คลินิกภาษียาแผนโบราณ

ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล่านั้นมาแปรสภาพ และนำออกจำหน่ายในรูปยาเม็ด แคปซูลหรือยาผง อย่างเช่น โสมอัดเม็ด ใบแปะก๊วยอัดเม็ด ยาแก้ไอมะแว้ง แคปซูลฟ้าทะลายโจร ยาลม ยาหอม ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันยาแผนโบราณได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากกระแส ของคนที่หันมาใส่ใจสุขภาพ และหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก กลัวผลข้างเคียงและสารตกค้างจากยาที่ทำจากสารเคมี ซึ่งนอกจากจะมีสรรพคุณทางการรักษา เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันแล้ว ยาแผนโบราณมีราคาที่ถูกกว่าอีกด้วย ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่ ธุรกิจยาแผนโบราณจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตยาแผนโบราณอาจจะเริ่มจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีปริมาณการผลิตไม่่ มาก เน้นผลิตตำรับยาแบบง่ายๆ ไปจนถึงโรงงานผลิตยาแผนโบราณขนาดใหญ่ ที่ใช้เครื่องจักร ทันสมัยมาช่วยในการผลิต ผู้ผลิตยาแผนโบราณส่วนใหญ่่มักจะเป็นผู้จัดจำหน่ายด้วยตัวเอง หรือจำหน่ายผ่านร้านขายยาแผนโบราณหรือร้านขายยาทั่วไปก็ได้เช่นกัน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ

ตำรับยาสมุนไพร โดยทั่วไปผู้ประกอบการ ผลิตยาแผนโบราณจะมีตำรับยาซึ่งได้รับการ สืบทอดจากบรรพบุรุษหรือได้รับการถ่ายทอด ต่อๆ กันมา

วัตถุดิบ วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ยาแผนโบราณก็คือ พืชสมุนไพร โดยองค์- ประกอบที่นิยมนำมาผลิตมีอยู่ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ซึ่งสรรพคุณ ของแต่ละส่วนจะแตกต่างกัน ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณได้พัฒนา ไปสู่การสกัดสารจากส่วนต่างๆ ของพืช สมุนไพรเพื่อนำมาผลิตยา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ ได้สารสกัดที่ปลอดจากเชื้อโรคและคงคุณภาพ ของตัวยาไว้อย่างครบถ้วน

เริ่มการผลิตยาแผนโบราณ

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตยาแผนโบราณ ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย และในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการ จัดตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อม ทั้ง ขออนุญาตจัดตั้งสถานที่ผลิตอาหาร ขอ มาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธี- การที่ดีในการผลิตอาหาร และขออนุญาต ผลิตภัณฑ์อาหารจากสำนักงานคณะกรรม- การอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้ง อยู่ด้วยล่ะ

เมื่อตั้งธุรกิจได้แล้ว และเริ่มมีรายได้เราต้องเสียภาษีอย่างไร

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    2. ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
  • ภาษีศุลกากร

    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

จ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่าส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเราเริ่มมีการจำหน่ายยาแผนโบราณทั้งภายในและภายนอกประเทศเราก็ต้องดำนเนินการเสียภาษีดังนี้

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือยื่นทางอินเทอร์- เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ