คลินิกภาษีเครื่องเทศ

เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ
เพื่อให้เกิดรสชาติที่หอมกลมกล่อมมากขึ้น ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ทำอาหาร
กันมาตั้งแต่อดีต เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน หรือกลิ่นตามที่ต้องการนั่นเอง
ตัวอย่างเครื่องเทศที่ฮอทฮิตติดลมของชาวไทยก็คือ ขมิ้น ขิง กระวาน
กานพลู งา จันทน์เทศ ยี่หร่า พริกไทย อบเชย ฯลฯ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ เพื่อให้เกิดรสชาติที่หอมกลมกล่อมมากขึ้น ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ทำอาหาร กันมาตั้งแต่อดีต เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน หรือกลิ่นตามที่ต้องการนั่นเอง ตัวอย่างเครื่องเทศที่ฮอทฮิตติดลมของชาวไทยก็คือ ขมิ้น ขิง กระวาน กานพลู งา จันทน์เทศ ยี่หร่า พริกไทย อบเชย ฯลฯ และด้วยความนิยมและขาดไม่ได้ในการปรุงอาหารของคนไทย ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเทศเป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลามด้วยเช่นกัน ทั้งธุรกิจขนาดเล็กภายในครัวเรือนหรือชุมชน ไปจนถึงธุรกิจโรงงานขนาดใหญ่ที่สามารถ ทำรายได้ส่งออกไปยังต่างประเทศด้วยและเมื่อธุรกิจเริ่มก้าวไกล รายได้ดี เราก็ต้องใส่ใจเรื่องของภาษีด้วยเช่นกัน 

 

ปัจจัยเริ่มต้นถ้าคิดจะเป็นพ่อค้าเครื่องเทศ

วัตถุดิบ ประเทศไทยเรามีทรัพยากรพืช มากมายที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องเทศ ได้หลากหลายทำให้ผู้ประกอบการสามารถ ปลูกเองก็ได้ หรือจะซื้อผลผลิตจากชาวไร่มา แปรรูปก็ง่ายอีกเช่นกัน

กระบวนการผลิต ส่วนใหญ่ใช้วิธีทำ ให้แห้ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการรายย่อยจะนิยมใช้วิธีการตาก แดดและผึ่งลมเพราะมีต้นทุนต่ำ แต่ก็ต้องคำนึง ถึงความสะอาดและความปลอดภัยด้วย ถ้า เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ก็อาจลงทุนซื้อ เครื่องอบแห้งเพื่อจะช่วยแปรรูปสินค้าได้ รวดเร็วขึ้นและถูกสุขอนามัยมากขึ้นได้ด้วย

บรรจุภันฑ์ เลือกได้หลากหลายรูปแบบ เช่นกันตามความชอบ ทั้ง ซองพลาสติก ขวด พลาสติก ขวดแก้ว ฯลฯ

เริ่มธุกิจผลิตเครื่องเทศ

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตเครื่องเทศ ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย และในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการจัด ตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขออนุญาต ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงานอุตสา- หกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมทั้งขอ อนุญาตจัดตั้งสถานที่ผลิตอาหาร ขอมาตรฐาน การผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิตอาหาร และขออนุญาตผลิตภัณฑ์ อาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ด้วยล่ะ

ธุรกิจผลิตเครื่องเทศต้องจ่ายภาษียังไงนะ ?

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    2. ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
  • ภาษีศุลกากร

    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

จ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่าส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่ายเครื่องเทศ

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือยื่นทางอินเทอร์- เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ