเอกสารประกอบรายงาน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร เอกสาร Invoice และเอกสาร Packing List
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ปลากะตักตากแห้ง | 0305.59.20 | 5% |
ปลากะตักใส่เกลือ แช่น้ำเกลือ | 0305.63.00 | 5% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ผลิตภัณฑ์ปลากะตักตากแห้งมียอดการจำหน่ายภายในประเทศแต่ละปีประมาณ 5-10 ล้านบาท และยังเป็นสินค้าออกที่สร้างรายได้หลั่งไหลสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจและดำเนินการเกี่ยวกับ การส่งออกสินค้า กับกรมศุลกากรให้ถูกต้อง ตลอดจนจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อเตรียมยื่นแสดงต่อกรมสรรพากรต่อไป
ผลิตภัณฑ์ปลากะตักตากแห้งที่ส่งจำหน่ายต่างประเทศ นิยมบรรจุในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท ทั้งในสภาพปกติและสุญญากาศ ก่อนบรรจุลงในลังกระดาษอีกครั้ง แล้วเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรืออุณหภูมิเยือกแข็งประมาณ -18 องศาเซลเซียส
ผู้ประกอบการธุรกิจปลากะตักตากแห้ง จะมีหน้าที่ในการเสียภาษีตามหน้าที่ของพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ คือ
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายปลากะตักตากแห้ง ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตปลากะตักตากแห้ง ไม่ว่าจะการผลิต บรรจุ ขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายได้เดือนมกราคม–มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายได้เดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ หรือนำเข้า"ปลากะตัก" รวมทั้งการซื้อวัตถุดิบอื่น เช่น เกลือ ฯลฯ เพื่อนำมาผลิตปลากะตักตากแห้ง ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือ คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจ...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
เครื่องเขียนและเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน
และบุคคล...
หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทหินประดับ ก่อให้เกิดมู...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริก...
"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐก...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อ...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ของสะสม ของเก่า ของโบราณ จัดว่าเป็นสิ่งของที่มีอายุขัยมายาวนาน ซึ่งมีมูลค่าสูง
ห...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
ร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย มักอยู่ตามตลาดหรือแหล่งชุมชน
โดยร้านขายของชำจะไปซื้อ...