คลินิกภาษีเครื่องสำอาง

ในปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง อย่างต่อเนื่อง ผู้คนทุกเพศทุกวัยต่างก็ต้องการที่จะดูดี จึงหันมาใส่ใจดูแลตัวเองกัน มากขึ้นพร้อมยอมควักเงินเพื่อจับจ่ายสินค้าแลกกับความสวยความงาม และบุคลิกภาพที่ดูดี จึงไม่แปลกที่ธุรกิจความงามจะเป็นธุรกิจที่โดดเด่นน่าลงทุน ณ เวลานี้ และธุรกิจผลิตเครื่อง สำอาง (หมายถึงกิจการที่รับผลิตเครื่องสำอางทั้งแบบเครื่องสำอางสมัยใหม่ และเครื่องสำอาง สมุนไพร) ซึ่งมีจำนวนมากในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

เครื่องสำอาง

ในปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง อย่างต่อเนื่อง ผู้คนทุกเพศทุกวัยต่างก็ต้องการที่จะดูดี จึงหันมาใส่ใจดูแลตัวเองกัน มากขึ้นพร้อมยอมควักเงินเพื่อจับจ่ายสินค้าแลกกับความสวยความงาม และบุคลิกภาพที่ดูดี จึงไม่แปลกที่ธุรกิจความงามจะเป็นธุรกิจที่โดดเด่นน่าลงทุน ณ เวลานี้ และธุรกิจผลิตเครื่อง สำอาง (หมายถึงกิจการที่รับผลิตเครื่องสำอางทั้งแบบเครื่องสำอางสมัยใหม่ และเครื่องสำอาง สมุนไพร) ซึ่งมีจำนวนมากในปัจจุบัน

เครื่องสำอาง (Cosmetics) ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 หมายถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความ สะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม นอกจากนี้ ยังรวมถึงวัตถุที่มุ่งหมาย สำหรับเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง โดยเฉพาะ หรือกำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็น เครื่องสำอางทั้งนี้เครื่องสำอางทุกชนิดในราชอาณาจักรนั้นถือเป็นเครื่องสำอางควบคุม โดยต้อง มีการตรวจสอบและขึ้นทะเบียน โดยตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอางคือ สบู่ โทนเนอร์ เช็ดหน้า แชมพู ผลิตภัณฑ์สำหรับสปา น้ำหอม แป้งฝุ่นโรยตัว และเครื่องสำอางที่ตกแต่งใบหน้า ให้เกิดสีสัน เพื่อระงับกลิ่นกาย หรือแต่งกลิ่นหอม เพื่อปกป้อง หรือส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีโดย ไม่มีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง

สถานประกอบการ สถานที่ผลิตต้องได้มาตรฐาน ผ่านการ รับรองมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) คือข้อกำหนดแบบแผน ระเบียบวิธีการจัดการและการกำหนดวิธีปฏิบัติ ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตที่ดีในทุก ขั้นตอน สถานที่ผลิตต้องมีมาตรการที่มี ประสิทธิภาพในการป้องกันการปนเปื้อน จากสิ่งแวดล้อม สัตว์และแมลง

วัตถุดิบหรือหรือส่วนประกอบ เครื่องสำอางสามารถสั่งซื้อได้จากบริษัท ที่จำหน่ายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งมีทั้งสารสกัดจากธรรมชาติ เช่นสารสกัด จากโสม สารสกัดจากมะขามป้อม หรือสารเคมี ต่างๆ(เช่น กรดไซลิไซลิก) เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้อง ศึกษาสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ สาร ไฮโดรควิโนน สารประกอบของปรอท และ กรดวิตามินเอ โดยอาจศึกษาจากประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดชื่อและ ปริมาณของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการ ผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2557

เริ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางเพื่อความสวยงาม

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอาง ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสีย ภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณี ที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

และในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการ จัดตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขอ อนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมทั้ง ขออนุญาตจัดตั้งสถานที่ผลิตอาหาร ขอ มาตรฐานการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร และขออนุญาต ผลิตภัณฑ์อาหารจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ด้วยล่ะ

เมื่อเราเริ่มมีรายได้จากการผลิตเครื่องสำอางออกจำหน่ายเราก็ต้องเริ่มเตรียมตัวจ่ายภาษีให้ถูกต้อง

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    2. ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
  • ภาษีศุลกากร

    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้

    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง

จ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่าส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่าย

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษี ดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือยื่นทางอินเทอร์- เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    1. ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    2. ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า

    * โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ

เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสีย อากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ