คลินิกภาษีนมและผลิตภัณฑ์จากนม

น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช่น วัว แพะ แกะ ฯลฯ แต่ส่วนใหญ่เรามักจะนิยมกินนมวัวกันมากที่สุด โดยอุตสาหกรรมการผลิต "นมพร้อมดื่ม" จำนำน้ำนมดิบมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้น้ำนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ยังถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต "ผลิตภัณฑ์จากนม" อื่นๆ อีก เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น นมข้น นมเปรี้ยว เนยสด เนยแข็ง ไอศกรีม ฯลฯ

และเมื่อนมจำเป็นสำหรับธุรกิจเพื่อการบริโภคและมีความต้องการในตลาดมากขนาดนี้แล้ว นอกจากที่เราจะเรียนรู้เรื่องการประกอบธุรกิจ เราก็ต้องเรียนรู้เรื่องของภาษีควบคู่กันไปด้วยนะจ๊ะ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

เริ่มต้นธุรกิจนม เริ่มต้นความอร่อยเพื่อสุขภาพ

หากเราต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจนมและผลิตภัณฑ์จากนม เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกต้องด้วย

เตรียมธุรกิจผลิตนมและผลิตภัณฑ์จากนมกันเถอะ

ในขั้นตอนการเตรียมการผลิตนมและ ผลิตภัณฑ์จากนม เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากผู้ประกอบการมีการนำเข้าวัสดุ- อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บไว้เพื่อใช้คำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มใน แต่ละเดือนและเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ต่อๆไป
    2. ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการ ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้า และวัตถุดิบ
  • ภาษีศุลกากร
    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่ายนมและผลิตภัณฑ์จากนม

เมื่อเราเริ่มจำหน่ายทั้งในประเทศและ ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เราก็มีหน้าที่ ต้องชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทาง อินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชนทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ