คลินิกภาษีอาหารเสริม

ความนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาหารเสริม”
เติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากกระแสของคนในยุคปัจจุบันที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น
ประกอบกับดารา นักร้อง นักแสดง ต่างก็หันมาทำอาชีพขายอาหารเสริมกันค่อนข้างมาก
ซึ่งอาหารเสริมก็มีมากมายหลายผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันตับปลา สาหร่ายสกัด ผลิตภัณฑ์คอล-
ลาเจน โคเอ็นไซม์คิวเท็น เป็นต้น

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

อาหารเสริม

วามนิยมของ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” หรือที่เราเรียกอย่างติดปากว่า “อาหารเสริม” เติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากกระแสของคนในยุคปัจจุบันที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ประกอบกับดารา นักร้อง นักแสดง ต่างก็หันมาทำอาชีพขายอาหารเสริมกันค่อนข้างมาก ซึ่งอาหารเสริมก็มีมากมายหลายผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันตับปลา สาหร่ายสกัด ผลิตภัณฑ์คอล- ลาเจน โคเอ็นไซม์คิวเท็น เป็นต้น

ในทางการแพทย์แล้วจัดให้ “ยา” มีความหมายที่แตกต่าง จาก “อาหารเสริม” กล่าวคือ “ยา” จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยในผู้ป่วยซึ่งต้องได้รับการพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์และต้องผ่านขั้นตอนวิจัยและทดสอบเป็นเวลาหลายปี แต่ “อาหารเสริม” หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือบำรุงร่างกายให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย (จะเห็นได้ว่าอาหารเสริมจัดเป็น อาหารอย่างหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่ใช่รักษาโรคเหมือนยา) อาหารเสริม ส่วนใหญ่จะนำสารสกัดจากพืชธรรมชาติสัตว์เคมีสังเคราะห์ หรือแร่ธาตุหรือวิตามินเข้มข้นมา บรรจุในรูปยาเม็ด แคปซูล หรือของเหลว โดยสารเหล่านี้ต้องได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แล้วว่ามีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและต้องมีความปลอดภัยต่อมนุษย์ แต่ไม่มีผลงาน วิจัยหรือการทดลองที่ชัดเจนพอจะเป็นสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้

โดยในปัจจุบัน อุตสาหกรรมผลิตอาหารเสริมส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตในยี่ห้อของลูกค้า ซึ่งลูกค้าอาจมีสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะจ้างผลิตอยู่แล้ว หรืออาจจ้างให้โรงงานพัฒนาสูตร การผลิตให้กับยี่ห้อของลูกค้าก็ได้เช่นกัน โดยคิดราคาจากสูตรและปริมาณส่วนผสมที่ใส่ใน แต่ละสูตร ทั้งนี้ โรงงานผลิตอาหารเสริมมักกำหนดจำนวนการสั่งผลิตขั้นต่ำไว้เพื่อให้มีกำไร คุ้มกับต้นทุนการผลิตในแต่ละครั้ง แต่หากโรงงานกำหนดจำนวนขั้นต่ำไว้สูงมาก ก็อาจทำให้ มีลูกค้ามาว่าจ้างผลิตน้อยจนอาจทำให้โรงงานขาดทุนก็ได้

ปัจจัยสำคัญของ อาหารเสริม

สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมีความซับซ้อนน้อยกว่าสูตร ผลิตภัณฑ์ยาค่อนข้างมาก ลูกค้าส่วนใหญ่ จะว่าจ้างให้โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้โดยใช้สูตรการผลิตมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งผ่านการคิดค้น วิจัยและพัฒนาโดยทีม นักวิทยาศาสตร์ของโรงงานแต่ลูกค้าสามารถ ปรับสูตรโดยอาจเพิ่มสัดส่วนของสารอาหาร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น (แต่ต้องได้รับ การพิสูจน์ว่า ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มนุษย์)

วัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารมีค่อนข้างหลากหลายเช่นกัน แต่ในปัจจุบันโรงงานจะใช้วัตถุดิบในรูปแบบ ของสารสกัด เช่น สารสกัดจากปลา สารสกัด จากสาหร่าย ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรและ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ได้สารสกัดที่ปลอด จากเชื้อโรคและคงคุณภาพไว้อย่างครบถ้วน

อยากเริ่มต้นทำธุรกิจอาหารเสริม

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตอาหารเสริม ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใน กรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย และในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการ จัดตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขอ อนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรม โรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมทั้งขออนุญาตจัดตั้งสถานที่ผลิตอาหาร ขอมาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร และขออนุญาต ผลิตภัณฑ์อาหารจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการ ตั้งอยู่ด้วย

เมื่อรายได้ดี ก็ต้องจ่ายภาษีให้ครบถ้วน

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    2. ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
  • ภาษีศุลกากร

    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

จ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่าส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเราเริ่มจำหน่ายอาหารเสริมได้เป็นจำนวนมาก จนเริ่มขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ เราก็ต้องชำระภาษีอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือยื่นทางอินเทอร์- เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ