คลินิกภาษีเครื่องดื่ม

นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น

ทั้งเครื่องดื่มที่ให้พลังอิ่มท้อง ดับกระหาย รวมถึงเครื่องดื่ม
ที่เปี่ยมคุณค่าทางโภชนาส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจ
เครื่องดื่มต้องพิจารณาคือ การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค
กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจ
กับขั้นตอนการเสีย “ภาษีเครื่องดื่ม” เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมาย และไม่สูญเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

รู้ก่อนเริ่ม

“เครื่องดื่ม” เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ประเภทของเหลวช่วยลดความกระหาย ให้ความรู้สึกสดชื่น และขจัดความอ่อนเพลีย ชดเชยปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป ตลอดจน มีคุณค่าทางอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ มีส่วน ประกอบหลักคือ น้ำ สารให้ความหวาน กรดอินทรีย์ สี กลิ่น หรือพืชสมุนไพรที่มี สรรพคุณ และประโยชน์ต่อสุขภาพ ประเด็นที่คุณต้องวิเคราะห์สำหรับ ธุรกิจเครื่องดื่มคือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นใน วันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือ มีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมทั้งสิ้น เป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียน พาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ (ผลิตหรือจำหน่าย)

ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่ม นำเข้า ผลิต จำหน่าย หรือส่งออกเครื่องดื่มอินเทรนด์ของคุณ ผู้ประกอบการที่ดีอย่างคุณจะต้อง

  • ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร ตามขนาดและประเภท ธุรกิจของคุณ เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดง รายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากรพฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์การดูแลสุขภาพ รวมถึงวิธีส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อซ้ำให้มากที่สุด ซึ่งจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จและการเติบโต ในตลาดเครื่องดื่มในอนาคต
  • จดทะเบียนพาณิชย์ การประกอบ กิจการขายสินค้า ไม่ว่าอย่างเดียวหรือรวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบ เสร็จรับเงิน เป็นต้น
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี มีรายได้จากยอดขายเครื่องดื่มเกินกว่า 1.8 ล้าน บาทต่อปี แต่หากรายได้ต่อปีของคุณไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ก็เลือกจดหรือไม่จดทะเบียน ก็ได้ ซึ่งหากจดทะเบียนคุณก็จะกลายเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั่นเอง (กรณีต้องการ เป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่มใดๆ ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย)

เริ่มง่าย ๆ ด้วยการนำเข้า

การจะนำเข้าสินค้าใดๆ คุณต้องมี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการของกรม- ศุลกากร คือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการ ศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า

ส่งออกกับกรมศุลกากร โดยคุณ สามารถดำเนินการหรือให้ตัวแทนออกของ

โดยการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องดื่มนั้น คุณจะต้องขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์และชำระ ภาษีสรรพสามิต (กรมศุลกากรจัดเก็บแทน และ ขอเบิกแสตมป์กับสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านรับอนุญาต (Customs Broker) ดำเนินการ ลงทะเบียน โดยทำการลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น

หลังจากลงทะเบียน Paperless แล้ว คุณต้องขออนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เมื่อ ได้รับอนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มแล้ว จึงดำเนิน- การนำเข้าตามพิธีการนำเข้าของกรมศุลกากรศุลกรตั้งอยู่) ก่อนนำเครื่องดื่มผ่านด่าน ศุลกากรทั้งยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้า และวัตถุดิบเพื่อประกอบ การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไปด้วย

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
น้ำส้ม 2009,12,00 30% หรือ 10บาท/Lit
น้ำองุ่น 2009,61,00 30% หรือ 10บาท/Lit
น้ำผลไม้หรือน้ำพืชผักผสมกัน 2009,90,90 30% หรือ 10บาท/Lit

ปูทาง...สร้างเครื่องดื่มของตัวเอง

การจะเป็น “ผู้ผลิต” เครื่องดื่ม ของตัวเองนั้น นอกจากการมีเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีรายได้จากยอดขายต่อปีเกิน 1.8 ล้าน- บาท) และจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว ก่อน ทำการ “ผลิตเครื่องดื่ม” คุณจะต้อง...

  • ขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตเครื่องดื่ม โดยตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความ รับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด และขออนุญาตสถานที่ผลิตกับหน่วยงานนั้น เช่น เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือ โรงเรือนคุณต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินด้วย และถ้าเข้าข่ายโรงงาน จะต้องขออนุญาต จากสำนักทะเบียนโรงงาน กรมโรงงาน อุตสาหกรรม หรือที่สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัด โดยอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและ ค่าธรรมเนียมรายปีคิดตามแรงม้าเครื่องจักร รวมของโรงงานที่คุณใช้
  • จดทะเบียนสรรพสามิต เนื่องจากเครื่องดื่มเป็นสินค้าที่กรม- สรรพสามิตจัดเก็บภาษี คุณจึงต้องจดทะเบียน ภาษีสรรพสามิตด้วย ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ (ตามแบบ ภษ.01-04) ภายใน 30 วัน ก่อน เริ่มผลิตสินค้า
  • ยื่นขออนุญาตผลิต โดยหลังจากผลิตเสร็จแล้ว คุณต้อง ส่งตัวอย่างเครื่องดื่มตามที่กฎหมายกำหนด ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขออนุมัติการผลิต
  • ยื่นแจ้งวันทำการผลิตและราคาขาย ต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตโดยยื่นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานผลิต ของคุณตั้งอยู่และแจ้งราคาขาย ณ โรงงาน อุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันเริ่ม จำหน่าย รวมทั้งทำการจดแจ้งฉลาก และ จัดทำบัญชี และงบเดือนเพื่อใช้ประกอบการ เสียภาษีสรรพสามิตด้วย ทั้งนี้ก่อนที่คุณ จะนำเครื่องดื่มออกวางจำหน่ายคุณมีความ รับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษี (สรรพสามิต) ซึ่งเกิดขึ้นในเวลานำสินค้าออกจากโรง- อุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ได้มีกรณียกเว้นภาษี สรรพสามิตเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และ พืชผักด้วย เนื่องจากต้องการให้ผู้ผลิตวัตถุดิบ ตั้งต้น เช่น ผลไม้ ผัก หรือพืชสมุนไพรอื่นๆ มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของพวกเขา มากขึ้น ถือเป็นการเพิ่มรายได้ของประเทศ อีกทางหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ คุณต้องจัดทำรายงานภาษี ได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสิน ค้าและวัตถุดิบ ยื่นต่อกรมสรรพสามิต เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำสินค้าออกวาง จำหน่ายด้วย

ก้าวให้ไกล ส่งออก ไปทั่วโลก

ผู้ประกอบการส่งออกเครื่องดื่มนั้น จะต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรม- สรรพากรก่อน จากนั้นจึงสามารถทำการ ขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้า ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขต ปลอดอากร (เสมือนดินแดนต่างประเทศ)

ตามด้วยการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก แบบ Paperless ซึ่งหากคุณเคยลงทะเบียน มาก่อนแล้วก็ไม่ต้องทำการลงทะเบียนอีก สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกของศุลกากรได้เลย โดยการเป็นผู้ส่งออกนี้คุณจะต้อง จัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบ แสดงรายการเสียภาษีต่อไปด้วย

เมื่อมีเงินได้...ให้เสียภาษี

เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ สิ่งที่คุณจะต้อง ดำเนินการเกี่ยวกับภาษีคือ การยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษี ซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับคุณ มี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายเครื่องดื่มทั้ง ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มี หน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
  • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มนั้น ต้อง มีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้องกระบวน- การด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการ ให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าวัตถุดิบตั้งต้น ในการผลิตเครื่องดื่ม หรือเครื่องดื่มบรรจุขวดฯลฯ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม มาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายเครื่องดื่ม ของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวก ภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะ กลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือ คุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด (กรณี ที่คุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม) ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย พร้อมทั้งต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อรายงาน ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบเพื่อ ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีด้วย

ทั้งนี้คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขา

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐ แล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษี อย่างถูกต้องตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากร กำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ