คลินิกภาษีร้านกาแฟ

คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง
หรือ โอเลี้ยง มาเป็นกาแฟสำเร็จรูปยี่ห้อต่างๆ แต่ธุรกิจฮอทฮิตที่ได้รับความนิยม
อย่างมากในปัจจุบันก็คือธุรกิจร้านขายกาแฟสด ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจ
จะมีสาเหตุมาจากร้านกาแฟรายใหญ่จากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนจึงเป็นจุดเริ่มที่สร้างความ
คึกคักและตื่นตัวให้กับวงการกาแฟอย่างมากและทำให้กระแสความนิยมในการดื่มกาแฟ
ของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยหันมาดื่มกาแฟสด ในร้านเก๋ๆ
ที่มีความสะดวกสบาย อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่นั่งคุยงาน หรือ
พบปะสังสรรค์ถ่ายรูปลงโซเชี่ยล รวมถึงบริการด้านอื่นๆ ที่ช่วย
ดึงดูดผู้บริโภคอย่าง free wifi หรือเค้กและขนมหวานอร่อยๆ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญหากจะเริ่มต้นทำร้านกาแฟ

  • ทำเล ต้องเลือกทำเลให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษา คนทำงาน นักท่องเที่ยว เป็นต้น ดังนั้น ทำเลของร้านกาแฟส่วนใหญ่ จึงมักจะอยู่ใกล้กับสถาบันการศึกษา, อาคาร สำนักงาน, ศูนย์การค้า หรือแหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ ที่มีผู้คนผ่านไปมาตลอดวัน
  • การตกแต่งร้าน ร้านกาแฟที่สวยเก๋ จะช่วยดึงดูดลูกค้า ให้เข้าร้านได้มากขึ้น หน้าตาของร้านจึงเป็น สิ่งที่สำคัญแต่การตกแต่งร้านก็จำเป็นต้องใช้ เงินลงทุนสูง ดังนั้นเราควรพิจารณาจากกลุ่ม เป้าหมายเช่นหากเป็นนักศึกษา ก็ต้องใช้ทุน ในการตกแต่งที่ไม่สูงนัก เพื่อจะได้กำหนด ราคากาแฟไม่ให้สูงเกินไป
  • วัตถุดิบ (เมล็ดกาแฟ) เมล็ดกาแฟที่ดีจะช่วยให้รสชาติกาแฟ หอมอร่อย โดยจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์หลัก คือ อราบิก้า (Arabica) และโรบัสต้า(Robusta) เราสามารถซื้อเมล็ดกาแฟได้จากผู้จัดจำหน่าย ภายในประเทศหรือนำเข้าต่างประเทศก็ได้ ซึ่งเมล็ดกาแฟที่ขายกันในท้องตลาดจะบรรจุ อยู่ในถุงฟอยด์เพื่อป้องกันแสงแดด และ ความชื้น
  • เครื่องชงกาแฟสด เครื่องชงกาแฟสดก็มีส่วนช่วยให้ได้น้ำ กาแฟคุณภาพดีด้วย ราคาของเครื่องชงกาแฟสด จึงมีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ดังนั้น เราควรพิจารณากลุ่มเป้าหมายและราคาขาย ต่อแก้วให้ดี เพื่อจะได้ซื้อเครื่องชงกาแฟให้ เหมาะสมกับขนาดธุรกิจของเรา
  • เครื่องดื่มอื่นๆ ที่ขายภายในร้าน ร้านกาแฟส่วนใหญ่จะขายทั้งกาแฟสด ชนิดต่างๆ เช่น อเมริกาโน่, คาปูชิโน่, ลาเต้, มอคค่า ฯลฯ และเครื่องดื่มที่ไม่ได้ทำจากกาแฟ เช่น ชาเย็น ชาเขียว น้ำโซดา น้ำผลไม้ เป็นต้น
  • กำหนดราคาขายอย่างไรดี เราควรพิจารณากำหนดราคาขายต่อแก้ว (มีระดับราคาตั้งแต่ 35 บาท ไปจนถึง 100 กว่าบาท) โดยพิจารณาจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คุณภาพของเมล็ดกาแฟที่ใช้ และการตกแต่งร้าน
  • กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์ที่นิยมใช้ คือ บัตรสะสมแต้ม เช่น ลูกค้าจะได้รับ 1 แต้ม เมื่อซื้อเครื่องดื่ม 1 แก้ว และเมื่อลูกค้าสะสมครบ 10 แต้ม ก็ จะมีสิทธิรับเครื่องดื่มฟรี 1 แก้ว ซึ่งกลยุทธ์นี้ จะช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อเครื่องดื่มที่ร้านเรา บ่อยขึ้นเพราะกาแฟเป็นสินค้าที่บางคนต้องดื่ม เกือบทุกวัน

เริ่มต้นธุรกิจร้านกาแฟกันเถอะ

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านกาแฟ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของ ธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดยการ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

เตรียมเปิดร้านกาแฟ

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านกาแฟ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษี ดังต่อไปนี้ การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการเปิด ร้านกาแฟ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ การจ่ายค่าแฟรนไชส์
    เรามีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จาก เจ้าของแฟรนไชส์ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ แฟรนไชส์ เมื่อเราจ่ายค่าแฟรนไชส์ให้เค้า

เมื่อเริ่มเปิดร้าน

เมื่อเริ่มเปิดร้านและมีการขาย และเริ่มมีรายได้แล้ว ก็ต้องมีภาษีเกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยต้อง ยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนัก งานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถาน ประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออก จากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม  
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้า และวัตถุดิบรายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชนทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ