คลินิกภาษีซอสปรุงรส

ซอสปรุงรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารของเราให้อร่อยกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน แม่บ้านยุคใหม่หันมาทำอาหารทานเองกัน มากขึ้น แต่ก็ต้องการสิ่งที่จะช่วยปรุงอาหารที่ทำให้อร่อยได้ง่ายขึ้น สะดวก ง่ายต่อการปรุง และปลอดภัยต่อการบริโภค ดังนั้น ยิ่งนับวันซอสปรุงรสจึงยิ่งมีบทบาทในครัวของคุณแม่บ้าน ในทุกครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการขยายตัวน่าสนมิใช่น้อย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

เริ่มธุรกิจผลิตซอสปรุงรส

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตซอสปรุงรส ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณี ที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย และในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการจัด ตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขออนุญาต ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อม ทั้งขออนุญาตจัดตั้งสถานที่ผลิตอาหาร ขอ มาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธี- การที่ดีในการผลิตอาหาร และขออนุญาต ผลิตภัณฑ์อาหารจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ด้วยล่ะ

การจ่ายภาษีของธุรกิจซอสปรุงรสเค้าทำกันอย่างไร ?

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    2. ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
  • ภาษีศุลกากร

    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

จ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่าส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่ายซอสปรุงรส

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือยื่นทางอินเทอร์- เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ